เรื่องสั้น

ละกง

by จู พเนจร @November,14 2007 22.29 ( IP : 222...111 ) | Tags : เรื่องสั้น

เรื่องสั้น จู พเนจร ละกง


ครูเจี๊ยบบอกว่าครูนะห์มาเล่าให้ฟัง ตอนที่เด็กๆเค้าคุยเค้าเถียงกันนั้นครูนะห์ได้ยิน เด็กๆพูดว่า

“ครูนะห์เป็นผี”

“ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นพระ”

“เป็นพระยังไง ถ้าเป็นพระต้องใส่ชุดสีเหลือง” เด็กผู้หญิงในกลุ่มถาม

“ก็...ครูนะห์เคยบอกเราว่าครูนะห์น่ะสวดมนต์ไงลูก พระสวดมนต์” เด็กผู้ชายทำปากเบ้หรี่ตาข้างหนึ่งใส่

“.......”

“ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นผีหรอก เราเคยเห็นในหนัง ผีใส่ชุดสีขาว”

“ใช่ๆ”

“ไม่ใช่ๆ”

ชุดสีขาวที่ห่มคลุมจากหัวจรดข้อเท้า ไหวพะเยิบพะยาบขึ้นลงอยู่ไปมา ย่อตัวโค้งก้มลง น้อมคำนับ นอบตัวอยู่ที่พื้น ไหวเคลื่อนลุกขึ้นมา พลิ้วสะบัดเบาๆตามมือที่รวบไว้ ยืนนิ่งอยู่สักครู่ก็ก้มตัวลงอีกครั้ง ในลักษณะท่าทางเดิม เด็กๆเหลือบตาไปมองพลาง

ตอนนั้นครูนะห์กำลังละหมาดอยู่ จึงไม่ได้พูดอะไรและก็ไม่ได้คิดอะไรด้วย แล้วก็มาเล่าให้ครูเจี๊ยบฟังแล้วก็หัวเราะด้วยนึกขันในความสงสัยประสาซื่อของเด็กๆ ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์บ้านยารียะห์ซึ่งครูเจี๊ยบแวะไปเยี่ยมนั้นจะมีทั้งเด็กไทยพุทธและมุสลิม ปกติก็คือครูนะห์จะทำการละหมาดเวลาที่เด็กๆนอนพักกลางวัน เพียงแต่บังเอิญว่าวันนั้นเด็กสามสี่คนซึ่งเป็นเด็กพุทธตื่นขึ้นมา แล้วไม่รู้นึกอย่างไรจึงได้ชักชวนกันเดินออกมาเห็นครูนะห์กำลังละหมาดอยู่ที่มุมห้อง จึงหยุดดูและพูดคุยกัน

ผมในฐานะที่ได้ฟังเรื่องนี้มาก็มองว่าครูนะห์อาจจะเห็นว่านั่นคือความใสซื่อประสาเด็ก ไม่ได้คิดอะไร เป็นเรื่องที่ชวนขัน เท่านั้นเอง ในฐานะของคนเป็นครูอย่างครูเจี๊ยบก็เห็นไม่ต่างกันเพียงแต่กลับมามองต่อในอีกมุมหนึ่งว่าแล้วใครจะเป็นคนอธิบายให้เด็กเขาได้เข้าใจ

น่าสนใจทีเดียวว่าป่านฉะนี้เด็กสามสี่คนนั้นเค้ายังคิดเชื่อว่าครูนะห์เป็นผี ขณะอีกคนว่าครูนะห์เป็นพระอยู่อย่างนั้น เด็กเหล่านั้นอาจจะสงสัยในสิ่งที่เพื่อนเขาพูด เกิดไม่แน่ใจในสิ่งที่ตัวเองคิด และเขาก็อาจทะเลาะกัน ถึงวันนั้นบางทีการที่ใครจะไปอธิบายอะไรให้แกฟังว่าใครถูกใครผิดอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลยก็ได้

ความเชื่อมักอยู่เหนือเหตุผลเสมอ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม มันต้องมีเหตุผลอะไรสักอย่าง

ในฐานะของครูพี่เลี้ยงในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบางดาน แม้จะไม่ได้เรียนเอกจิตวิทยาสังคมมาอย่างครูเจี๊ยบ แต่ก็เป็นเรื่องที่ชวนคิดเหมือนกันกับคำถามที่ว่า แล้วใครจะมาคอยบอกอธิบายให้เด็กๆได้รู้ได้เข้าใจในสิ่งที่เขาสงสัยใคร่รู้ได้ และจะอธิบายอย่างไร นั่นก็คือการเอาใจใส่ในเรื่องราวของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่จะจำอะไรก็จะจำฝังจิตฝังใจ อยู่ในจิตใต้สำนึก เด็กที่ด้วยวัยและประสบการณ์ย่อมมีความคิดฝันอยู่ในโลกของจินตนาการมากกว่าการจะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากกันได้

นั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเด็กย่อมใสซื่อบริสุทธิ์ เขาว่าเด็กมักพูดความจริง จริงละหรือที่ครูนะห์เป็นผี

จริงละหรือที่ครูนะห์เป็นพระ

ครูนะห์ไม่ได้เป็นพระ เพราะพระต้องห่มจีวรสีเหลือง หรือใส่ชุดสีเหลืองเหมือนที่เด็กว่า และโกนหัว

เด็กๆซึ่งยังไม่รู้จักแม่ชี แต่ครูนะห์ก็ไม่ใช่แม่ชีเช่นกัน

ครูนะห์เป็นผี เพราะท่าก้มๆเงยๆขณะทำการละหมาด ในชุดละกง ซึ่งเป็นชุดห่มคลุมสีขาวสำหรับละหมาดของผู้หญิงมุสลิมแถวปักษ์ใต้บ้านเรานั้นเหมือนกับผีในหนังที่เด็กๆเคยดู แต่จริงๆแล้วเด็กคนหนึ่งก็จำได้ว่าครูนะห์เคยบอกว่าครูนะห์สวดมนต์ ครูนะห์ก็ต้องเป็นพระหรืออะไรสักอย่างแต่ไม่ใช่ผี

ภายใต้ชุดห่มคลุมไม่ว่าจะสีขาวหรืออะไร โดยเฉพาะชุดสีดำที่รัดกุมปกปิดสรรพางค์กายไว้ทั้งหมดยกเว้นดวงตาที่คนแถวบ้านเราเรียกกันว่าชุดดาวะฮ์ ขณะเดินสวนหรือเราผ่านไปพบเห็นนั้น เราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ว่าไทยพุทธหรือมุสลิมด้วยซ้ำไป นั่นคือพระหรือผี นั่นคือนักบุญหรือคนบาปละหรือ

เป็นคำถามที่ล่อแหลมและน่ากลัว ขณะเดียวกันเป็นคำถามที่เราควรจะต้องตอบไม่ใช่หรือ ไม่ใช่ตอบให้แต่เฉพาะกับเด็กๆ ที่ไม่รู้ประสีประสา แต่ตอบกับคนที่เป็นผู้ใหญ่และเป็นมนุษย์มนาเราทุกคนด้วย

๒) เพื่อนซี้ผมคนหนึ่งซึ่งเป็นมุสลิมเคยเล่าให้ฟังว่าครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้วตอนอยู่บางกอก เด็กรุ่นน้องคนหนึ่งที่มาทำงานใหม่มันถามในทำนองว่าศาสนาอิสลามนี่เป็นศาสนาที่แตะต้องไม่ได้เลยนะ ตอนนั้นเพื่อนมันก็มาเล่าด้วยน้ำเสียงที่บอกถึงความไม่พอใจกับผมว่ามันบอกว่า

“มึงถามมาสิ อยากรู้อะไรก็ถามมาได้ ถ้ากูรู้ก็จะบอกจะอธิบายให้”

แต่ไม่ใช่ด้วยท่าทียียวนกวนอวัยวะเบื้องล่างอย่างนั้น เพื่อนมันบอกเล่าผมด้วยน้ำเสียงที่มีอารมณ์

ผมมีพื่อนมุสลิมหลายคน เพื่อนผมคนนี้สมัยก่อนที่เรียนอยู่วิทยาลัยเทคนิคยะลาก็เคยลองดื่มเหล้าดื่มเบียร์อยู่ครั้งสองครั้งสามครั้งตามประสาวัยรุ่นที่ออกไปทางขบถและศิลปินนิดๆหน่อยๆ ตอนหลังเมื่อกลับมาอยู่บ้านมันหันหน้าเข้าศาสนาและออกดาวะฮ์แสวงบุญตามโอกาส ทุกๆวันศุกร์ถ้าไม่ติดธุระปะปังอะไรจริงๆก็จะไปละหมาดในมัสยิดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา และถือโอกาสพักค้างอ้างแรมเสียที่นั่น ผมเคยไปนอนพักและละหมาดที่นั่น ผมถึงได้รู้ว่าไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไรก็สามารถทำการละหมาดได้ ขอเพียงแค่สำรวมและเคารพต่อพระเจ้าและสถานที่ ตอนนั้นผมยังนึกตลกอยู่เลยที่มันบอกว่า

“มึงก็ทำไปตามเขานั่นแหละ” และก็ไม่ได้พูดอธิบายอะไรมากอีก ผมยังได้รู้อีกว่ายังมีพี่น้องมุสลิมบ้านเราทั่วไปที่ไม่รู้ภาษายาวี ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมแถวกระบี่ แถวตรัง สตูล บางคนอยู่แถวมีนบุรี หนองจอก อยุธยา แต่เป็นมุสลิมนับถือในองค์อัลลอฮ์ ที่นี่เขาจะมีเทศน์และแปลเป็นไทยให้ฟังไปพร้อมๆกันสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งคนไทยพุทธเราด้วย

แต่ใครสักกี่คนเล่าจะมีโอกาสได้รู้และเข้าถึงเรื่องราวเหล่านี้ได้

มัสยิดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรวมใจของพี่น้องมุสลิมละแวกใกล้ไกล เป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นตามกำลังอัตภาพและศรัทธาที่แท้จริงของชุมชน เพื่อนผมเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้มาช่วยสร้างห้องน้ำห้องท่าด้วยกำลังแรงศรัทธาของตน มันบอกผมด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจ

รอบรายมัสยิดแห่งนี้จะเป็นตลาดและร้านน้ำชากาแฟของกินของใช้สารพัด โดยเฉพาะวันศุกร์ที่จะคึกคักไปด้วยมุสลิมนิกชนทั่วทุกสารทิศ

“เป็นแหล่งรวมของจอมยุทธ์” เพื่อนมันบอก หลังจากทักทายสลามกับใครบางคน เรานอนมองเพดานมัสยิดอันสูงใหญ่และยังสร้างไม่แล้วเสร็จในค่ำคืนนั้นพูดคุยกันหลายเรื่อง

“กูอยากฟังทัศนะของมึงบ้าง มึงคิดว่าทางไปสู่พระเจ้าจำเป็นจะต้องมีทางเดียวไหม”

“กูว่ามีหลายทางว่ะ”

“อือม...”

“ก็เหมือนเราจะขึ้นไปชั้นบนโน้นนั่นแหละ จะขึ้นไปทางบันไดก็ได้ เดินอ้อมไปตรงโน้นหน่อย หรืออาจจะต่อนั่งร้าน หรือใช้เชือกห้อยโหนขึ้นไป ไม่ว่าจะขึ้นไปทางไหนก็ได้แล้วแต่เราจะเลือกขึ้นไป แล้วแต่ใครจะถนัด”

“อือม”

๓) หลังจากเรียนจบชั้นประถมที่บ้านที่เทพาผมก็ไปเรียนที่ปัตตานี ไปพักอาศัยอยู่บ้านพักครูโรงเรียนบือเจาะ ช่วงสั้นๆ ได้รู้จักเที่ยวเล่นเตะฟุตบอลกับเด็กมุสลิม หาปลาตีนในโคลนเลน ดูเขาทำน้ำบูดู อาบน้ำบาดาลที่เจือด้วยกลิ่นของน้ำกร่อย นั่งรถสองแถวไปกลับผ่านละแวกบ้านร้านตลาดและชุมชนมุสลิม และหัดพูดภาษายาวี เมื่อเข้ามาพักในเมืองผมก็คบกับเพื่อนกับน้องๆเด็กมุสลิมและพูดภาษายาวีทั่วๆไปได้ ด้วยศัพท์สำเนียงแบบคนมุสลิม จนคนมุสลิมหลายคนนึกว่าผมเป็นนายูด้วยซ้ำไป จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ลืมแม้จะกว่ายี่สิบปีเข้าไปแล้วที่ไม่เคยพูด ผมยังจำและยังพูดคำที่เคยใช้พูดเหล่านั้นได้แทบทุกถ้อยคำ แต่ไม่เคยจำคำใหม่ๆง่ายๆบางคำที่อยากจะจำเพิ่ม และมีโอกาสได้พูดคำเหล่านั้นน้อยลง ผมเคยทำวิธีละหมาดเป็นทุกขั้นตอน ด้วยมักตามเพื่อนผมซี้ผมอีกคนหนึ่งไปห้องละหมาดเสมอๆสมัยเรียนอยู่ที่ปัตตานี และเคยเขียนชื่อตัวเองเป็นภาษายาวีได้ แน่นอนละผมเป็นซีแยถือพุทธ แต่ผมรู้สึกว่าความเป็นมุสลิมไม่ได้แปลกแยกอย่างที่เราเข้าใจและรู้สึกมาก่อนก็ครั้งที่เพื่อนรุ่นน้องสองสามคนมันชวนผมไปกินเลี้ยงงานฮารีรายอที่บ้านพวกเขา ซึ่งผมไม่เคยนึกว่าคนไทยพุทธเราจะไปได้

ผมไปเรียนที่ยะลาก็ได้รู้จักเพื่อนพ้องน้องพี่มุสลิมมากมาย หลังสุดพักอาศัยอยู่แถวตลาดเก่า ชุมชนมุสลิม คุ้นเคยกับเสียงสวดอาซาน คุ้นเคยกับข้าวยำใบยอ แตออ-กอปี และการแกแจะนายู หรือคำพูดภาษายาวี มาแกนาซิ ตะเดาะดูวิ ตรีมอกาแซะ แยลอเดาะ ยางอ มอและ และต่อมาผมก็ได้รู้ว่ามุสลิมก็มีมุสลิมที่ดีและไม่ดี แม้แต่เพื่อนของเราบางคน แต่ผมไม่เคยเห็นเลยว่าความนับถือศาสนาต่างกันทำให้เราเป็นเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ดีต่อกันไม่ได้เสมอมา เมื่อผมกลับมาอยู่แถวบ้านเพื่อนผมมันก็ชวนผมไปเที่ยวไปนอนที่บ้านแถวยะรัง และทุกๆปีเมื่อถึงงานเทศกาลฮารีรายอเพื่อนซี้ผมคนนั้นก็ชวนผมไปกินไก่กอและที่บ้านและเที่ยวงานฮารีรายออยู่เสมอ

หลายๆปีในช่วงชีวิตหนึ่งของผมผันผ่านไปบนความสัมพันธ์เช่นนั้น

๔) ผมได้รู้จักกับบังหมานซึ่งแกทำสำนักพิมพ์อยู่ ในงานสัปดาห์หนังสือครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ต่อมาผมก็ขอข้อเขียนของแกมาลงนิตยสารทำมือระดับตำบลสำหรับคนทั่วประเทศที่พวกผมทำกันอยู่ ซึ่งเปิดคอลัมน์เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ด้วย บังหมานเคยปรารภกับผมว่าฉบับต่อๆไปจะลองเขียนเกี่ยวกับประเด็นการใช้ภาษายาวีเป็นทางการสำหรับแบบเรียนส่งมาให้ กระทั่งรวมถึงทัศนะเรื่องการสามารถละหมาดตามถนนหนทางอย่างในบางประเทศแถบตะวันออกกลาง แต่เกรงว่าความคิดอ่านทำนองนี้จะเป็นที่รับไม่ได้อย่างไรหรือเปล่า แต่ผมบอกกับบังว่าเขียนมาเถิดในฐานะบรรณาธิการผมรับผิดชอบได้ และยินดีที่จะเปิดกว้างในเรื่องทัศนะต่างๆ โดยเฉพาะมุมมองทางด้านศาสนา

แต่ผมเชื่อแน่ว่าถ้ากรณีอย่างนี้ถูกจุดประกายขึ้นน่าจะมีปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจากคนไทยพุทธ หรือทางการ คงจะเช่นๆเดียวกันกับที่เราคิดจะบรรจุพุทธให้เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้แต่พุทธศาสนิกชนด้วยกันเองยังไม่อาจยอมรับได้ เรื่องเหล่านี้มีความละเอียดอ่อน ยากที่จะว่าถูกว่าผิดโดยขาดการพินิจพิเคราะห์อย่างถ่องแท้เสียก่อน เช่นเดียวกันกับการที่พี่น้องมุสลิมที่เรียนโรงเรียนปอเนาะส่วนหนึ่งไม่ยอมเรียนวิชาสามัญทั่วไป รวมไปถึงเจตจำนงที่จะแต่งกายตามแบบบังคับของศาสนาในสถานศึกษาซึ่งเป็นที่ถกเถียงและไม่อาจยอมรับกันอยู่นั่นเอง หลายคนโดยเฉพาะคนไทยพุทธทั่วไปก็ว่าเป็นการเรียกร้องเกินไป ขณะพี่น้องมุสลิมบางส่วนเห็นว่าเป็นการไม่ยอมรับความเป็นอัตลักษณ์ของเขา

อัตลักษณ์และความพอดีอยู่ตรงไหน บางครั้งบางเรื่องก็บอกยาก เราจำเป็นจะต้องพูดคุยกัน แต่ผมจำที่อาจารย์นักวิชาการท่านหนึ่งจากมอ.หาดใหญ่บอกให้เราฟังในการประชุมคนรุ่นใหม่ครั้งหนึ่งได้ดี ท่านบอกว่า

“เรื่องความเป็นอัตลักษณ์นี้ ลองคิดดู ถ้าหากวันหนึ่งทางการมาบอกหรือออกเป็นกฎหมายบังคับว่าต่อไปนี้ห้ามคนใต้แหลง(พูด)ใต้เราจะยอมไหม”

แน่นอนถ้าลองมองในมุมนี้สำหรับคนใต้เราต้องตอบเหมือนกัน

ห้ามคนอีสานปั้นจิ้มข้าวเหนียว ห้ามคนเหนือกินน้ำพริกอ่อง ห้ามคนใต้ไม่ให้กินสะตอดองก็คงไม่ได้แตกต่างกัน หลายคนได้ฉุกคิด ความเป็นอัตลักษณ์ของเขาคือรูปแบบของเขาของเรา ถ้าเราไม่ยอมรับความเป็นอัตลักษณ์คือความเอกลักษณ์ต่างๆของกันและกันก่อนเราก็ยากจะเข้าใจกันและกัน เพื่อนำไปสู่การแสวงหาจุดร่วมร่วมกัน

อาหารมุสลิม ก็จะถูกตั้งข้อรังเกียจจากคนไทยพุทธกลุ่มหนึ่งว่าอย่าไปซื้อไปกินของเขา ทำกินสกปรก ทั้งๆที่ความจริงแล้วอาหารมุสลิมนั้นอร่อย สะอาดถูกหลักสุขอนามัยมีเครื่องหมายฮาลาล เป็นต้น

แต่ถ้าใครซื้อข้าวหลาม ไก่กอและมากินที่บ้านประเดี๋ยวนี้

“ซื้อของแขกมาหรือเปล่า”

หรือถ้าจะแวะลงหาของกินตามร้านตามตลาด

“ร้านแขกนี่”

ครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ เพื่อนหญิงผมคนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่ามีผู้หญิงมุสลิมคนหนึ่งแต่งตัวแปลกๆแบบชุดดาวะฮ์แต่ดูกะมอมกะแมมมาเที่ยวเดินเซ้าซี้ขอเรี่ยไรแถวที่ทำงานของเธอ พวกเธอลังเลที่จะให้หรือไม่ให้ดีแต่สุดท้ายใครคนหนึ่งจึงพูดว่าให้ได้ยินในทำนองว่า

“ให้ไปพวกมันเอาไปซื้อปืนซื้อระเบิดแบ่งแยกดินแดนทำไม”

แล้วเธอก็บอกว่าผู้หญิงมุสลิมคนนั้นพูดใส่ว่า

“นี่นะเหรอ พวกใส่เสื้อเหลือง รักในหลวง”

๕) จากหลายเรื่องหลายราวความแปลกแยกก็จะกลายเป็นความแตกแยก แปลกแยกและแตกแยกเพราะเราคิดเราเชื่อเราเป็นอยู่และเราแต่งกายต่างกัน บนผืนแผ่นดินเดียวกัน

จนมาบัดนี้ ชุดทหารลายพลางที่สะพายปืนอาร์ก้า ชุดตำรวจที่รัดเครื่องกันกระสุนรอบกาย ในสายตาของผู้ก่อการร้ายคืออริราชศัตรู คือผู้รุกรานผืนแผ่นดิน ในสายตาของเด็กๆ ในสายตาของพี่น้องมุสลิมคือความสมเพชเวทนาอิดหนาระอาใจ เพิกเฉยหรือสาสมใจอยู่ลึกๆ

“ใช่ๆ”

ในสายตาของเด็กๆ พี่น้องไทยพุทธคือวีรบุรุษ ทหารกล้าผู้สละชีพเพื่อชาติ

“ใช่ๆ”

ครูปอเนาะ คือผู้ก่อการร้ายในคราบครูสอนศาสนาบังหน้า โต๊ะอีหม่าม คอเต็บ โต๊ะเซี้ยงคือผู้นำทางจิตวิญญาณ หรือคือผู้ต้องสงสัยในสายตาของทางการ นักการเมืองและผู้นำ

“ใช่ๆ”

คนไทยพุทธที่ทำมาหาเลี้ยงชีพสุจริตทั่วไป พ่อค้าแม่ขาย รับซื้อผลไม้ ขายของชำ ขายน้ำชา ลูกเล็กเด็กแดง พระสงฆ์องค์เจ้าคือคนนอกศาสนาผู้บุกรุกที่ต้องกำจัดและอัปเปหิออกไป กะนิ แบ บัง ที่ไว้หนวดไว้เครา สวมหมวกกระเปี้ยะ คนมุสลิมคือ “แขก” และก็พวกแขกนั่นเองคือพวกที่เป็นผู้ก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน วางระเบิด ฆ่าครู ฆ่าพระ

“ใช่ๆ”

รัฐต่างหากที่กดขี่บีฑาพี่น้องชาวมุสลิม กีดกันในเรื่องวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและเหยียดหยันความเป็นอัตลักษณ์และเชื้อชาติศาสนาของเขามาช้านาน

“ใช่ๆ”

ภายใต้เครื่องแบบ และ เครื่องนุ่งห่มเหล่านี้ แบบใดๆก็ตาม หลายคนรอบรู้ถึงขนาดหลับตาสวดมนต์ท่องอ่านพระคัมภีร์ได้อย่างช่ำชองเชี่ยวชาญ ขณะเดียวกันภายใต้อีกจิตใจเหล่านั้นก็คร่ำครึคร่ำเคร่งเสียจนคลุ้มคลั่ง เหยียดหยาม บีฑา เข่นฆ่า ทำร้ายคนไม่เลือก

“ใช่ๆ”

เรื่องราวเหล่านี้นับเป็นร้อยๆปีไม่เคยได้รับการคลี่คลายระหว่างกัน หรือแต่เพียงบางครั้งเท่านั้นที่มีเส้นบางๆกางกั้นสิ่งเหล่านี้อยู่ เพราะพี่น้องไทยพุทธและมุสลิมห้าจังหวัดภาคใต้เรานั้นก็เคยอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินเดียวกันที่ปลายด้ามขวานแห่งนี้อย่างสุขสงบสันติและภราดรภาพมาช้านาน

ความแตกต่างหรือระหองระแหงที่อาจเกิดขึ้นบ้างก็เป็นแต่เพียงความปกติของความต่างในวิถีชีวิตที่ลักลั่นกันตามธรรมดาสามัญเท่านั้น เพราะโดยแท้จริงแล้วศาสนาไม่ว่าจะพุทธคริสต์อิสลามก็ล้วนสั่งสอนให้เราตั้งอยู่ในคุณงามความดีมีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อกันเหมือนกัน ไม่มีใครปฏิเสธถึงข้อนี้ แล้วความแตกแยกเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่

เริ่มตั้งแต่เมื่อเด็กกลุ่มหนึ่ง บังเอิญตื่นขึ้นมาเห็นครูคนหนึ่งใส่ชุดคลุมสีขาวก้มๆเงยๆอยู่ แล้วพวกเขาก็พูดว่า

“ครูนะห์เป็นผี”

“ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นพระ”

“เป็นพระยังไง ถ้าเป็นพระต้องใส่ชุดสีเหลือง”

“ก็ครูนะห์เคยบอกเราว่าครูนะห์น่ะสวดมนต์ไงลูก พระสวดมนต์”

“........”

“ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นผีหรอก เราเคยเห็นในหนัง ผีใส่ชุดสีขาว”

“ไม่ใช่ๆ”

“ใช่ๆ”

“ไม่ใช่”

“ใช่”

ครูเจี๊ยบนำเรื่องนี้มาปรารภบอกเล่ากับผม

ผมนำเรื่องนี้มาบอกเล่ากับคุณ นอกจากครูเจี๊ยบแล้วเราคิดจะบอกสอนเรื่องเหล่านี้กับเด็กๆอย่างไรดี.

Comment #1
Posted @November,15 2007 22.06 ip : 124...117

(ปรับแก้นิดหน่ยครับ)

ครูเจี๊ยบบอกว่าครูนะห์มาเล่าให้ฟัง ตอนที่เด็กๆเค้าคุยเค้าเถียงกันนั้นครูนะห์ได้ยิน เด็กๆพูดว่า
“ครูนะห์เป็นผี” “ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นพระ” “เป็นพระยังไง ถ้าเป็นพระต้องใส่ชุดสีเหลือง” เด็กผู้หญิงในกลุ่มถาม “ก็...ครูนะห์เคยบอกเราว่าครูนะห์น่ะสวดมนต์ไงลูก พระสวดมนต์” เด็กผู้ชายทำปากเบ้หรี่ตาข้างหนึ่งใส่ “.......” “ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นผีหรอก เราเคยเห็นในหนัง ผีใส่ชุดสีขาว” “ใช่ๆ” “ไม่ใช่ๆ” ชุดสีขาวที่ห่มคลุมจากหัวจรดข้อเท้า ไหวพะเยิบพะยาบขึ้นลงอยู่ไปมา ย่อตัวโค้งก้มลง น้อมคำนับ นอบตัวอยู่ที่พื้น ไหวเคลื่อนลุกขึ้นมา พลิ้วสะบัดเบาๆตามมือที่รวบไว้ ยืนนิ่งอยู่สักครู่ก็ก้มตัวลงอีกครั้ง ในลักษณะท่าทางเดิม เด็กๆเหลือบตาไปมองพลาง ตอนนั้นครูนะห์กำลังละหมาดอยู่ จึงไม่ได้พูดอะไรและก็ไม่ได้คิดอะไรด้วย แล้วก็มาเล่าให้ครูเจี๊ยบฟังแล้วก็หัวเราะด้วยนึกขันในความสงสัยประสาซื่อของเด็กๆ ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์บ้านยารียะห์ซึ่งครูเจี๊ยบแวะไปเยี่ยมนั้นจะมีทั้งเด็กไทยพุทธและมุสลิม ปกติก็คือครูนะห์จะทำการละหมาดเวลาที่เด็กๆนอนพักกลางวัน เพียงแต่บังเอิญว่าวันนั้นเด็กสามสี่คนซึ่งเป็นเด็กพุทธตื่นขึ้นมา แล้วไม่รู้นึกอย่างไรจึงได้ชักชวนกันเดินออกมาเห็นครูนะห์กำลังละหมาดอยู่ที่มุมห้อง จึงหยุดดูและพูดคุยกัน ผมในฐานะที่ได้ฟังเรื่องนี้มาก็มองว่าครูนะห์อาจจะเห็นว่านั่นคือความใสซื่อประสาเด็ก ไม่ได้คิดอะไร เป็นเรื่องที่ชวนขัน เท่านั้นเอง ในฐานะของคนเป็นครูอย่างครูเจี๊ยบก็เห็นไม่ต่างกันเพียงแต่กลับมามองต่อในอีกมุมหนึ่งว่าแล้วใครจะเป็นคนอธิบายให้เด็กเขาได้เข้าใจ
น่าสนใจทีเดียวว่าป่านฉะนี้เด็กสามสี่คนนั้นเค้ายังคิดเชื่อว่าครูนะห์เป็นผี ขณะอีกคนว่าครูนะห์เป็นพระอยู่อย่างนั้น เด็กเหล่านั้นอาจจะสงสัยในสิ่งที่เพื่อนเขาพูด เกิดไม่แน่ใจในสิ่งที่ตัวเองคิด และเขาก็อาจทะเลาะกัน ถึงวันนั้นบางทีการที่ใครจะไปอธิบายอะไรให้แกฟังว่าใครถูกใครผิดอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลยก็ได้
ความเชื่อมักอยู่เหนือเหตุผลเสมอ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม มันต้องมีเหตุผลอะไรสักอย่าง ในฐานะของครูพี่เลี้ยงในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบางดาน แม้จะไม่ได้เรียนเอกจิตวิทยาสังคมมาอย่างครูเจี๊ยบ แต่ก็เป็นเรื่องที่ชวนคิดเหมือนกันกับคำถามที่ว่า แล้วใครจะมาคอยบอกอธิบายให้เด็กๆได้รู้ได้เข้าใจในสิ่งที่เขาสงสัยใคร่รู้ได้ และจะอธิบายอย่างไร นั่นก็คือการเอาใจใส่ในเรื่องราวของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่จะจำอะไรก็จะจำฝังจิตฝังใจ อยู่ในจิตใต้สำนึก เด็กที่ด้วยวัยและประสบการณ์ย่อมมีความคิดฝันอยู่ในโลกของจินตนาการมากกว่าการจะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากกันได้
นั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเด็กย่อมใสซื่อบริสุทธิ์ เขาว่าเด็กมักพูดความจริง จริงละหรือที่ครูนะห์เป็นผี จริงละหรือที่ครูนะห์เป็นพระ ครูนะห์ไม่ได้เป็นพระ เพราะพระต้องห่มจีวรสีเหลือง หรือใส่ชุดสีเหลืองเหมือนที่เด็กว่า และโกนหัว
เด็กๆซึ่งยังไม่รู้จักแม่ชี แต่ครูนะห์ก็ไม่ใช่แม่ชีเช่นกัน ครูนะห์เป็นผี เพราะท่าก้มๆเงยๆขณะทำการละหมาด ในชุดละกง ซึ่งเป็นชุดห่มคลุมสีขาวสำหรับละหมาดของผู้หญิงมุสลิมแถวปักษ์ใต้บ้านเรานั้นเหมือนกับผีในหนังที่เด็กๆเคยดู แต่จริงๆแล้วเด็กคนหนึ่งก็จำได้ว่าครูนะห์เคยบอกว่าครูนะห์สวดมนต์ ครูนะห์ก็ต้องเป็นพระหรืออะไรสักอย่างแต่ไม่ใช่ผี ภายใต้ชุดห่มคลุมไม่ว่าจะสีขาวหรืออะไร โดยเฉพาะชุดสีดำที่รัดกุมปกปิดสรรพางค์กายไว้ทั้งหมดยกเว้นดวงตาที่คนแถวบ้านเราเรียกกันว่าชุดดาวะฮ์ ขณะเดินสวนหรือเราผ่านไปพบเห็นนั้น เราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ว่าไทยพุทธหรือมุสลิมด้วยซ้ำไป นั่นคือพระหรือผี นั่นคือนักบุญหรือคนบาปละหรือ
เป็นคำถามที่ล่อแหลมและน่ากลัว ขณะเดียวกันเป็นคำถามที่เราควรจะต้องตอบไม่ใช่หรือ ไม่ใช่ตอบให้แต่เฉพาะกับเด็กๆ ที่ไม่รู้ประสีประสา แต่ตอบกับคนที่เป็นผู้ใหญ่และเป็นมนุษย์มนาเราทุกคนด้วย

๒) เพื่อนซี้ผมคนหนึ่งซึ่งเป็นมุสลิมเคยเล่าให้ฟังว่าครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้วตอนอยู่บางกอก เด็กรุ่นน้องคนหนึ่งที่มาทำงานใหม่มันถามในทำนองว่าศาสนาอิสลามนี่เป็นศาสนาที่แตะต้องไม่ได้เลยนะ ตอนนั้นเพื่อนมันก็มาเล่าด้วยน้ำเสียงที่บอกถึงความไม่พอใจกับผมว่ามันบอกว่า
“มึงถามมาสิ อยากรู้อะไรก็ถามมาได้ ถ้ากูรู้ก็จะบอกจะอธิบายให้”
แต่ไม่ใช่ด้วยท่าทียียวนกวนอวัยวะเบื้องล่างอย่างนั้น เพื่อนมันบอกเล่าผมด้วยน้ำเสียงที่มีอารมณ์ ผมมีพื่อนมุสลิมหลายคน เพื่อนผมคนนี้สมัยก่อนที่เรียนอยู่วิทยาลัยเทคนิคยะลาก็เคยลองดื่มเหล้าดื่มเบียร์อยู่ครั้งสองครั้งสามครั้งตามประสาวัยรุ่นที่ออกไปทางขบถและศิลปินนิดๆหน่อยๆ  ตอนหลังเมื่อกลับมาอยู่บ้านมันหันหน้าเข้าศาสนาและออกดาวะฮ์แสวงบุญตามโอกาส ทุกๆวันศุกร์ถ้าไม่ติดธุระปะปังอะไรจริงๆก็จะไปละหมาดในมัสยิดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา และถือโอกาสพักค้างอ้างแรมเสียที่นั่น ผมเคยไปนอนพักและละหมาดที่นั่น ผมถึงได้รู้ว่าไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไรก็สามารถทำการละหมาดได้ ขอเพียงแค่สำรวมและเคารพต่อพระเจ้าและสถานที่ ตอนนั้นผมยังนึกตลกอยู่เลยที่มันบอกว่า
“มึงก็ทำไปตามเขานั่นแหละ” และก็ไม่ได้พูดอธิบายอะไรมากอีก ผมยังได้รู้อีกว่ายังมีพี่น้องมุสลิมบ้านเราทั่วไปที่ไม่รู้ภาษายาวี ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมแถวกระบี่ แถวตรัง สตูล บางคนอยู่แถวมีนบุรี หนองจอก อยุธยา แต่เป็นมุสลิมนับถือในองค์อัลลอฮ์ ที่นี่เขาจะมีเทศน์และแปลเป็นไทยให้ฟังไปพร้อมๆกันสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งคนไทยพุทธเราด้วย
แต่ใครสักกี่คนเล่าจะมีโอกาสได้รู้และเข้าถึงเรื่องราวเหล่านี้ได้ มัสยิดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรวมใจของพี่น้องมุสลิมละแวกใกล้ไกล เป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นตามกำลังอัตภาพและศรัทธาที่แท้จริงของชุมชน เพื่อนผมเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้มาช่วยสร้างห้องน้ำห้องท่าด้วยกำลังแรงศรัทธาของตน มันบอกผมด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจ รอบรายมัสยิดแห่งนี้จะเป็นตลาดและร้านน้ำชากาแฟของกินของใช้สารพัด โดยเฉพาะวันศุกร์ที่จะคึกคักไปด้วยมุสลิมนิกชนทั่วทุกสารทิศ
“เป็นแหล่งรวมของจอมยุทธ์” เพื่อนมันบอก หลังจากทักทายสลามกับใครบางคน เรานอนมองเพดานมัสยิดอันสูงใหญ่และยังสร้างไม่แล้วเสร็จในค่ำคืนนั้นพูดคุยกันหลายเรื่อง “กูอยากฟังทัศนะของมึงบ้าง มึงคิดว่าทางไปสู่พระเจ้าจำเป็นจะต้องมีทางเดียวไหม” “กูว่ามีหลายทางว่ะ” “อือม...” “ก็เหมือนเราจะขึ้นไปชั้นบนโน้นนั่นแหละ จะขึ้นไปทางบันไดก็ได้ เดินอ้อมไปตรงโน้นหน่อย หรืออาจจะต่อนั่งร้าน หรือใช้เชือกห้อยโหนขึ้นไป ไม่ว่าจะขึ้นไปทางไหนก็ได้แล้วแต่เราจะเลือกขึ้นไป แล้วแต่ใครจะถนัด” “อือม”

๓) หลังจากเรียนจบชั้นประถมที่บ้านที่เทพาผมก็ไปเรียนที่ปัตตานี ไปพักอาศัยอยู่บ้านพักครูโรงเรียนบือเจาะ ช่วงสั้นๆ ได้รู้จักเที่ยวเล่นเตะฟุตบอลกับเด็กมุสลิม หาปลาตีนในโคลนเลน ดูเขาทำน้ำบูดู อาบน้ำบาดาลที่เจือด้วยกลิ่นของน้ำกร่อย นั่งรถสองแถวไปกลับผ่านละแวกบ้านร้านตลาดและชุมชนมุสลิม และหัดพูดภาษายาวี เมื่อเข้ามาพักในเมืองผมก็คบกับเพื่อนกับน้องๆเด็กมุสลิมและพูดภาษายาวีทั่วๆไปได้ ด้วยศัพท์สำเนียงแบบคนมุสลิม จนคนมุสลิมหลายคนนึกว่าผมเป็นนายูด้วยซ้ำไป จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ลืมแม้จะกว่ายี่สิบปีเข้าไปแล้วที่ไม่เคยพูด ผมยังจำและยังพูดคำที่เคยใช้พูดเหล่านั้นได้แทบทุกถ้อยคำ แต่ไม่เคยจำคำใหม่ๆง่ายๆบางคำที่อยากจะจำเพิ่ม และมีโอกาสได้พูดคำเหล่านั้นน้อยลง ผมเคยทำวิธีละหมาดเป็นทุกขั้นตอน ด้วยมักตามเพื่อนผมซี้ผมอีกคนหนึ่งไปห้องละหมาดเสมอๆสมัยเรียนอยู่ที่ปัตตานี และเคยเขียนชื่อตัวเองเป็นภาษายาวีได้ แน่นอนละผมเป็นซีแยถือพุทธ แต่ผมรู้สึกว่าความเป็นมุสลิมไม่ได้แปลกแยกอย่างที่เราเข้าใจและรู้สึกมาก่อนก็ครั้งที่เพื่อนรุ่นน้องสองสามคนมันชวนผมไปกินเลี้ยงงานฮารีรายอที่บ้านพวกเขา ซึ่งผมไม่เคยนึกว่าคนไทยพุทธเราจะไปได้ ผมไปเรียนที่ยะลาก็ได้รู้จักเพื่อนพ้องน้องพี่มุสลิมมากมาย หลังสุดพักอาศัยอยู่แถวตลาดเก่า ชุมชนมุสลิม คุ้นเคยกับเสียงสวดอาซาน คุ้นเคยกับข้าวยำใบยอ แตออ-กอปี และการแกแจะนายู หรือคำพูดภาษายาวี มาแกนาซิ ตะเดาะดูวิ ตรีมอกาแซะ แยลอเดาะ ยางอ มอและ และต่อมาผมก็ได้รู้ว่ามุสลิมก็มีมุสลิมที่ดีและไม่ดี แม้แต่เพื่อนของเราบางคน แต่ผมไม่เคยเห็นเลยว่าความนับถือศาสนาต่างกันทำให้เราเป็นเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ดีต่อกันไม่ได้เสมอมา เมื่อผมกลับมาอยู่แถวบ้านเพื่อนผมมันก็ชวนผมไปเที่ยวไปนอนที่บ้านแถวยะรัง และทุกๆปีเมื่อถึงงานเทศกาลฮารีรายอเพื่อนซี้ผมคนนั้นก็ชวนผมไปกินไก่กอและที่บ้านและเที่ยวงานฮารีรายออยู่เสมอ หลายๆปีในช่วงชีวิตหนึ่งของผมผันผ่านไปบนความสัมพันธ์เช่นนั้น

๔) ผมได้รู้จักกับบังหมานซึ่งแกทำสำนักพิมพ์อยู่ ในงานสัปดาห์หนังสือครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ต่อมาผมก็ขอข้อเขียนของแกมาลงนิตยสารทำมือระดับตำบลสำหรับคนทั่วประเทศที่พวกผมทำกันอยู่ ซึ่งเปิดคอลัมน์เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ด้วย บังหมานเคยปรารภกับผมว่าฉบับต่อๆไปจะลองเขียนเกี่ยวกับประเด็นการใช้ภาษายาวีเป็นทางการสำหรับแบบเรียนส่งมาให้ กระทั่งรวมถึงทัศนะเรื่องการสามารถละหมาดตามถนนหนทางอย่างในบางประเทศแถบตะวันออกกลาง แต่เกรงว่าความคิดอ่านทำนองนี้จะเป็นที่รับไม่ได้อย่างไรหรือเปล่า แต่ผมบอกกับบังว่าเขียนมาเถิดในฐานะบรรณาธิการผมรับผิดชอบได้ และยินดีที่จะเปิดกว้างในเรื่องทัศนะต่างๆ โดยเฉพาะมุมมองทางด้านศาสนา แต่ผมเชื่อแน่ว่าถ้ากรณีอย่างนี้ถูกจุดประกายขึ้นน่าจะมีปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจากคนไทยพุทธ หรือทางการ คงจะเช่นๆเดียวกันกับที่เราคิดจะบรรจุพุทธให้เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้แต่พุทธศาสนิกชนด้วยกันเองยังไม่อาจยอมรับได้ เรื่องเหล่านี้มีความละเอียดอ่อน ยากที่จะว่าถูกว่าผิดโดยขาดการพินิจพิเคราะห์อย่างถ่องแท้เสียก่อน เช่นเดียวกันกับการที่พี่น้องมุสลิมที่เรียนโรงเรียนปอเนาะส่วนหนึ่งไม่ยอมเรียนวิชาสามัญทั่วไป รวมไปถึงเจตจำนงที่จะแต่งกายตามแบบบังคับของศาสนาในสถานศึกษาซึ่งเป็นที่ถกเถียงและไม่อาจยอมรับกันอยู่นั่นเอง หลายคนโดยเฉพาะคนไทยพุทธทั่วไปก็ว่าเป็นการเรียกร้องเกินไป ขณะพี่น้องมุสลิมบางส่วนเห็นว่าเป็นการไม่ยอมรับความเป็นอัตลักษณ์ของเขา อัตลักษณ์และความพอดีอยู่ตรงไหน บางครั้งบางเรื่องก็บอกยาก เราจำเป็นจะต้องพูดคุยกัน แต่ผมจำที่อาจารย์นักวิชาการท่านหนึ่งจากมอ.หาดใหญ่บอกให้เราฟังในการประชุมคนรุ่นใหม่ครั้งหนึ่งได้ดี ท่านบอกว่า “เรื่องความเป็นอัตลักษณ์นี้ ลองคิดดู ถ้าหากวันหนึ่งทางการมาบอกหรือออกเป็นกฎหมายบังคับว่าต่อไปนี้ห้ามคนใต้แหลง(พูด)ใต้เราจะยอมไหม”
แน่นอนถ้าลองมองในมุมนี้สำหรับคนใต้เราต้องตอบเหมือนกัน
ห้ามคนอีสานปั้นจิ้มข้าวเหนียว ห้ามคนเหนือกินน้ำพริกอ่อง ห้ามคนใต้ไม่ให้กินสะตอดองก็คงไม่ได้แตกต่างกัน หลายคนได้ฉุกคิด ความเป็นอัตลักษณ์ของเขาคือรูปแบบของเขาของเรา ถ้าเราไม่ยอมรับความเป็นอัตลักษณ์คือความเอกลักษณ์ต่างๆของกันและกันก่อนเราก็ยากจะเข้าใจกันและกัน เพื่อนำไปสู่การแสวงหาจุดร่วมร่วมกัน อาหารมุสลิม ก็จะถูกตั้งข้อรังเกียจจากคนไทยพุทธกลุ่มหนึ่งว่าอย่าไปซื้อไปกินของเขา ทำกินสกปรก ทั้งๆที่ความจริงแล้วอาหารมุสลิมนั้นอร่อย สะอาดถูกหลักสุขอนามัยมีเครื่องหมายฮาลาล เป็นต้น แต่ถ้าใครซื้อข้าวหลาม ไก่กอและมากินที่บ้านประเดี๋ยวนี้ “ซื้อของแขกมาหรือเปล่า” หรือถ้าจะแวะลงหาของกินตามร้านตามตลาด “ร้านแขกนี่” ครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ เพื่อนหญิงผมคนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่ามีผู้หญิงมุสลิมคนหนึ่งแต่งตัวแปลกๆแบบชุดดาวะฮ์แต่ดูกะมอมกะแมมมาเที่ยวเดินเซ้าซี้ขอเรี่ยไรแถวที่ทำงานของเธอ พวกเธอลังเลที่จะให้หรือไม่ให้ดีแต่สุดท้ายใครคนหนึ่งจึงพูดว่าให้ได้ยินในทำนองว่า
“ให้ไปพวกมันเอาไปซื้อปืนซื้อระเบิดแบ่งแยกดินแดนทำไม”
แล้วเธอก็บอกว่าผู้หญิงมุสลิมคนนั้นพูดใส่ว่า
“นี่นะเหรอ พวกใส่เสื้อเหลือง รักในหลวง”

๕) จากหลายเรื่องหลายราวความแปลกแยกก็จะกลายเป็นความแตกแยก แปลกแยกและแตกแยกเพราะเราคิดเราเชื่อเราเป็นอยู่และเราแต่งกายต่างกัน บนผืนแผ่นดินเดียวกัน จนมาบัดนี้ ชุดทหารลายพลางที่สะพายปืนอาร์ก้า ชุดตำรวจที่รัดเครื่องกันกระสุนรอบกาย ในสายตาของผู้ก่อการร้ายคืออริราชศัตรู คือผู้รุกรานผืนแผ่นดิน ในสายตาของเด็กๆ ในสายตาของพี่น้องมุสลิมคือความสมเพชเวทนาอิดหนาระอาใจ เพิกเฉยหรือสาสมใจอยู่ลึกๆ
“ใช่ๆ” ในสายตาของเด็กๆ พี่น้องไทยพุทธคือวีรบุรุษ ทหารกล้าผู้สละชีพเพื่อชาติ “ใช่ๆ” ครูปอเนาะ คือผู้ก่อการร้ายในคราบครูสอนศาสนาบังหน้า โต๊ะอีหม่าม คอเต็บ โต๊ะเซี้ยงคือผู้นำทางจิตวิญญาณ หรือคือผู้ต้องสงสัยในสายตาของทางการ นักการเมืองและผู้นำ “ใช่ๆ” คนไทยพุทธที่ทำมาหาเลี้ยงชีพสุจริตทั่วไป พ่อค้าแม่ขาย รับซื้อผลไม้ ขายของชำ ขายน้ำชา ลูกเล็กเด็กแดง พระสงฆ์องค์เจ้าคือคนนอกศาสนาผู้บุกรุกที่ต้องกำจัดและอัปเปหิออกไป กะนิ แบ บัง ที่ไว้หนวดไว้เครา สวมหมวกกระเปี้ยะ คนมุสลิมคือ “แขก” และก็พวกแขกนั่นเองคือพวกที่เป็นผู้ก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน วางระเบิด ฆ่าครู ฆ่าพระ
“ใช่ๆ” รัฐต่างหากที่กดขี่บีฑาพี่น้องชาวมุสลิม กีดกันในเรื่องวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและเหยียดหยันความเป็นอัตลักษณ์และเชื้อชาติศาสนาของเขามาช้านาน
“ใช่ๆ” ภายใต้เครื่องแบบ และ เครื่องนุ่งห่มเหล่านี้ แบบใดๆก็ตาม หลายคนรอบรู้ถึงขนาดหลับตาสวดมนต์ท่องอ่านพระคัมภีร์ได้อย่างช่ำชองเชี่ยวชาญ ขณะเดียวกันภายใต้อีกจิตใจเหล่านั้นก็คร่ำครึคร่ำเคร่งเสียจนคลุ้มคลั่ง เหยียดหยาม บีฑา เข่นฆ่า ทำร้ายคนไม่เลือก “ใช่ๆ” เรื่องราวเหล่านี้นับเป็นร้อยๆปีไม่เคยได้รับการคลี่คลายระหว่างกัน หรือแต่เพียงบางครั้งเท่านั้นที่มีเส้นบางๆกางกั้นสิ่งเหล่านี้อยู่ เพราะพี่น้องไทยพุทธและมุสลิมห้าจังหวัดภาคใต้เรานั้นก็เคยอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินเดียวกันที่ปลายด้ามขวานแห่งนี้อย่างสุขสงบสันติและภราดรภาพมาช้านาน ความแตกต่างหรือระหองระแหงที่อาจเกิดขึ้นบ้างก็เป็นแต่เพียงความปกติของความต่างในวิถีชีวิตที่ลักลั่นกันตามธรรมดาสามัญเท่านั้น เพราะโดยแท้จริงแล้วศาสนาไม่ว่าจะพุทธคริสต์อิสลามก็ล้วนสั่งสอนให้เราตั้งอยู่ในคุณงามความดีมีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อกันเหมือนกัน ไม่มีใครปฏิเสธถึงข้อนี้ แล้วความแตกแยกเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ เริ่มตั้งแต่เมื่อเด็กกลุ่มหนึ่ง บังเอิญตื่นขึ้นมาเห็นครูคนหนึ่งใส่ชุดคลุมสีขาวก้มๆเงยๆอยู่ แล้วพวกเขาก็พูดว่า “ครูนะห์เป็นผี” “ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นพระ” “เป็นพระยังไง ถ้าเป็นพระต้องใส่ชุดสีเหลือง”
“ก็ครูนะห์เคยบอกเราว่าครูนะห์น่ะสวดมนต์ไงลูก พระสวดมนต์”
“........” “ไม่ใช่ ครูนะห์เป็นผีหรอก เราเคยเห็นในหนัง ผีใส่ชุดสีขาว” “ไม่ใช่ๆ” “ใช่ๆ” “ไม่ใช่” “ใช่” ครูเจี๊ยบนำเรื่องนี้มาปรารภบอกเล่ากับผม ผมนำเรื่องนี้มาบอกเล่ากับคุณ นอกจากครูเจี๊ยบแล้วเราคิดจะบอกสอนเรื่องเหล่านี้กับเด็กๆอย่างไรดี.

Comment #2
แต๋ม
Posted @November,20 2007 08.49 ip : 203...10

แวะมาเยี่ยมค่ะ พี่จู สบายดีมั้ยคะ แต๋มเปิดblogให้พี่ธารเมฆแล้วค่ะ เข้าไปเยี่ยมได้นะคะ http://tanmek.bloggang.com

Comment #3
ลำไพล รำพึง
Posted @November,23 2007 23.33 ip : 125...198

อืม....เค้าว่ากันว่า ความทรงจำในเด็กวัยนี้จะมีผลต่อทัศนคติไปจนโตเป็นผู้ใหญ่เลยนะคะ แต่ไม่ค่อยมีไครให้ความสำคัญกับการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจสักเท่าไหร่ น้องเบญ ยังเองยังมีความทรงจำสมัยอนุบาลหลายๆเรื่องที่มีผลต่อความรู้สึกของเราจนถึงทุกวันนี้ก้อมีนะคะ......++แวะมาแอบอ่านค่ะ++

Comment #4
คนหมู่8
Posted @December,14 2007 17.22 ip : 203...162

ผมว่าเปิดเรื่องน่าสนใจ แต่ตอนกลางของเรื่องกลับไม่มีพลังเพียงพอที่จะส่งให้ปิดประเด็นกลับมาที่เรื่องของครูนะห์ได้อย่างมีบทสรุปที่รวบยอด เด่นชัด

พูดถึง เนื้อหา ตอนกลางมีความสมจริง แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ เปิดหลายย่อหน้า หรือเพราะอะไร ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าพลังไม่ส่งพอที่จะสรุปในท่อนท้ายได้ว่า

"ผมนำเรื่องนี้มาบอกเล่ากับคุณ นอกจากครูเจี๊ยบแล้วเราคิดจะบอกสอนเรื่องเหล่านี้กับเด็กๆอย่างไรดี"

ยินดีที่ได้อ่านผลงานของเพื่อนเรื่องนี้นะครับ จะติดตามอีกต่อๆไป หวังว่าคงมีกำลังใจที่ดีๆ ในการสร้างผลงานที่สุดยอดได้ในไม่ช้า และหวังว่าสิ่งที่วิจารณ์คงไม่ได้ทำลายกำลังใจ ถ้าไม่เห็นด้วยก็แค่คิดว่าเป็นบทวิจารณ์ของคนที่ทำด้วยตนเองไม่ได้ก็แล้วกัน 555+

Comment #5
ผู้เขียน
Posted @December,15 2007 11.35 ip : 124...183

ดีมากเลยครับ สำหรับคำวิจารณ์ ผมเองก็คิดในทำนองเดียวกับคุณ แต่ความสามารถ รวมทั้งสมาธิปัญญา ยังไม่เข้าขั้น จะพยายามครับ จะพยายาม ส่วนเรื่องข้อวิจารณ์สำหรับคนที่ทำด้วยตัวเองไม่ได้ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ถ้าเราวิพากษ์วิจารณ์ก็ให้อยู่ในหลักการวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีมีเหตุผลรองรับหนึ่งสองสามสี่ หรือเป็นเพียงทัศนะก็ไม่เป็นไร ต้องแยกแยะออกจากกันครับ ตรงข้ามคำวิจารณ์มีคุณค่าต่อผู้สร้างผลงานมาก อย่างหนึ่งก็คือ ถ้าผู้สร้างผลงานวิจักษณ์วิจารณ์งานของตนเองได้ครบถ้วนทุกประการเอง งานก็คงออกมาดีเลิศหมดใช่ไหมครับ อีกอย่างบ้านเราต้องการนักวิพากษ์ วิจารณ์ หรือการแสดงทัศนะและเปิดกว้างทางความคิดเห็นรับฟังกันและกัน อย่างสร้างสรรค์น่ะครับ เพราะฉะนั้นยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยครับสำหรับคำชี้แนะติชม และขอขอบคุณ(เพื่อน)มากเด้อครับผม.

Comment #6
ผู้เขียนผู้อ่าน
Posted @December,17 2007 20.21 ip : 222...100

(เพิ่มเติม)ส่วนผู้วิจารณ์ถ้าเขียนได้อย่างวิจารณ์ก็คงได้ซีไรต์อะไรไปหมดแล้วเช่นกัน คนที่เขียนดีก็คงจะเป็นนักวิจารณ์ให้ตัวเองในขณะเดียวกัน คนวิจารณ์ดีก็อาจจะเป็นนักเขียนที่ดีได้เหมือนๆ นักเขียนกับนักวิจารณ์เป็นคนๆเดียวกันก็มีอยู่ ส่วนจะเขียนดีหรือไม่ดีนั้นเป็นคนละส่วนกันออกไปครับ เพราะนั้นช่วยกันเขียน ช่วยกันวิจารณ์หน่อยก็จะดี ครับผม

แสดงความคิดเห็น

« 4103
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซท์
"ก๊วนปาร์ตี้"
เว็บไซท์นี้เปิดมาเพื่อ เป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับบันทึกเรื่องราว ทางด้านวรรณกรรม ทุกรูปแบบ ท่านสามารถส่งบทความ - เรื่องสั้น - บทกวี เพื่อมาแลกเปลี่ยนกันอ่าน โดยคลิกส่งได้จากด้านล่างนี้
คลิกเพื่อ >> ส่งบทความ | ส่งเรื่องสั้น | ส่งบทกวี | ปกิณกะ