ก๊วน Writer

สถาพร ศรีสัจจัง

by 1 @October,22 2006 20.32 ( IP : 222...94 ) | Tags : ก๊วน Writer

นายสถาพร ศรีสัจจัง ปัจจุบันอายุ ๕๕ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓ ที่จังหวัดพัทลุง เป็นกวีและนักเขียนที่สร้างผลงานหลายประเภททั้งเรื่องสั้น บทกวี ร้อยแก้ว และวรรณกรรมเยาวชน ผลงานหลายเรื่องได้รับยกย่อง ได้รับรางวัล และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ อย่างเช่น เรื่องสั้นเรื่อง คลื่นหัวเดิ่ง วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เด็กชายชาวเล เป็นต้น

สถาพร ศรีสัจจัง เป็นกวีและนักเขียนที่เป็นนักคิด นักอุดมคติ และนักต่อสู้เพื่อสังคม ผลงานวรรณศิลป์ของสถาพรผูกติดอยู่กับความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม สถาพรมีวัยหนุ่มอยู่ในช่วงที่ประชาชนถูกย่ำยีด้วยอำนาจอันไม่เป็นธรรม เขาเข้าร่วมกระบวนการต่อสู้นั้นด้วยพลังกาย พลังใจและพลังปัญญาที่กลั่นออกมาเป็นเรื่องสั้นและบทกวีมากชิ้น งานเขียนของเขากล่าวแทนใจของนักต่อสู้คนหนุ่มสาวในยุคแสวงหา ผลงานของเขาจึงเป็นการสานต่อแนวคิดของกลุ่มวรรณกรรมเพื่อชีวิต วรรณกรรมเพื่อประชาชน แม้ว่างานเขียนของสถาพร ศรีสัจจัง จะสะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น แต่สามารถสร้างประสบการณ์ร่วมแก่ผู้อ่านทั่วไป สำหรับสถาพร ศรีสัจจัง อุดมคติ วิถีชีวิต และการสร้างสรรค์วรรณกรรมคือสิ่งเดียวกัน หากเป็นการเดินเรือ เขาหันหัวเรือเข้าสู้คลื่น ในงานวรรณศิลป์ เขาหันเข้าปะทะความไม่ถูกต้องอย่างไม่หวั่นกลัว ดังนั้น จุดเด่นในงานประพันธ์ของเขาคือการสร้างจิตสำนึกในการต่อสู้กับความไม่ถูกต้องเป็นธรรมและการต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาโดยไม่ย่อท้อหวาดหวั่น โดยใช้กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่งดงาม คมคาย และเข้มข้นด้วยพลังอารมณ์สะเทือนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกวีของเขามีลีลาจังหวะและและมีพลังเสียงที่ประสานกับพลังของถ้อยคำอย่างหนักแน่น บทกวีของเขาจึงมีความโดดเด่นที่มีน้ำเสียงเข้ม ห้วน และมีพลังแรง ราวประกาศเอกลักษณ์ของคนใต้ แต่ขณะเดียวกันมีความหวานซึ้งของอารมณ์กวี สถาพรมีความจัดเจนในถ้อยคำ เขาสามารถเล่นคำ เล่นเสียง ผสานคำท้องถิ่นและส่วนกลางได้อย่างมีรสอารมณ์ ยิ่งประกอบกับการที่เขามีความตระหนักในปัญหาของสังคม และมีความเข้าใจเห็นใจชีวิตของคนทุกข์ยากที่ถูกเอาเปรียบ กวีนิพนธ์ของเขาจึงเข้มข้นทั้งเนื้อหาและลีลาวรรณศิลป์ จนอาจกล่าวได้ว่า กวีนิพนธ์ของสถาพร ศรีสัจจัง เป็นต้นแบบของตระกูลช่างสลักถ้อยคำเป็นงานวรรณศิลป์ที่สืบสานต่อมาในกลุ่มกวีร่วมสมัยที่เป็นชาวภาคใต้ เป็นนักอุดมคติที่ไฟไม่เคยมอด ด้วยฝีมือในเชิงช่าง วรรณศิลป์ที่ ไม่เคยตก สถาพร ศรีสัจจัง ยังสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นแรงบันดาลใจแก่กวีและนักเขียน รุ่นน้อง ให้สืบต่ออุดมการณ์ความคิดและสืบสานอัตลักษณ์แห่งวรรณศิลป์ของเขาต่อมา

นายสถาพร ศรีสัจจัง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๔๘







ประวัติชีวิตและผลงาน


นายสถาพร ศรีสัจจัง ปัจจุบันอายุ ๕๕ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่บ้านน้ำ เดือด ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของนายกระจ่าง และนางเล็ก ศรีสัจจัง บิดาเป็น ข้าราชการ นายสถาพรสมรสกับนางอมรา ศรีสัจจัง มีบุตรชาย ๑ คน

นายสถาพร ศรีสัจจัง เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดควนนิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
จนจบชั้นประถม ๔ แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จนจบชั้นประถม ๗ ศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม . ศ . ๑  ม . ศ . ๓ ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง และระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย ม . ศ . ๔  ม . ศ . ๕ ที่โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จากนั้น ได้เรียนต่อระดับ ปริญญาตรีจบศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และจบศิลปศาสต ร มหาบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา-สังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประวัติการทำงาน

พ . ศ . ๒๕๑๕  ๒๕๑๖ เจ้าหน้าที่มูลนิธิโกมลคีมทอง กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่

คัดเลือกและผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่

พ . ศ . ๒๕๑๗  ๒๕๒๕ ประจำกองบรรณาธิการและเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์หลาย

สำนักพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ อธิปัตย์ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา

แห่งประเทศไทย ( ๒๕๑๗  ๒๕๑๘ ) นิตยสาร ปุถุชน ( ๒๕๑๗  ๒๕๑๘ )

สำนักพิมพ์ปุถุชน ( บรรณาธิการ , ๒๕๑๗  ๒๕๑๘ ) สำนักพิมพ์เม็ดทราย

( กองบรรณาธิการ , ๒๕๒๑  ๒๕๒๒ ) สำนักพิมพ์กอไผ่ ( บรรณาธิการ ,

๒๕๒๓  ๒๕๒๕ )

พ . ศ . ๒๕๑๙  ๒๕๒๒ ผู้จัดการโรงงานปลาป่น อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

พ . ศ . ๒๕๒๕  ๒๕๔๕ นักวิชาการประจำสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง

จังหวัดสงขลา

พ . ศ . ๒๕๒๕  ปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอน ( ระดับปริญญาตรี - โท ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันราชภัฏ

สงขลา สถาบันราชภัฏยะลา ฯลฯ

ประวัติงานเขียน

นายสถาพร ศรีสัจจัง สนใจเรื่องภาษา วรรณคดี และกวีนิพนธ์ไทยมาแต่เยาว์วัย ในสมัยเด็กอยู่กับย่า ย่าจะเล่าเรื่องวรรณกรรมพื้นบ้านให้ฟัง เช่น เรื่องมโนราห์ พระรถ - เมรี ฯลฯ ทำให้มีพื้นฐานความรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน เมื่อเข้าโรงเรียนก็มีความผูกพันกับครูภาษาไทยซึ่งเป็นนักกลอนมีชื่อในยุคนั้น เช่น ประพนธ์ เรืองณรงค์ ( ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทยฯ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ) และประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์ ( ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวารสาร และการประชาสัมพันธ์ สถาบันราชภัฎสงขลา ) ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์อีกคนหนึ่งคือ
จำลอง ศรีสัจจัง ผู้เป็นพี่ชาย ซึ่งเป็นนักกลอนมีฝีมือคนหนึ่งในมหาวิทยาลัยด้วยความที่มีใจฝักใฝ่ในกา รแต่งคำประพันธ์ นายสถาพร ศรีสัจจัง เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดคำกลอนระดับจังหวัด ประกวดคำฉันท์ และเรื่องสั้น มาตั้งแต่ยังเรียนชั้นมัธยม มีผลงาน

ตีพิมพ์สู่สาธารณะครั้งแรกที่ สตรีสาร ในคอลัมน์ศาลากวี และเรื่องสั้นเรื่องแรกตีพิมพ์ใน ชัยพฤกษ์ ราวปี
พ . ศ . ๒๕๐๙ - ๒๕๑๐

เมื่อสอบเข้าศึกษาต่อในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ในปี พ . ศ . ๒๕๑๒ นาย สถาพรซึ่ง ยอมรับว่าตนเองเป็น  นักอนุรักษ์นิยม  เลือกเรียนวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเอก และเข้าร่วมกิจกรรม
ของชมรมวรรณศิลป์ ส . ม . ช . โดยรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมกลอนของชมรมวรรณศิลป์ ในปี พ . ศ . ๒๕๑๓ ตั้งแต่เป็นนักศึกษาปีหนึ่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายสถาพรมีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือ ม . ช . สัมพันธ์ ,
ทองกวาว และ หนังสืออื่น ๆ ที่ออกเผยแพร่ในมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ บทกลอนเด่นของเขาชื่อ นิยาย

พื้นเมืองกรุงสยาม ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น ๖ องค์ คือ องค์หนึ่ง บทนำขลุ่ย องค์สอง เพลงขลุ่ยทอด ฤ ร่าน ท่วมแล้ว อยุธยา องค์สาม องค์สี่ องค์ห้า มหาวิทยาลัย องค์หก ดั้นเพลงลา บทกลอนนี้แสดงความคิดของ นายสถาพรที่มีต่อการใช้ชีวิตของนักศึกษาปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัยในตอนนั้น ดังเช่นตอนหนึ่งว่า

เด็กอนุบาลผู้ใหญ่ที่นั้น ทั้งหญิงชายเฉิดฉันท์แฉล้ม

แต่งตัวยั่วกามกันวามแวม ฝึกเดินแต้มความพินาศให้ชาติไทย

มีเพียงความกลัวทั่วห้องจิต ซึ่งผู้ใหญ่ผลิตเบ้าไว้ให้

ไม่มีความนึกคิดติดหัวใจ หวังเพียงใบปริญญาอาชีพงาม

จึ่งที่นี้ไม่มีอะไรให้ชาติ นอกจากผลิตเศษกระดาษให้เกลื่อนสยาม

เป็นโรงเรียนฝึกอาชีพทรามทราม ที่ฝึกความดักดานให้ครองเมือง

เมื่อขึ้นชั้นปี ๒ นายสถาพร ศรีสัจจัง เข้าร่วมกลุ่มเพื่อนที่สนใจปัญหาทางการเมือง และ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง กลุ่มวลัญชทัศน์ ซึ่งแปลว่า มองหาช่องทาง เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองใน ยุคแสวงหาหรือยุคฉันจึงมาหาความหมาย เช่นเดียวกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนกลาง

มีการก่อตั้งกลุ่มนักคิดนักเขียน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม
ได้แก่ สุชาติ สวัสดิ์ศรี วิทยากร เชียงกูล ขรรค์ชัย บุนปาน สุจิตต์ วงษ์เทศ นิคม รายยวา วินัย อุกฤษณ์
ประเสริฐ จันดำ สุรชัย จันทิมาธร ฯลฯ กลุ่มสภาหน้าโดม ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม ได้แก่ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จรัล ดิษยฐานันท์ กมล กมลตระกูล ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี กลุ่มสภากาแฟ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กลุ่มฟื้นฟูโซตัสใหม่ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มชมรมคนรุ่นใหม่ ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เป็นต้น

กลุ่มวลัญชทัศน์ออกหนังสือหลายเล่ม แต่เล่มที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คือ วลัญชทัศน์ ฉบับ
ภัยเขียว เพราะเป็นฉบับที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ทหารโดยตรง ในหนังสือเล่มนี้ นายสถาพร เขียนงานร้อยแก้ วชื่อ  โศลกมืดจากภูเขาบรรทัด  เนื้อหาถ่ายทอดคำบอกเล่าของเด็กชายที่พ่อถูกฆ่าตาย ผลงานชิ้นนี้เป็น งานเขียนที่โดดเด่นในยุคนั้น เพราะสะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย โดยเฉพาะ ท้องถิ่นภาคใต้แถบ เทือกเขาบรรทัด ที่ฝ่ายอำนาจรัฐปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างทารุณ และยัดเยียดข้อกล่าวหา อย่างไม่เป็นธรรม งานเขียนชิ้นนี้ทำให้สถาพรถูกสอบสวนและเกือบทำให้เขาถูกลบชื่อจากสถาบันการศึกษา

ในปี พ . ศ . ๒๕๑๓ นายสถาพร ศรีสัจจัง ร่วมกับเพื่อนที่เป็นนักเขียน นักอ่าน และสมาชิกชมรมวรรณศิลป์ พิมพ์หนังสือ เจ้าชื่อทองกวาว เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวี จำนวน ๒๐๐๐ เล่ม ออกวางจำหน่ายทั่ว ประเทศ ดร . นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นผู้เขียนบทนำในหัวข้อ  คนหนุ่มเหล่านั้น  โดยวิจารณ์ผลงานของนักเขียน แต่ละคน ดร . นิธิกล่าวถึง นายสถาพร ศรีสัจจัง ว่า

 เหมือนคนหนุ่มไม่น้อยในเมืองไทยขณะนี้ เขาต่างไม่พอใจสภาวะปัจจุบัน สถาพร เห็นสภาวะปัจจุบันเป็นการ จลาจลทางเพศ เขาคิดว่า  กาม  เป็นสัญลักษณ์ของความเสื่อมทุกอย่าง ที่จริงเขาไม่เพียงแต่ไม่พอใจ
เขาขึ้งเครียดต่อโลกในสายตาของเขาด้วยซ้ำ 

หนังสือรวมผลงานเล่มแรกประสบความสำเร็จไม่น้อย ทำให้สถาพรและผองเพื่อนรวบรวม ผลงานเรื่องสั้นและบทกวี
ตีพิมพ์ต่อจากงานเล่มแรก เป็น เจ้าชื่อทองกวาว ขบวนสอง ใช้ชื่อปกว่า ต้องฝนยามแล้ง เผยแพร่เดือนมิถุนายน พ . ศ . ๒๕๑๔ จำนวนพิมพ์ ๒๐๐๐ เล่มเช่นกัน หนังสือเล่มนี้รวมผลงานของนักเขียน ๔ คน สถาพร ศรีสัจจัง มีงานกวีนิพนธ์ ๓ เรื่อง คือ สังคีตแห่งเทวาลัย เธอกับฉันอยู่ในประเทศไทย และ ดอกไม้กับหมา

หนังสือ ต้องฝนยามแล้ง ได้ ดร . นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนบทนำให้เช่นเคย บทนำนี้ชื่อว่า  คนหนุ่มเหล่านั้นกับ เมืองไทย  ดร . นิธิเขียนถึง นายสถาพร ศรีสัจจัง ไว้ว่า

 คนที่ต้องยกเว้นสำหรับคำวิจารณ์ตอนนี้คือ สถาพร ศรีสัจจัง ข้าพเจ้าคิดว่า เขาไปไกลที่สุด จากงาน
เจ้าชื่อทองกวาว กับงานที่ปรากฏในเล่มนี้ ทั้งในด้านเนื้อหา วิธีการ ความจริงใจ ฯลฯ ในด้านเนื้อหา
เขาเปลี่ยนจากเน้นความเหลวแหลกของชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย ไปสู่ความเหลวแหลกของสังคมไทย


การขยายความสนใจของเขาทำขึ้นโดยการเอาจริงเอาจังอย่างเห็นได้เด่นชัดกว่าในงานชิ้นก่อน ซึ่งกระทบกระ เทียบนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแฟชั่น จนขาดความจริงใจ ( งานศิลปะขาดที่ความจริงใจ ก็เป็นเพียงงาน หัตถกรรมเท่านั้น ) ในด้านวิธีการ ข้าพเจ้าคิดว่า สถาพรกระทำถูกกว่านักเขียนคำประพันธ์อีกหลายคนใน ปัจจุบัน สำนวน อารมณ์ และถ้อยคำ ที่มีในความบริสุทธิ์และความโสโครก เห็นได้ชัดว่า ต่างกันไกลลิบ อันหนึ่ง อ่อนหวาน ละมุนละไม ไพเราะ ( เหมือนเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ) อีกอันหนึ่งสกปรก กระด้าง
รุนแรง ( เหมือน ว . ศรีสุโร ) จึงต่างกันเท่าที่ความบริสุทธิ์และความโสโครกจะพึงแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในกลอนทั้งสองบท ผู้อ่านพอจะมองเห็นตัวของสถาพรได้ ตามแนวทางเช่นนี้เท่านั้นที่สถาพรจะค้นพบ

ตัวของเขาเอง เขาต้องเขียนกลอนอย่างที่สถาพรเขียน ไม่ใช่อย่างอังคาร วิโรจน์ เนาวรัตน์ หรือสุนทรภู่

ในทางตรงกันข้าม หลายกรณี คนหนุ่มเหล่านั้นกำลังเดินถอยหลัง ห่างจากที่เขาเคยยืนอยู่ใน
เจ้าชื่อทองกวาว ด้วยซ้ำ ความสำเร็จเคยฆ่าคนมาแล้ว และมันกำลังจะประหารคนในกลุ่มหนุ่มเหล่านั้น ผู้อ่าน รู้สึกได้ทันทีในความไม่พิถีพิถันในงานของทุกคน ยกเว้นสถาพร เมื่อเทียบกับ เจ้าชื่อทองกวาว เขา ระมัดระวังถ้อยคำที่ใช้ อย่างน้อยก็ให้เป็นคำ เป็นภาษาที่มีค่า ที่มีความหมายแก่ตัวเขาเอง 

เมื่อจบการศึกษาปริญญาตรีในปี พ . ศ . ๒๕๑๕ นายสถาพร ศรีสัจจัง เข้าสู่เมืองหลวง ทำงานกับ มูลนิธิโกมล คีมทอง และเขียนงานอย่างสม่ำเสมอทั้งเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ กลางปี พ . ศ . ๒๕๑๖
นายสถาพรลาออกจากงานประจำ ช่วงนี้มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาในสถาบันต่าง ๆ นายสถาพรเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และเป็น ๑ ใน ๑๐๐ คนที่ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
อันเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖

ต้นปี พ . ศ . ๒๕๑๗ นายสถาพร ศรีสัจจัง เข้าทำงานประจำเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์และ
หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร ปุถุชน ซึ่งมีวินัย อุกฤษณ์ เป็นบรรณาธิการบริหาร ในช่วงนี้เอง นาย สถาพร เขียนเรื่องสั้น นกพญาไฟ ตีพิมพ์ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ และได้รับการ วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องสั้นที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นและบทกวีอีกหลายเรื่อง เรื่องสั้น เช่น คนสั่นระฆัง , คนในนา , เกี่ยวกับวันเวลาและศัตรู , เหยื่อ , ก่อนไปสู่ภูเขา , นาน้ำฟ้า ฯลฯ บทกวี เช่น สิบสี่เดือนตุลา วันมหาประชาชัย , กู่ขาน วีรชน , สงครามประชาชน ,
คำประกาศขบถจากหมู่บ้านเคียวเกี่ยวดาวแห่งเทือกเขาผาเพ ฯลฯ งานร้อยกรอง ชิ้นสำคัญใน ช่วงนี้คือ ลิลิตพัฒนา โองการประกาศฟ้า ซึ่งปรับเปลี่ยนจากโองการแช่งน้ำ ที่สาปแช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดี
มาเป็นประชาชนสาปแช่งชนชั้นปกครองที่ฉ้อฉล ลิลิตโองการประกาศฟ้า ใช้คำประพันธ์หลากชนิด
ประกอบด้วยร่าย โคลงห้าพัฒนา โคลงสี่สุภาพ กาพย์ และฉันท์ กล่าวได้ว่านายสถาพร ศรีสัจจังเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนักเขียนหนุ่มสาวที่สานต่อแนวคิดวรรณกรรมเพื่อชีวิต



ในปี พ . ศ . ๒๕๑๘ สำนักพิมพ์ ปุถุชน ตีพิมพ์เรื่องสั้นและบทกวีของนายสถาพร ศรีสัจจัง ในชื่อ
ก่อนไปสู่ภูเขา หนังสือเล่มนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และขายดีจนต้องตีพิมพ์ซ้ำ อย่างรวดเร็ว

เพราะเนื้อหาแนวคิดในหนังสือเล่มนี้สอดคล้องกับกระแสความคิดของคนหนุ่มสาวร่วมสมัยในยุค ประชาธิปไตยแบ่งบาน แต่หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ หนังสือ ก่อนไปสู่ภูเขา ได้รับการประกาศเป็น หนังสือต้องห้ามเล่มหนึ่งใน ๒๐๔ รายการ

หลังจาก ปุถุชน ปิดตัวลง นายสถาพร ศรีสัจจัง เข้าทำงานประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร ชีวิต
ของสนธิ ลิ้มทองกุล แต่เมื่อเกิดเหตุ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ นิตยสารเล่มนี้ก็ปิดตัวเองลงไปเช่นเดียวกับ นิตยสารและหนังสือพิมพ์อีกหลายเล่ม

หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ นายสถาพรเดินทางกลับไปใช้ชีวิตที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และ ทำงานเป็นผู้จัดการโรงงานปลาป่นแห่งหนึ่ง ทำให้นายสถาพรได้สัมผัสกับทะเลอย่างจริงจัง ซึมซับบรรยากาศ ของท้องทะเลอย่างลึกซึ้งและคลุกคลีกับคนที่ใช้ชีวิตกับท้องทะเลทุกอาชีพ ประสบการณ์ชีวิตจากท้องทะเลฝั่งอันดามันนี้เองก่อเกิดเป็นงานเขียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองหลายชิ้น

คลื่นหัวเดิ่ง เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของ นายสถาพร ศรีสัจจัง ที่ใช้นามปากกาว่า พนม นันทพฤกษ์

ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องสั้นของนิตยสาร โลกหนังสือ ที่มีสุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นบรรณาธิการ นอกจาก เรื่องสั้นเรื่องนี้จะได้รับเกียรตินำชื่อ คลื่นหัวเดิ่ง เป็นชื่อบนหน้าปกแล้ว ยังเป็นเรื่องสั้นที่ได้รับ รางวัลช่อการะเกดประจำฉบับอีกด้วย และในปีเดียวกันนั้นเอง คลื่นหัวเดิ่ง ได้รับการคัดเลือกจาก สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ให้เป็นเรื่องสั้นยอดเยี่ยม

ในช่วงปี ๒๕๒๒ ความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองและการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐกับนักศึกษา
ประชาชนเริ่มสงบลง พร้อมกับการใช้นโยบาย ๖๖ / ๒๓ ทำให้เหล่าประชาชน นิสิตนักศึกษาที่เข้าป่า เริ่มคืนเมือง บรรยากาศของการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมสว่างไสวกว่าเดิม เมื่อ คลื่นหัวเดิ่ง
ได้ตีพิมพ์ จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่นักอ่านและคนวรรณกรรม จากนั้นเรื่องสั้นอื่น ๆ ในนามปากกา พนม นันทพฤกษ์ ได้ทยอยตามออกมาไม่ขาดสาย เช่น ณ ที่ซึ่งเป็นแผ่นดินกว้าง ,
คนเตา , คืนฟ้าฉ่ำดาว , รอยเปื้อนและทางเดิน , จากภูเหนือ , คือเหยื่อ , นกแร้ง , อาชญากรรม , เหยื่อพราน , ไฟที่ไหม้ลาม , ข่าวคราวจากฝั่งทะเลและจดหมาย , ชายแก่ริมทะเลสาบ , ปาดังเบซาร์ , ดาวที่ขีดเส้นฟ้า , บาระเด็ง , มรสุม , ลมแล้งที่โหมกระหน่ำลง , คนไกล ฯลฯ เรื่องสั้นเหล่านี้สะท้อนภาพ ชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนที่กำลังเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่เน้นด้านวัตถุและกา รบริโภคนิยม เด็กรุ่นใหม่ในชุมชนพากันละทิ้ง ขนบประเพณีของบรรพบุรุษหันไปชื่นชมกับสิ่งใหม่ที่เห็นว่าทันสมัย นอกจากนี้ปัญหาความยากจน และการเอาเปรียบในสังคมทุกระดับเป็นภาพที่สะท้อนอยู่ชัดเจนในงานเรื่องสั้น เหล่านี้ นายสถาพรมุ่งมั่นที่จะบอกเล่าผู้อ่านให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตและสังคมและชี้ให้เห็นว่าแก่นแท้ ของชีวิตคือการต่อสู้ มนุษย์ต้องต่อสู้


กับอุปสรรคที่ขวางกั้น ต่อสู้กับการถูกกดขี่ข่มเหง ต่อสู้กับความเอารัดเอาเปรียบ และต่อสู้กับความอยุติธรรม
ทุกรูปแบบ

นอกจากเขียนเรื่องสั้นแล้ว นายสถาพรยังเขียนงานร้อยแก้วและบทกวีอีกด้วย งานร้อยแก้ว เช่น คำนึงถึงคนรัก และ บางค่ำคืนในฤดูแล้ง ตีพิมพ์ครั้งแรกใน โลกหนังสือ พ . ศ . ๒๕๒๒ ต่อมามีบทร้อยแก้ว รวมเล่ม ชื่อว่า
ที่ว่ารัก - รักนั้น & ตีพิมพ์ พ . ศ . ๒๕๔๑ ส่วนบทกวีชิ้นแรกที่เขียนในนามปากกา พนม นันทพฤกษ์ ชื่อ
เดือนสาม  ลมรักล่องแผดโผยโปรยผ่านมา ตีพิมพ์ใน โลกหนังสือ พ . ศ . ๒๕๒๒ เช่นกัน บทกวี ชิ้นเด่น ๆ ที่เขียนหลังจากนี้ ได้แก่ ดาวศรัทธายังโชนจ้าแสง , ฤดูกาล , ยืนต้านพายุ , จากเทือกเขาพนมมาลัย , ผ่านทางที่หมู่บ้าน , ดาวเหนือ , ผ่านทางไปภาคใต้ ปีสองพันห้าร้อยยี่สิบสาม , ฝั่งทะเลตะวันตก , ตำนานดาว , ตำนานแห่งนกพญาไฟ , ตำนานแห่งพิมพะยอม , นักเดินเรือ , ลำห้วยใหญ่ ฯลฯ
บทกวีเหล่านี้ต่อมารวมเล่มในหนังสือ คือนกว่ายเวิ้งฟ้า พ . ศ . ๒๕๒๙ ณ เพิงพักริมห้วย พ . ศ . ๒๕๓๑
และ ทะเล ป่าภู และเพิงพัก พ . ศ . ๒๕๔๑

งานเขียนอีกประเภทหนึ่งที่นายสถาพร ศรีสัจจัง ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง คือ วรรณกรรมเยาวชน เขาเริ่มเขียน เด็กชายชาวเล เป็นนวนิยายเยาวชนเรื่องแรก เมื่อ พ . ศ . ๒๕๒๔ โดยได้ข้อมูลและแรงบันดาลใจ ระหว่างทำงาน ในโรงงานปลาป่น อันทำให้มีความผูกพันกับทะเลและชีวิตของผู้คนที่พึ่งพิงอยู่กับท้องทะเลอันดามัน นวนิยาย เยาวชนเรื่องนี้ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ประจำปี พ . ศ . ๒๕๒๕
จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ และต่อมาได้รับการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๕๐๐ เล่มหนังสือดีที่เด็ก และเยาวชนควรอ่าน จากสมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและการอ่าน และเป็น ๑ ใน ๑๐๐ เล่มหนังสือด ีที่เด็กและเยาวชนควรอ่าน จากการคัดสรรของโครงการวิจัยซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจาก สกว . รวมทั้งได้รับกา ร คัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของระดับมัธยมศึกษาด้วย ในปีต่อมา นายสถาพร เขียนวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง บองหลา และในปี ๒๕๔๑ เขียนวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง ดงคนดี ทั้งสองเล่ม ได้รับรางวัลชมเชย
จากคณะกรรมการหนังสือแห่งชาติเช่นกัน

เมื่อ พ . ศ . ๒๕๒๕ นายสถาพร ศรีสัจจัง เข้ารับราชการที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา ระหว่างรับราชการ นายสถาพรศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาไทยศึกษา
ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนสำเร็จการศึกษาเป็นมหาบัณฑิต และปัจจุบันดำรง ตำแหน่งรักษาการ ผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา งานหลัก ในหน้าที่ราชการคือเป็นนักวิจัยและเป็น อาจารย์สอนนักศึกษาระดับปริญญาโท นายสถาพรได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ จัดทำสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำสารานุกรมวัฒนธรรมไทย
ซึ่งมีศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณฑก เป็นประธาน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์



นอกจากภาระการงานในหน้าที่ราชการแล้ว นายสถาพร ศรีสัจจัง ยังคงสร้างสรรค์งานประพันธ์ตามใจรัก ของตนต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ จึงมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งร้อยแก้ว กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมเยาวชน ผลงานล่าสุดที่ตีพิมพ์รวมเล่ม คือ ฟ้องนายหัว เป็นบทกวีนิพนธ์การเมืองที่ตีพิมพ์ ต่อเนื่องใน มติชน
สุดสัปดาห์ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม พ . ศ . ๒๕๔๑ ถึงเดือนตุลาคม พ . ศ . ๒๕๔๒ โดยใช้นามปากกาว่า
อินถา ร้องวัวแดง หลังจากนั้นมีบทกวีตีพิมพ์เป็นครั้งคราวยามเมื่อได้รับการกระทบอารมณ์จากเหตุการณ์บ้านเมือง


ผลงานประพันธ์ของ นายสถาพร ศรีสัจจัง มีดังนี้

พิมพ์ครั้งแรก


ชื่อหนังสือ
ประเภทหนังสือ

๒๕๑๓
เจ้าชื่อทองกวาว
รวมเรื่องสั้น , กวีนิพนธ์ ( เขียนร่วมกับผู้อื่น )

๒๕๑๔
ต้องฝนยามแล้ง
รวมเรื่องสั้น , กวีนิพนธ์ ( เขียนร่วมกับผู้อื่น )

๒๕๑๘
ก่อนไปสู่ภูเขา
รวมเรื่องสั้น , กวีนิพนธ์

๒๕๒๓
คืนฟ้าฉ่ำดาว รอยเปื้อน และทางเดิน
รวมเรื่องสั้น

๒๕๒๔
ยืนต้านพายุ
รวมเรื่องสั้น , กวีนิพนธ์

๒๕๒๔
เด็กชายชาวเล
วรรณกรรมเยาวชน

๒๕๒๕
บองหลา
วรรณกรรมเยาวชน

๒๕๒๕
ทุ่งหญ้าขาว ป่าสูง และวันรุ้งทอสาย
นวนิยาย

๒๕๒๖
ดาวที่ขีดเส้นฟ้า
รวมเรื่องสั้น

๒๕๒๘
คือนกว่ายเวิ้งฟ้า
กวีนิพนธ์

๒๕๒๙
ที่ว่ารัก & รักนั้น &
ร้อยแก้ว

๒๕๓๑
ดั่งผีเสื้อเถื่อน
นวนิยาย

๒๕๓๒
ณ เพิงพักริมห้วย
กวีนิพนธ์

๒๕๔๐
ดงคนดี
วรรณกรรมเยาวชน

๒๕๔๑
ทะเล ป่าภู และเพิงพัก
กวีนิพนธ์

๒๕๔๓
ฟ้องนายหัว
กวีนิพนธ์ ฯลฯ

นามปากกาที่ใช้ พนม นันทพฤกษ์ สำหรับวรรณกรรมเยาวชน นวนิยาย รวมเรื่องสั้น และ กวีนิพนธ์ อินถา ร้องวัวแดง สำหรับกวีนิพนธ์การเมือง รางวัลที่ได้รับ
๑ . เรื่องสั้นชื่อ คลื่นหัวเดิ่ง

"  รางวัลช่อการะเกด ประจำปี ๒๕๑๙

"  รางวัลเรื่องสั้นยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๒๒ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

๒ . วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เด็กชายชาวเล

"  รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ( ๑๒  ๑๔ ปี ) จาก คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ . ศ . ๒๕๒๔

  • ๑ ใน ๕๐๐ เล่มหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน ของ สมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและ การอ่าน

  • ๑ ใน ๑๐๐ หนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ( ทุนสนับสนุนการวิจัย จาก สกว .)

  • หนังสืออ่านนอกเวลา วิชาภาษาไทย ระดับมัธยมต้น

๓ . วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง บองหลา

  • รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ( ๑๒ - ๑๔ ปี ) จาก

คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี พ . ศ . ๒๕๒๕

  • ๑ ใน ๕๐๐ เล่มหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน ของ สมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนา

หนังสือและการอ่าน

๔ . รวมบทกวีนิพนธ์ ชื่อ คือนกว่ายเวิ้งฟ้า

  • รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือกวีนิพนธ์ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ . ศ . ๒๕๒๙

๕ . วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง ดงคนดี

"  รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ( ๑๒ - ๑๔ ปี ) จาก คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี ๒๕๔๑

๖ . บทกวีชื่อ  ดาวศรัทธายังโชนจ้าแสง  ได้รับการคัดเลือกเป็นสรรนิพนธ์ในโครงการวิจัย กวีนิพนธ์ใน

ฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย พ . ศ . ๒๕๓๘  ๒๕๔๑ ซึ่งมี ศ . เกียรติคุณ ดร . เจตนา นาควัชระ

เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นโครงการวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว .


การเผยแพร่สู่สากล
เรื่องสั้น คลื่นหัวเดิ่ง ได้รับการแปลเป็นภาษาจีน อังกฤษ มลายู

เรื่องสั้น ห้องพระ และนวนิยาย เด็กชายชาวเล ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น

บทกวี ดาวเหนือ ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ


การประเมินคุณค่าผลงานของสถาพร ศรีสัจจัง

นับเป็นเวลาเกือบ ๓๐ ปี ที่สถาพร ศรีสัจจัง นักคิดนักเขียนแห่งทะเลอันดามันผู้นี้ได้สร้างผลงาน ประพันธ์หลากหลายประเภทไว้ในวงวรรณกรรมร่วมสมัย ผลงานส่วนใหญ่ของสถาพรผูกติดอยู่กับ ความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม สถาพรมีวัยหนุ่มอยู่ในช่วงที่ประชาชนถูกย่ำยี ด้วยอำนาจ อัน ไม่เป็นธรรม เขาเข้าร่วมกระบวนการต่อสู้นั้นด้วยพลังกาย พลังใจและพลังปัญญา ที่กลั่นออกมาเป็นเรื่องสั้น และบทกวีมากชิ้น งานเขียนของเขากล่าวแทนใจของนักต่อสู้คนหนุ่มสาว จำนวนมากมายที่จำต้องทิ้งร้างห่างบ้านไปเพื่อปกป้องอุดมการณ์ของตน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่าง ใดที่ผลงานของเขาถูกจัดไว้ในกลุ่ม วรรณกรรมเพื่อชีวิตที่สานต่ออุดมการณ์ของนักเขียนรุ่นอาวุโสอย่าง ศรีบูรพา เสนีย์ เสาวพงศ์ ลาว คำหอม สุวัฒน์ วรดิลก ฯลฯ และร่วมอุดมการณ์กับนักเขียนรุ่นใกล้เคียงกันอย่าง วิทยากร เชียงกูล สุชาติ สวัสดิ์ศรี สุจิตต์ วงษ์เทศ ฯลฯ

นศินี วิทูธีรศานต์ ( ชมัยภร แสงกระจ่าง ) ได้วิจารณ์ ไว้ในหนังสือ วิเคราะห์วรรณกรรมแนวประชาชน ว่าสถาพรทำงานเรื่องสั้นได้ดี ด้วย  ไฟ  ที่สุมอยู่ในใจ ร่วมกับความคิดอันแน่วแน่ มั่นคง จึงสามารถสื่อสาร ถึงประชาชนได้ด้วยรายละเอียดสมจริง

 สถาพรเขียนงานเรื่องสั้นได้ดีมากทั้งเนื้อหา รายละเอียด และรูปแบบสำนวน ความเป็นกวีในตัวเขาทำให ้สามารถบรรยายความรู้สึก ภาพที่เห็น หรือสิ่งอื่น ๆ ได้อย่างละเอียดอ่อนประณีตและในประเด็นที่แปลกออก ไปจากเรื่องดาด ๆ สถาพรเขียนเรื่องสั้นอย่างมีเป้าหมายเพื่อการชี้แนะทางออกที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน ในทุกเรื่องของเขาตัวละครจะมองเห็นทางออกอัน  สว่างไสว  อย่างเป็นที่น่าพรั่นพรึง แก่ฝ่ายตรงข้าม
และที่น่าชมเชยมากคืองานของสถาพรมีความง่าย สามารถเข้าใจได้ทันทีเมื่ออ่านแต่ก็ไม่ขาดความลึก ซึ้งทางด้านศิลปะ เรื่องสั้นของสถาพรจึงเป็นงานของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงแต่ นักวิชากา รจะรับได้อย่างเข้าถึงปัญหาที่นำเสนอมาในงานเท่านั้น ชาวบ้าน ชาวนา ชาวไร่ซึ่งเป็นประชาชนส่วน ใหญ่ของประเทศก็สามารถรับได้ และรู้เห็นปัญหาของตนอย่างชัดแจ้งทั้งยังได้รับการชี้แนะอย่างถูกต้องด้วย 

หลังรัฐบาลใช้นโยบายประสานความแตกแยกทางอุดมการณ์การเมือง สถาพรต้อนรับนักต่อสู้ที่ ทยอยกลับบ้านด้วยเรื่องสั้น คลื่นหัวเดิ่ง ซึ่งจับใจคนหนุ่มสาวนักอุดมคติในยุคนั้น เพราะสะท้อนความ

เป็นนักสู้ที่ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคและชะตากรรมและแสดงปรัชญาชีวิตของการกล้าเผชิญหน้า กับปัญหา ต่อสู้ให้รู้ว่าแพ้หรือชนะ ดังตอนหนึ่งที่สถาพร ศรีสัจจัง บรรยายไว้ว่า

& เขารู้ดีว่า เขาจะเอาชนะเจ้า  คลื่นหัวเดิ่ง  ที่ดูรุนแรงใหญ่โตนั้นได้อย่างไร อย่าหลีกเรือหลบมัน หันหัวเข้าหา เร่งเครื่องเดินหน้าให้เต็มเหยียด พุ่งชนฝ่ามันเข้าไป แค่นี้เขาก็จะเอาชนะมันได้ มันดูน่ากลัว แต่อ้นรู้ดีว่า ถ้าไม่หันเรือเข้าสู้ พุ่งฝ่ากลางตัวมันเข้าไป เขาก็จะไม่มีวันชนะมันได้อย่างเด็ดขาด
เขาพิสูจน์มันมาแล้ว และขณะนี้เขาก็กำลังพิสูจน์ท้าทายกับมันอยู่ 

ปรัชญาชีวิตเช่นนี้ ปรากฏในงานร้อยแก้ว หรือกลอนเปล่าด้วย เช่น

เรือกลสำเภาใด ,

แม้มิมุ่งเวิ้งฟ้ากว้างน้ำเขียว ,

ผจญคลื่นใหญ่พายุกล้า ,

ก็อย่าหมาย -

ได้พบเห็นนกขาว 

สำหรับนวนิยาย สถาพรสร้างสรรค์เป็นวรรณกรรมเยาวชน โดยมุ่งจะปลูกฝังให้ผู้อ่านที่เป็นเยาว ชน รับรู้สภาพแท้จริงของสังคมไทยในซอกมุมเล็ก ๆที่ห่างไกลจากเมืองหลวง ผู้เขียนนำเสนอทั้งภาพ
ที่งดงามตามธรรมชาติ และภาพความเปลี่ยนแปลงของชนบทที่น่าตื่นตระหนก แม้จะเขียนไว้เพียง ๓ เรื่อง
แต่ทุกเรื่องได้รับรางวัลจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ และได้รับยกย่องจากผู้อ่านและองค์กรวรรณกรรมหลายแห่ง

สถาพร ศรีสัจจังได้รับการยกย่องในเรื่องฝีมือการแต่งกวีนิพนธ์มาก ความช่ำชองที่สั่งสมเป็นมรด ก ตกทอดจากบรรพบุรุษ และจากการศึกษาทำให้กวีนิพนธ์ของเขามีการใช้ฉันทลักษณ์ที่หลากหลาย ทั้งฉันทลักษณ์พื้นบ้านและฉันทลักษณ์พื้นฐาน กวีนิพนธ์ของสถาพรมีความแม่นยำในด้านลีลาจังหวะ และมีพลังเสียงที่ประสานกับพลังของถ้อยคำอย่างหนักแน่นบทกวีของเขาจึงมีความโดดเด่นที่มีน้ำเสียงเข้ม ห้วน และมีพลังแรง ราวประกาศเอกลักษณ์ของคนใต้ แต่ขณะเดียวกันมีความหวานซึ้งของอารมณ์กวี สถาพรมีความจัดเจนในถ้อยคำจนกล่าวได้ว่าเป็นนายของภาษา เขาสามารถเล่นคำ เล่นเสียง ผสานคำ ท้องถิ่นและส่วนกลางได้อย่างมีรสอารมณ์ ยิ่งประกอบกับการที่เขามีความตระหนักในปัญหาของสังคม
และมีความเข้าใจเห็นใจชีวิตของคนทุกข์ยากที่ถูกเอาเปร

แสดงความคิดเห็น

« 9648
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซท์
"ก๊วนปาร์ตี้"
เว็บไซท์นี้เปิดมาเพื่อ เป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับบันทึกเรื่องราว ทางด้านวรรณกรรม ทุกรูปแบบ ท่านสามารถส่งบทความ - เรื่องสั้น - บทกวี เพื่อมาแลกเปลี่ยนกันอ่าน โดยคลิกส่งได้จากด้านล่างนี้
คลิกเพื่อ >> ส่งบทความ | ส่งเรื่องสั้น | ส่งบทกวี | ปกิณกะ