บทความ
"ความเป็นไทย" กับวิกฤตมนุษยศาสตร์
"ความเป็นไทย" กับวิกฤตมนุษยศาสตร์ รศ. สายชล สัตยานุรักษ์ (ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ความนำ บทความนี้มองมนุษยศาสตร์ไทยในแง่ร้าย มิได้หมายความว่า ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หรือผู้เขียนมองไม่เห็นด้านที่ดีขึ้น แต่ด้านที่ดีขึ้นนั้นเป็นผลงานของนักมนุษยศาสตร์ส่วนน้อย ทำให้ความรู้ทางมนุษยศาสตร์ไทยยังมีพลังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อชีวิตคนไทยและสังคมไทย ในมิติที่เกี่ยวเนื่องกับ "ปัญญา" "จิตใจ" และ "อารมณ์ความรู้สึก"
ขณะเดียวกันความรู้ทางมนุษยศาสตร์จำนวนมากที่ได้รับการสร้างขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จรรโลงโครงสร้างความรุนแรงในสังคมไทย เนื่องจากได้รับการสร้างขึ้นด้วยวิธีคิดที่มาจากมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ"ความเป็นไทย" กระแสหลัก ผู้เขียนจึงเห็นว่า การสร้างความรู้ทางมนุษยศาสตร์มีปัญหามากในระดับที่สามารถเรียกได้ว่า "วิกฤตมนุษยศาสตร์"
ก่อนจะกล่าวถึง "ความเป็นไทย" กับวิกฤตมนุษยศาสตร์ ผู้เขียนขอสรุปที่มาและความหมายของ "ความเป็นไทย" กระแสหลัก โดยสังเขป
"ความเป็นไทย" กระแสหลัก ที่มาของการนิยามหรือการสร้าง "ความเป็นไทย" กระแสหลัก ก็คือความจำเป็นและความต้องการของชนชั้นนำตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่จะจรรโลงโครงสร้างรัฐแบบรวมศูนย์อำนาจ และโครงสร้างสังคมที่แบ่งคนออกเป็นลำดับชั้น ให้คนแต่ละชั้นมีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกัน ในสภาวการณ์ที่อุดมการณ์แบบธรรมิกราชาธิราชเริ่มหมดพลัง ระบบไพร่และทาสที่เคยเป็นกลไกสำคัญในการจัดระเบียบสังคม กำลังสลายตัวลงจากการเข้ามาของทุนนิยม ในขณะที่เกิด "คนชั้นกลาง" ทั้งในและนอกระบบราชการ ซึ่งเริ่มสำนึกและเผยแพร่ความคิด "ชาตินิยม" ที่เน้นว่า "ชาติ" เป็นของประชาชน
การ สร้าง "ความเป็นไทย" จึงเริ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ชนชั้นนำพยายามสร้าง"ชาติไทย" ให้เป็น "ชุมชนในจินตนาการ" ของชาวสยาม โดยทำให้มโนทัศน์ที่ชนชั้นนำสถาปนาขึ้นมานี้ มีอำนาจครอบงำเหนือความคิดที่เสนอโดยคนกลุ่มอื่น ๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ชาวสยามผูกพันกับ "ชาติไทย" แบบที่ชนชั้นนำนิยาม แทน"ชุมชน" ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมเล็ก ๆ ที่ชาวสยามได้เคยผูกพันใกล้ชิดมาก่อน เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้การนำของ "พระมหากษัตริย์แห่งชาติ" และมี "วัฒนธรรมแห่งชาติ" ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นั่นคือ "วัฒนธรรมไทย" ที่จะช่วยจรรโลงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้มีความมั่นคงและยั่งยืนและ เอื้อให้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
"ความ เป็นไทย" ทางวัฒนธรรมที่ชนชั้นนำสร้างขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการตัดสินใจว่าจะเลือกสรรและจัดการอย่างไรกับวัฒนธรรมเดิมของ รัฐแบบราชาธิราชที่ตกทอดมา ในขณะที่วัฒนธรรมใหม่จากตะวันตกขยายอิทธิพลไปทั่วโลก ซึ่งปรากฏว่าชนชั้นนำได้เลือกที่จะรับเอาความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีจาก ตะวันตกเพื่อใช้เป็นกลไกอำนาจรัฐ และเพื่อช่วยยืนยันในความสำเร็จ(คือความเจริญของบ้านเมือง) อันเกิดจากการปกครองแบบไทย ขณะเดียวกันก็เลือกรักษา "วัฒนธรรมไทย" หรือ "ความเป็นไทยทางจิตใจ" เอาไว้ เพราะจะช่วยจรรโลงสังคมที่แบ่งคนออกเป็นลำดับชั้น ที่ "เจ้า" มีความชอบธรรมในการมีอำนาจเหนือคนชั้นอื่น ๆ ทั้งนี้โดยเลือกสรรบางส่วนจากศิลปะ พิธีกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมเท่าที่จำเป็น แล้วนิยามความหมายใหม่ พร้อมกับสร้าง "วัฒนธรรมใหม่" บางอย่าง แล้วทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ "ความเป็นไทย"
สาระสำคัญของวิธีคิดในกรอบมโนทัศน์"ชาติไทย"และ"ความเป็นไทย" ที่ชนชั้นนำในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สร้างขึ้น และปัญญาชนในยุคหลังทำการสืบทอดต่อมา ก็คือวิธีคิดที่ว่า "ความเป็นไทย" ทำให้"เมืองไทยนี้ดี" คือกอปรไปด้วยระเบียบ ความมั่นคง ความสงบสุข และความเจริญก้าวหน้า
หัวใจของ "ความเป็นไทย" ได้แก่ "พระมหากษัตริย์" และ "พุทธศาสนา" ซึ่งทั้งสองสถาบันได้รับการนิยามความหมายใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางการเมืองและทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ "พระมหากษัตริย์" มีความสำคัญเหนือ "พุทธศาสนา" นอกจากจะทรงเป็นผู้อุปถัมภ์"พุทธศาสนา" แล้ว "พุทธศาสนา" ยังได้รับการตีความใหม่และการจัดการใหม่เพื่อให้เป็นคุณประโยชน์ต่อ "ชาติไทย" ที่มี "พระมหากษัตริย์" ทรงเป็นผู้นำสูงสุด
จารึกหลักที่ 1 เป็นที่มาของมโนทัศน์ "ความเป็นไทย" ทำให้ "เมืองไทยนี้ดี" ไม่ว่าจารึกหลักนี้จะสร้างโดยใครและเมื่อใดก็ตาม แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ความคิดที่อยู่ในจารึกนี้ เป็นที่รับรู้แพร่หลาย และกลายเป็นมโนทัศน์ที่ปัญญาชนในยุคต่อมาจะใช้ในการสถาปนาความหมายของ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" นั่นคือความคิดที่ว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงทำการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทรงยึดมั่นในธรรมะของพุทธศาสนา ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ทรงรับรองกรรมสิทธิ์เอกชนและเปิดให้มีการค้าเสรี ทรงอำนวยความยุติธรรมแก่คนทุกชั้น ทรงดูแลและสั่งสอนให้ทุกคนประพฤติธรรม และทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาด้วยประการต่าง ๆ อันทำให้คนทุกชั้นมีศีลธรรม ส่งผลให้สังคมมีระเบียบ ความสงบสุข ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้า "การปกครองแบบไทย" จึงทำให้ "เมืองไทยนี้ดี"
มโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" ได้รับการสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการขยายความ ตีความใหม่ และปรับเปลี่ยนจุดเน้นและความหมายให้สอดคล้องกับบริบททางการเมือง-สังคม-วัฒนธรรมในหลายสมัย ทำให้มโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" ยังคงมีพลังและมีชีวิตชีวาอยู่เสมอ แม้ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงไปมากในระยะหลัง เพราะมโนทัศน์นี้กำหนดวิธีคิดของคนไทยตลอดมา คือเป็นกระบวนทัศน์ในการอธิบายปรากฏการณ์และปัญหาต่าง ๆ การหาทางออกจากปัญหา ตลอดจนการเลือกแนวทางพัฒนาประเทศด้วย
ในช่วงหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 จนถึงสิ้นสงครามโลก กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และหลวงวิจิตรวาทการได้พยายามปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ไปไม่น้อย แต่ในทศวรรษ 2490 เมื่อคณะราษฎร์หมดอำนาจ อุดมการณ์จากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ได้รับการเลือกสรรเพื่อนำมาปรับใช้ อย่างเข้มข้นอีกครั้ง ดังนั้น กรอบโครงหลักทางความคิดจึงดำรงอยู่อย่างมั่นคง แม้แต่อุดมการณ์ของฝ่ายซ้ายซึ่งท้าทายมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" ดังกล่าวอย่างรุนแรง ก็ไม่อาจเอาชนะได้
ชัยชนะของมโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" ตั้งแต่กลางทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา เกิดจากหลายปัจจัย แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสามารถของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ได้สร้างผลงานจำนวนมากเพื่อปรับเปลี่ยนความหมายของ"ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" ให้มีพลวัตอย่างสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รวมทั้งสามารถตอบโต้ความคิดแบบ "ซ้ายเก่า" และ "ซ้ายใหม่" ได้อย่างมีพลัง ทำให้ความหมายของ "ความเป็นไทย" แบบที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นิยาม มีพลังสูงในรัฐไทยและสังคมไทยตลอดมา
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประสบความสำเร็จในการทำให้คนไทยเชื่อว่า หัวใจของ "ความเป็นไทย" คือพระมหากษัตริย์และพุทธศาสนาทำให้เมืองไทยนี้ดี เพราะเป็นแหล่งที่มาของวัฒนธรรมไทยอันสูงส่ง ดีงาม เต็มไปด้วยคุณค่า ไม่ว่าจะเป็น วรรณคดีไทย ภาษาไทย ศิลปะไทย ศีลธรรมไทย มารยาทไทย การปกครองแบบไทย ฯลฯ ถึงแม้ว่าสังคมไทยจะมีการแบ่งชนชั้น แต่ก็มิได้แบ่งอย่างตายตัว และศีลธรรมของพุทธศาสนาส่งผลให้คนต่างชั้นกันมีความสัมพันธ์กันโดยปราศจากการกดขี่ ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เมตตา และรัฐไทยก็เป็นรัฐที่เมตตา
หลายทศวรรษที่ผ่านมา หากอ่านแบบเรียน หนังสือสารคดี หนังสือพิมพ์ คำให้สัมภาษณ์ของนักการเมือง ข้าราชการ (รวมทั้งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมคนใหม่) หรือฟังวิทยุ และดูโทรทัศน์ ก็จะเห็นความคิดที่มาจากมโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" อยู่เต็มไปหมด และมโนทัศน์นี้ยังนำไปสู่นโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมาย
ภาย ใต้อิทธิพลของมโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" ได้มีการสร้างความเหมือนกันในทางวัฒนธรรม คือให้ "กลายเป็นไทย" ทั้งประเทศ เช่น การเน้นการใช้หนังสือ รวมทั้งพระไตรปิฎกที่ส่วนกลางสร้างขึ้นในการเผยแผ่คำสอนของพุทธศาสนา เพื่อทำลายลักษณะเฉพาะถิ่นของพุทธศาสนา ซึ่งพระสงฆ์แต่ละท้องถิ่นเคยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดคำสอน และการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ
ดังนั้น นับแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา ธรรมะที่คนไทยทั่วประเทศ ทั้งพระสงฆ์และประชาชน ได้เรียนรู้โดยทางตรงหรือทางอ้อมก็คือ"ความจริงและความดี อันเกี่ยวกับชีวิต สังคม และโลก" จากมุมมองของพุทธศาสนาแบบโลกียธรรม ขณะเดียวกันก็มีการรื้อฟื้น "ความงาม" ของศิลปะไทยแบบจารีต มีการปลูกฝังภาษาไทยมาตรฐาน มีการสอนวรรณคดีไทยโดยยึดมาตรฐานที่วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้วางเอาไว้ มีการสอนมารยาทไทยในโรงเรียน ให้นักเรียนมีมารยาทแบบ "รู้ที่ต่ำที่สูง" เช่น การไหว้ การหมอบคลาน และการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมกับสถานภาพของบุคคล ฯลฯ กล่าวได้ว่ารัฐพยายามปลูกฝังให้คนทั่วประเทศรู้จัก "ความจริง ความดี และความงาม" แบบไทย ให้มองภาษาไทย วรรณคดีไทยและศิลปะไทยในเชิงสุนทรียศาสตร์จากมุมมองที่ "เห็นสวยเห็นงามแบบไทย" ฯลฯ
ทั้งนี้ รวมถึงการทำให้คนนิยม "การปกครองแบบไทย" ซึ่งฝากชตากรรมไว้ในมือของผู้นำที่เป็น "คนดี" จากความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ซึ่งทำให้ไม่ต้องมีการควบคุมตรวจสอบใด ๆ จากประชาชน ในการปกครองแบบไทยนี้ ไม่มีการเมือง ซึ่งทำให้ผู้นำไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเมือง สามารถเอาเวลาไปใช้ในการทำงานเพื่อบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้รัฐไทยมีสมรรถภาพสูง ดีกว่าจะปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งคนไทยยังไม่พร้อม เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังตกอยู่ใน "วัฏจักรโง่-จน-เจ็บ"
มโนทัศน์ "เมืองไทยนี้ดี" จึงครอบงำวิธีคิดของคนไทยอย่างแน่นหนา ว่าอะไรคือ "ความจริง ความดี และความงาม" ซึ่งนำไปสู่การสร้างความรู้และศิลปะจำนวนมาก ที่จรรโลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบรวมศูนย์ และจรรโลงสังคมที่แบ่งคนออกเป็นลำดับชั้น
ภาย ใต้อิทธิพลของมโนทัศน์เช่นนี้ ความแตกต่างทางความคิด ความรู้ และวัฒนธรรม จะเกิดขึ้นไม่ได้ และถ้าปล่อยให้เกิดขึ้นก็จะเป็นอันตรายต่อโครงสร้างรัฐและโครงสร้างสังคม ดังกล่าว ภายใต้ "การปกครองแบบไทย" ทุกคนควรมุ่งทำหน้าที่ของตนให้ดี "ไม่เอิบเอื้อมก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่น" แม้แต่คำว่า "เสรีภาพ" ก็ได้รับการตีความว่าเป็นเสรีภาพทางใจที่มีอยู่แล้วในพุทธศาสนา มิใช่เสรีภาพในความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ทุกคนเสมอภาคกัน เสรีภาพในความหมายแบบตะวันตกจะนำไปสู่ความวุ่นวายและทำลายความมั่นคงของชาติ
"ความเป็นไทย" ทั้งหลาย เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องยึดมั่นและรักษาไว้ตลอดไป ถ้ายึดมั่นและรักษา "ความเป็นไทย" เอาไว้ได้ เมืองไทยก็จะดีตลอดไป แต่ถ้าละทิ้ง "ความเป็นไทย" ก็จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่ปัญหาส่วนบุคคล เช่น "จน เครียด กินเหล้า" ไปจนถึงปัญหาสังคมและปัญหาระดับชาติ (เช่น ถ้าไม่รักในหลวง ก็จะไม่ร่วมกันต้านยาเสพติด ซึ่งจะทำให้ชาติขาดความมั่นคง เป็นต้น)
วิธีคิดความเป็นไทย ครอบงำวงวิชาการสังคมศาสตร์ละมนุษยศาสตร์ วิธีคิดข้างต้นนี้ ครอบงำวงวิชาการสังคมศาสตร์ละมนุษยศาสตร์อย่างเข้มข้น ในวงวิชาการสังคมศาสตร์ ความหมายของ "ความเป็นไทย" "การปกครองแบบไทย" และ"ประชาธิปไตย" ที่คึกฤทธิ์นิยาม มีอิทธิพลต่อวงวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ตลอดจนนิติศาสตร์เป็นอย่างมาก เช่น นักรัฐศาสตร์มองพัฒนาการทางการเมืองของไทย โดยเน้นบทบาทของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ที่ทรงพระเมตตาและทรงเห็นการณ์ไกล จึงทรงพยายามวางรากฐานประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คณะ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงกับยกย่องให้ปัญญาชนกระแสหลัก คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เป็น "เสาหลักของประชาธิปไตย" และหนังสือพิมพ์ก็ยังสืบทอดอัตลักษณ์นี้ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ แม้ในปัจจุบัน นักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ ยอมรับกฎหมายที่ "ผู้ปกครองแบบไทย" ประกาศใช้ และเน้นให้คนเคารพกฎหมายโดยไม่ต้องตั้งคำถามว่ากฎหมายนั้น "ยุติธรรม" หรือไม่ ซึ่งเท่ากับยอมรับหลักการที่ว่า "ผู้นำแบบไทย" เป็นที่มาของความยุติธรรม ไม่สนใจปัญหาสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง หรือสิทธิชุมชน และไม่ได้สอนให้นักศึกษากฎหมายตีความกฎหมายโดยคำนึงถึงมิติทางสังคมวัฒนธรรม นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ในหลายมหาวิทยาลัยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาใน หมวดการศึกษาทั่วไปและไม่ต้องให้ความสนใจความรู้ทางสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาในสมัยหนึ่ง ก็มองว่า "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" เช่นกันในแง่ที่สังคมไทยไม่มีการแบ่งชนชั้นอย่างตายตัว เพราะพุทธศาสนาทำให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ง่าย อันเป็นการมองที่สอดคล้องกับ "เอกลักษณ์ของสังคมไทย" ที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์สร้างขึ้น เพื่อตอบโต้การวิเคราะห์สังคมไทยของปัญญาชนฝ่ายซ้าย และเป็นมุมมองสังคมไทยที่สอดคล้องกับ "ทฤษฎีสังคมไทยมีโครงสร้างหลวม" ของนักวิชาการอเมริกันด้วย
เป็นไปได้ว่า การที่งานวิจัยด้านไทยศึกษาในวงวิชาการตะวันตก มีลักษณะดังที่ศาสตราจารย์เบนเนดิกส์ แอนเดอร์สันวิเคราะห์ในบทความ "ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา" นั้น เป็นเพราะนักวิชาการตะวันตกที่ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองไทย ได้รับอิทธิพลจากมโนทัศน์ "เมืองไทยนี้ดี" โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่นเดียวกับนักวิชาการไทย
อย่าง ไรก็ตาม วงวิชาการสังคมศาสตร์ของไทย หลุดพ้นจากกรอบมโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" (รวมทั้งมโนทัศน์ที่ว่าเมืองไทยจะพัฒนาประเทศได้ดีก็ต่อเมื่อ "ไม่มีการเมือง" ตามทฤษฎี "การปกครองแบบไทยไม่มีการเมือง") มานานพอสมควรแล้ว เพราะนักสังคมศาสตร์ศึกษาทฤษฎีตะวันตกที่พัฒนาไปไกลจากเดิมมาก และเมื่อศึกษาสังคมไทยก็ศึกษาเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์-ชนกลุ่มน้อย-คนด้อยโอกาส ฯลฯ ซึ่งทำให้มองเห็นปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และมองเห็นความขัดแย้งในสังคมได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศึกษาปรากฏการณ์และปัญหาร่วมสมัย ซึ่งความขัดแย้งหลายด้านได้ปะทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีความเปลี่ยนแปลงในวงวิชาการมากพอสมควร เนื่องจากวิธีคิดแบบฝ่ายซ้ายสั่นสะเทือนวิธีคิดในกรอบมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ"ความเป็นไทย" ของนักวิชาการเป็นอย่างมาก และ คำอธิบายปัญหาและปรากฏการณ์ทางสังคมในกรอบมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" เริ่มจืดชืด เพราะเมื่อกลายเป็นวิธีคิดของคนทั่วไปเสียแล้ว ใคร ๆ ก็อธิบายได้คล้าย ๆ กัน
ในจังหวะนี้เอง ที่เริ่มมีคำอธิบายความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทยจากนักวิชาการที่หลุดจากกรอบมโนทัศน์"ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" เช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอวิธีคิดใหม่ในการเข้าใจการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทั้งอดีตและปัจจุบัน ซึ่งอาจเรียกว่า "วิธีคิดที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับบริบท" ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม
อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ เริ่มเสนอ "วิธีคิดเชิงซ้อน" อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เสนอ "รัฐศาสตร์มนุษย์-รัฐศาสตร์ทวนกระแส" อาจารย์เกษียร เตชะพีระ อธิบายการเมืองจากแง่มุมการเมืองวัฒนธรรม อาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อธิบาย การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยพิจารณาความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมความคิดของกลุ่มสังคมตั้งแต่เจ้านายจนถึงราษฎร ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ ก็อธิบายความเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค ซึ่งอยู่นอกกรอบวิธีคิดเรื่อง "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" มาแต่แรก เช่น อาจารย์อัมมาร์ สยามวาลา อธิบายปัญหาในระบบเศรษฐกิจไทยโดยเห็นว่าทุนไม่มีสัญชาติ เป็นต้น อย่างไรก็ตามความรู้ที่ก้าวหน้าขึ้นนี้ เป็นที่รับรู้ในวงการมนุษยศาสตร์ค่อนข้างน้อย
เมื่อ มองเฉพาะเรื่องวัฒนธรรม ซึ่งนักมนุษยศาสตร์น่าจะมีความสนใจเป็นพิเศษ แต่นักมนุษยศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงมองวัฒนธรรมในความหมายของแบบแผนการดำเนิน ชีวิตที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง มองเห็นการรู้ที่ต่ำที่สูงเป็นเรื่องดี กลัวที่จะคิดเรื่องอำนาจ แม้ว่านักมานุษยวิทยาจะมองวัฒนธรรมในความหมายอื่นมานานแล้ว และงานของอาจารย์นิธิ ก็วิเคราะห์และอธิบายวัฒนธรรมไทยนอกกรอบมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" มาตั้งแต่ทศวรรษ 2520 คือมองวัฒนธรรมว่าหมายถึงระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับอำนาจ และ"อำนาจที่ซึมลึกที่สุดก็คืออำนาจที่มาจากการนิยามความหมาย"
แต่วิชามนุษยศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการนิยามความหมาย หรือการตีความ กลับหวั่นกลัวที่จะคิดเรื่องอำนาจ แต่อยากให้มนุษยศาสตร์และ "ความเป็นมนุษย์" มีแต่ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีเรื่องอำนาจมาแปดเปื้อน โดยหารู้ไม่ว่ามนุษยศาสตร์เป็นตัวแทนของ "soft power" ที่ซึมลึกและน่ากลัวยิ่งกว่า "hard power" เสียอีก เพราะกำหนดและควบคุมชีวิตผู้คนและสังคมมากกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
กล่าวได้ว่าวงวิชาการมนุษยศาสตร์ ถูกมโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" ครอบงำแน่นหนาและยาวนานกว่าวงวิชาการสังคมศาสตร์เป็นอันมาก และตราบจนกระทั่งปัจจุบัน นักมนุษยศาสตร์ส่วนใหญ่ก็ยังคงสร้างความรู้ด้วยวิธีคิดที่มาจากมโนทัศน์ดังกล่าวนี้
"ความเป็นไทย"กระแสหลัก กับ "วิกฤตมนุษยศาสตร์" หลายทศวรรษที่ผ่านมา การวิจัยและการสอนวิชาด้านมนุษยศาสตร์ เช่น ภาษาไทย วรรณคดีไทย ประวัติศาสตร์ไทย ปรัชญาความคิดไทย ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิธีคิด "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" อย่างเห็นได้ชัด เพราะการสร้างความรู้ทางมนุษยศาสตร์ส่วนใหญ่แล้วยังคงเป็นไปเพื่อค้นหา "ความจริง ความดี ความงาม" ที่มีอยู่ในศิลปะและวัฒนธรรมไทย ตามมุมมองของปัญญาชนกระแสหลัก และยึดเอาปัญญาชนกระแสหลักเป็นปรมาจารย์
ในปัจจุบันนักมนุษยศาสตร์เริ่มพูดว่าสังคมมีปัญหาเพราะคนเราแข็งกระด้าง เนื่องจาก "เราคิดมากเกินไป และรู้สึกน้อยเกินไป" และที่เรารู้สึกน้อยก็เพราะสังคมของเรามองไม่เห็นคุณค่าของมนุษยศาสตร์ ข้อความข้างต้นนี้อาจนำมาดัดแปลงเสียใหม่ว่า วิธีคิดในกรอบมโนทัศน์ "ความเป็นไทยทำให้เมืองไทยนี้ดี" ทำให้นักมนุษยศาสตร์ไทย "คิดน้อยเกินไปและรู้สึกน้อยเกินไปด้วย" ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
๑. มโนทัศน์ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" ไม่เพียงแต่ทำให้เกิด "มนุษยศาสตร์ต้องห้าม" คือห้ามศึกษาเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่าคือทำให้เกิด "มนุษยศาสตร์ไร้จินตนาการ" ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งกว่า "มนุษยศาสตร์ต้องห้าม" เสียอีก เพราะถ้าเรารู้ว่าเขาห้ามก็หมายความว่าเรารู้ว่าเรื่องนั้นมีอยู่ ซึ่งเราสามารถฝ่าฝืนได้-ถ้ามีความกล้าหาญ แต่การครอบงำของมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" ทำให้เราไม่สามารถจินตนาการไปสู่เรื่องต่าง ๆ จำนวนมาก ที่มีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น
"มนุษยศาสตร์ไร้จินตนาการ" ทำให้นักมนุษยศาสตร์ไม่เกิดคำถาม และไม่ตระหนักว่าจะต้องหาทางเข้าใจหรือหาคำตอบ เช่น นักมนุษยศาสตร์ไม่สนใจว่าอะไรคือ "ความจริง ความดี ความงาม" ตามทัศนะของคนหลายกลุ่มที่อยู่ในประเทศเดียวกับเรา แต่เราไม่ถือว่าคนเหล่านั้นเป็น "คนไทย" เป็นต้นว่า ชาวมลายูมุสลิมในภาคใต้มอง "ความงาม" อย่างไร ชาวกระเหรี่ยง ชาวม้ง ชาวเย้า ฯลฯ คิดและรู้สึกอย่างไรในเรื่อง "ความจริง" และ "ความดี"
คนยากจนในที่ต่าง ๆ มีความรู้สึกอย่างไรต่อความยากจนของตนเอง และความร่ำรวยของคนจำนวนเพียงหยิบมือเดียว (ซึ่งเป็น "ความจริง" ที่เขาเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน) ฯลฯ นักมนุษยศาสตร์ (และนักสังคมศาสตร์บางท่าน) กลับสนใจ "คนไต" หรือ "คนไท" นอกประเทศมากกว่า เพราะคิดว่าเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันกับคนไทยปัจจุบัน อันเป็นอิทธิพลจากการนิยาม "ชาติไทย" ตามคติเชื้อชาตินิยม
นักมนุษยศาสตร์ไม่ตระหนักว่า ความรู้ที่ตนสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางอำนาจที่บีบบังคับให้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในรัฐไทย ต้องเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ "ความจริง ความดี ความงาม" ที่พวกเขาเคยมีอยู่ หันมามอง "ความจริง ความดี ความงาม" จากมุมมอง "แบบไทย" หากใครไม่ต้องการเปลี่ยนหรือไม่สามารถที่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมมาอยู่ในกรอบของ "ความเป็นไทย" ได้ เขาก็จะถูกพิจารณาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง หรืออย่างน้อยก็ได้รับการดูถูกเหยียดหยาม
๒. อำนาจรัฐที่รวมศูนย์ รวมทั้ง "พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์" ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน ทำให้จินตนาการ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" เป็นแหล่งที่มาของจินตนาการเกี่ยวกับ "สังคมและวัฒนธรรมไทย" ของคนไทย. คนไทยไม่ได้จินตนาการ "สังคมไทย" ที่แยกออกมาจาก "ชาติไทย" และความหมายของ "วัฒนธรรมไทย" ก็ผูกติดกับ "ความเป็นไทย" ที่ปัญญาชนนิยาม
เช่น "วัฒนธรรมไทย" ได้แก่ การใช้ราชาศัพท์อย่างถูกต้อง การนับถือพุทธศาสนาแบบทางการ การพูดและเขียนภาษาไทยที่ถูกต้องตามมาตรฐาน การยึดมั่นในมารยาทไทย เช่น การกราบ การไหว้ การหมอบคลานอย่างถูกต้องตามแบบแผน เป็นต้น
ดัง นั้น เมื่อมโนทัศน์ "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" ได้รับการสืบทอดโดยแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงในกรอบความคิดหลัก จินตนาการ "สังคมและวัฒนธรรมไทย" จึงพลอยหยุดนิ่งตามไปด้วย โดยเฉพาะในหมู่นักมนุษยศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ไม่สนใจอ่านผลงานของนักสังคมศาสตร์ และไม่อ่านประวัติศาสตร์ของอาจารย์นิธิ หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็จะไม่สามารถจะเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ความหลากหลาย และความซับซ้อนของสังคมและวัฒนธรรมไทยได้ ทำให้ใช้จินตภาพ"สังคมและวัฒนธรรมไทย"กระแสหลัก มาเป็นฐานในการอธิบายหรือการวิจารณ์ศิลปะและวรรณกรรมไทย
ในการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ไทย วรรณกรรมไทย และปรัชญาความคิดของไทยนั้น หากปราศจากความเข้าใจอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ในความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลายและซับซ้อนของสังคมและวัฒนธรรมไทยแล้ว ก็ยากที่จะศึกษาให้เข้าใจอย่างลุ่มลึกได้
แม้แต่คำว่า "วัฒนธรรม" นักมนุษยศาสตร์จำนวนไม่น้อยก็ยังมองในความหมายที่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงบัญญัติเอาไว้ คือหมายถึงสิ่งที่แสดงความเจริญงอกงาม สิ่งเจริญตาเจริญใจ หรือ"ภูมิธรรมแห่งความเจริญงอกงาม" เมื่อนักมนุษยศาสตร์มอง "วัฒนธรรม" ในความหมายเช่นนี้ ก็ย่อมจะมีอคติว่าชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีวัฒนธรรม และเชื่อว่าศิลปะและวัฒนธรรมของชนชั้นสูงเป็นตัวแทนของศิลปะและวัฒนธรรมไทยอันดีเลิศของไทย แต่ชาวบ้านนั้นไม่มีศิลปะและวัฒนธรรม ส่งผลให้มีนักมนุษยศาสตร์น้อยคนที่สนใจศึกษาศิลปะ ปรัชญา และวัฒนธรรมของชาวบ้าน
๓. "ความเป็นไทย" กับ "ความเป็นสากล" ดูเผิน ๆ จะขัดแย้งกัน แต่ในวงวิชาการมนุษยศาสตร์กลับไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะสิ่งที่นักมนุษยศาสตร์พยายามจะพิสูจน์ ก็คือ "ความเป็นไทย" ที่แสดงออกในปรัชญา วรรณคดี ภาษา ศาสนา ฯลฯ ของไทย มีลักษณะและคุณค่าที่เป็น "สากล" การศึกษาปรัชญา วรรณคดี ภาษา ศาสนา และประวัติศาสตร์ ฯลฯ ของชาติอื่น ก็เพื่อจะภูมิใจใน "ความเป็นไทย" ได้มากขึ้น เพราะของไทยก็มีดีเทียบได้กับชาติอื่น หรือมีดียิ่งกว่าชาติอื่นเสียอีก
วิธีคิดเช่นนี้ ปรากฏในผลงานของปัญญาชนไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา และมีผลอย่างมากต่อการนิยาม "ความเป็นไทย" ในรัชกาลที่ 6 กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเผชิญปัญหาเรื่อง "คนสมัยใหม่" ที่มักคิดว่าชาติตะวันตกมีอะไรดีกว่าไทยมาก รวมทั้งเชื่อในความคิดแบบตะวันตกว่า ชาติที่ถือว่าเจริญนั้น "ต้องมีอิสรภาพแก่บุคคลทุกคนโดยบริบูรณ์" ซึ่งเป็นความเชื่อที่เป็นอันตรายต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระองค์จึงทรงยืนยันอยู่เสมอว่า "เมืองไทยนี้ดี" มาแต่โบราณ และภายใต้การปกครองของพระองค์นั้น "ชาติไทย" ดียิ่งกว่าเดิม ทรงชี้ให้เห็นว่า "ความเป็นไทย" ทั้งหลายนั้น แม้ว่าจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ก็มี "วิญญาณ" หรือ"ภูมิธรรม" ที่เป็นสากล และ "ประเพณีประพฤติธรรมจรรยาอย่างแบบไทย" นั้น ไม่ต่างจากของฝรั่ง "เพราะหลักแห่งธรรมย่อมเหมือนกันหมดทั้งโลก"
ภูมิธรรมบางอย่างของไทยยังเหนือกว่าชาติตะวันตกเสียอีก เช่น พุทธศาสนาซึ่ง"เป็นของไทย" นั้น "เป็นศาสนาที่ควรผู้มีสติปัญญาจะนับถือยิ่งกว่าศาสนาอื่น ๆ ...นำเอาแต่ความที่เป็นจริง, ที่รู้จริง, ที่เห็นจริงมาแสดง... พระพุทธเจ้าของเราได้เป็นผู้มีกำเนิดดี สมควรเป็นที่นับถือของเราทั้งหลาย..."
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเน้นด้วยว่า "ความเห็นของข้าพเจ้านั้น มีหลักที่อ้างได้ในพวกนักปราชญ์ ทั้งในทางรัฐศาสตร์และในทางกฎหมายที่เลื่องลือที่สุดในยุโรป" และหลักการที่ทรงเสนอนั้น "ปราชญ์ทุกชาติย่อมยกย่อง"
ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475 วิธีคิดที่ว่า ใน "ความเป็นไทย" มีอะไรดีเท่ากับ "สากล" หรือดียิ่งกว่า ยังคงได้รับการสืบทอดอย่างเข้มข้น เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เน้นอยู่เสมอว่า ประชาธิปไตยและเสรีภาพซึ่งมีอยู่แล้วในพุทธศาสนาของไทยนั้นดีกว่าของตะวันตก เพราะระบอบประชาธิปไตยตะวันตกนั้น ผู้นำมักจะไม่สามารถกระทำในสิ่งที่เห็นสมควรเนื่องจากกลัวเสียคะแนนเสียง และเสรีภาพแบบตะวันตกก็ทำให้คนโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ในบางกรณีก็ทำให้สังคมปั่นป่วนวุ่นวาย
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เน้นว่า "ชาติไทย" เป็นชาติที่น่าภาคภูมิใจ เพราะสามารถ"รักษาขนบประเพณีตลอดจนศิลปวิทยาการของตนตั้งแต่โบราณเอาไว้ได้จนถึงวันนี้" และการที่ "คนไทยรักษาเอกราชไว้ได้ตลอดมา" ก็ทำให้ "วัฒนธรรม วรรณคดี ตลอดจนศิลปะทุกแขนง จึงมีแต่พัฒนาการมาตามแบบไทย..." ซึ่งน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ในนวนิยาย สี่แผ่นดิน นั้น เมื่อลูกชายของแม่พลอยไปเรียนต่อในยุโรป "มารยาทไทย" ที่แม่พลอยอบรมสั่งสอนก็ช่วยให้เข้าสังคมฝรั่งได้โดยไม่เคอะเขิน
วิธีคิดว่า ใน "ความเป็นไทย" มีอะไรดีเท่ากับ "สากล" นี้ ไม่เคยหายไปจากวงการมนุษยศาสตร์เลย มีความพยายามจะเปรียบเทียบให้เห็นความคล้ายคลึงระหว่าง วรรณกรรมไทยกับวรรณกรรมตะวันตก ในแง่ต่างๆ อยู่เนือง ๆ เพื่อที่จะภาคภูมใจใน "ความเป็นไทย"
การที่วงการศึกษาวรรณคดีหรือวรรณกรรมไทยและภาษาไทย สร้างความรู้ภายใต้วิธีคิด "เมืองไทยนี้ดี" ตลอดมา ยังทำให้การศึกษาเชิงสุนทรียศาสตร์หรือ "สุนทรียภาพ" เป็นการศึกษากระแสหลักสืบมาจนถึงปัจจุบัน เพราะการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมในเชิงสุนทรียศาสตร์ ทำให้เห็นความสูงส่งหรือเห็นคุณค่าของผลงานทางวรรณคดีและศิลปะของไทย ที่ช่วยยืนยันว่า "เมืองไทยนี้ดี" รวมทั้งช่วยให้เทิดทูนพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีอันสูงค่าไว้ให้คนไทยด้วย ส่วนการศึกษาวรรณกรรมไทยร่วมสมัยในแนวสุนทรียศาสตร์ ก็ช่วยยืนยันให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า การสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์ของไทยที่เคยรุ่งเรืองมาแต่โบราณนั้น ยังคงรุ่งเรืองอยู่ในปัจจุบัน เราจึงยังคงภูมิใจได้ว่า "เมืองไทยนี้ดี"
ใน พ.ศ.2530 ไพฑูรย์ ธัญญา เคยวิจารณ์ว่า "สายตาของนักวิชาการทางภาษาที่มาจากอักษรศาสตร์ ส่วนมากก็มักจะมองในเชิงสุนทรีย์กันมากกว่า แต่ถ้ามาจากสาขาอื่น การมองก็จะแตกต่างออกไป" แต่นักมนุษยศาสตร์ก็มีความพยายามจะชี้แจงความหมายและคุณค่าของการศึกษาในแนวนี้ เพื่อให้สามารถศึกษาในแนวสุนทรียศาสตร์ได้อย่างมั่นใจต่อไป เช่น มีการให้ความหมายการศึกษาเชิงสุนทรียศาสตร์ หรือที่เรียกว่า "สุนทรียภาพ" ให้กว้างกว่าการศึกษาองค์ประกอบทางวรรณศิลป์หรือภาษา รูปแบบ หรือกลวิธีการเขียน แต่ให้ครอบคลุม "พลังทางศิลปะ" ที่มีประสิทธิผลในการสื่อสาร หรือเน้นว่าเป็นการศึกษา "ความหมายทั้งหมดของบทประพันธ์ (หรือศิลปะ) ว่าเป็นผลมาจากส่วนประกอบย่อยอย่างไรบ้าง" ซึ่งทำให้ "การศึกษาสุนทรียภาพ...เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นทั้งอารมณ์และปัญญาผู้อ่าน"
อย่างไรก็ตาม "อารมณ์และปัญญา" ประการหนึ่งที่เกิดจากการศึกษาวรรณคดีและภาษาไทยในแนวสุนทรียศาสตร์ ก็น่าจะได้แก่ความรักใน "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย" อย่างซาบซึ้งยิ่งขึ้น แต่คงไม่ช่วยกระตุ้นอารมณ์และปัญญาที่จะเข้าใจชีวิต ตลอดจนความนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่เท่าใดนัก
ตัวอย่างของการวิเคราะห์ศิลปะและวัฒนธรรมของไทย อันมาจากความรักและภาคภูมิใจใ