บทความ
ตำนานการบิน
ตอนที่1 ยานเหาะสมัยโบราณ
เป็นตำนานเล่าขานของอารยธรรมครั้งอดีตกาล ใช้สนับสนุนสมมุติฐานนี้ เช่น เรื่อง รามายณะของอินเดีย อธิบายว่า ยานเหาะในครั้งนั้นมีขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ชั้น มีหน้าต่าง หลังคาเป็นโคมยอดแหลม บินได้ด้วยความเร็วลม ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ควบคุม เดินทางไปในท้องฟ้าหรือหยุดนิ่งในอากาศได้
บันทึกได้กล่าวต่อว่า ยานเหาะนี้โผบินไปเหนือเมฆ มองเห็นทะเลดูคล้ายบ่อน้ำเล็กๆ กษัตริย์ใช้ในยามสงคราม และเป็นเครื่องเล่นในหมู่ชนชั้นสูง
เรื่องราวในประเทศจีน 1766 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิเฉินกัว โปรดให้ ไคคุง ชี สร้างยานเหาะสำหรับใช้เดินทางไปยังเมืองเหอหนาน ต่อมาทรงรับสั่งให้ทำลายยานดังกล่าว ความลับเรื่องกลไกยานเหาะจึงไม่ไปถึงมือศัตรู
ข้อพิสูจน์ที่น่าคิดมีอยู่ว่า คำศัพท์ภาษาจีนอันหมายถึงยานเหาะ คือ เฟยจี = ยานเหาะ นั้นชาวจีนไม่ได้สร้างคำใหม่ เครื่องบิน หรือ Aero plane เป็นคำที่ปรากฏใช้เมื่อต้นศตวรรษนี้
ตอนที่ 2 ยุคการบินจากมโนภาพ
กล่าวกันว่า อารยธรรมโบราณส่วนหนึ่งได้สลายไปครั้งน้ำท่วมโลก 3000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนที่เหลืออยู่ได้แสวงหาความรู้ด้ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นประโยชน์และโทษเรื่อยมา สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่างๆสามารถเชื่อมโยงปัญหาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าหากัน การใช้ความเข้าใจบวกกับมโนภาพชั่วแล่น นำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อโลก
ในยุคนี้ มนุษย์ฝันอยากบินเหมือนนก เทพนิยายโบราณของกรีกกล่าวถึงมนุษย์นก ไคดาลัสและ อิคาลัส นำขนนกขนาดใหญ่ทาขี้ผึ้งติดกับแขน เทพนิยายของไทยก็มีเรื่อง กินรี เป็นชนเผ่าหนึ่งอาศัยป่าหิมพานในกรุงไกรลาศ ต่อมาได้สูญพันธ์เพราะพราน บูน จับตัวไปถวายพระราชา
ตอนที่ 3 ผู้สร้างแนวความคิดของการบิน
ใน ค.ศ.1497 (พ.ศ. 2040) มีผู้พบแผ่นกระจกจำหลักลายภาพเป็นโครงปีกค้างคาว มีร่างคนกำลังสวมใส่และมีสายรัดตัว ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นยานเหาะรูปชามอ่าง มีกลไกบังคับบินได้ด้วยมือและเท้า อื่นๆอีกหลายสิบภาพรวมถึงภาพหนึ่งแสดงจานบินชนิดขยับปีกด้วยกลไกพลังของมนุษย์ ผู้สร้างภาพเหล่านี้คือ ลีโอนาโด ดาวินชี ของอิตาลี แนวความคิดของท่านคือ การสร้างพื้นฐานความรู้ด้าน ศาสตร์ และศิลป์ ให้กับเราใช้เป็นแนวความคิดในเชิงวิศวกรรมศาสตร์ต่อๆมา
ตัวท่านผู้นี้เป็นนักปรัชญาและนักเขียนภาพจากธรรมชาติ แต่ท่านใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหางเสือเรือและเข็มทิศ ประกอบวิชาการที่หาได้ใช้นำทางท่องเที่ยวสู่แดนซึ่งไม่มีผู้ใดรู้จัก
มีผู้พบเห็นบันทึกของท่านเขียนไว้ว่า ------ ถ้ามนุษย์จะบินได้รูปร่างของยานพาหนะนั้นควรมีลักษณะอย่างไร? -------และ เครื่องมือชนิดใดที่ต้องคิดขึ้นมาเพื่อใช้สร้างตัวพาหนะที่ทำให้เราบินได้ ------ ท้ายของบันทึกได้สรุปว่า ------- ผู้อุทศตนไปในทางสร้างสรรค์ หากขาดความรอบรู้ของพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ก็เปรียบเสมือนกะลาสีเรือใช้เรือไม่มีหางเสือและเข็มทิศ ซึ่งจะไม่มีโอกาสได้รู้ว่า เขากำลังแล่นเรือไปไหน-----
วัยชีวิตในงานของท่านอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1452-1519 (ประมาณ พ.ศ.1995-2062) อย่างไรก็ตาม ความคิดจากมโนภาพครั้งนี้ถูกต่อต้านโดย ติโต ติซีเนลลี ในปี ค.ศ. 1613 (พ.ศ.2156) ซึ่งอ้างว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะบินได้ด้วยเครื่องจักรกล มีคำกล่าวโต้แย้งดังนี้
-----ข้าพเจ้าตัดสินใจโต้แย้งเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์ในอนาคตจะเหาะได้ด้วยเครื่องจักรกลโดยการนำกลุ่มวัตถุนั้นมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นยานเหาะและมีคนเข้าไปอยู่ข้างในจะเหินขึ้นฟ้าได้ ข้าพเจ้าไม่ใช่คนดื้อดึง แต่ขอให้ความเห็นว่า ไม่มีผู้อ่านคนใดจะรับความเห็นนี้ของ ลีโอนาโด ดาวินชี ได้----
ผู้ต่อต้านเรื่องการบินของมนุษย์ยังมีอีก ในผี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) ศ.ไซมอน นิวคอมบ์ นักดาราศาสตร์ชาวสหรัฐ ได้โต้แย้งว่าเครื่องจักรกลหนักกว่าอากาศนั้นเป็นไปไม่ได้ ทำให้มีผู้คิดยานบินเบากว่าอากาศออกมาอีกกลุ่มหนึ่ง
ตอนที่ 4 และ 5 เบากว่าอากาศ VS หนักกว่าอากาศ
ประวัติศาสตร์การบินได้บันทึกไว้ว่า เมื่อศตวรรษที่ 13 บาทหลวงชื่อ Roger Bacon นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ชี้ทางนำไปสู่การใช้บอลลูนและเรือเหาะอันเป็นยานบินเบากว่าอากาศเป็นครั้งแรก โดยเอกสารดังกล่าวได้มีผู้นำไปลงพิมพ์เผยแพร่ในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ.1542 (ประมาณ พ.ศ.2085) คือหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว 250 ปี ได้อธิบายลักษณะจำเพาะของยานบินนี้ว่า ----มีรูปทรงกลมโลหะบางเบา ภายในบรรจุด้วย ETHEREAL AIR ----ซึ่งต่อมา John Wilkinsได้สนับสนุนหลักการนี้โดยอธิบายว่า ----บรรยากาศโลกเบื้องบนเป็นสุญญากาศ เบื้องล่างมีความหนาแน่น หากจะนำอากาศเบื้องบนมาใส่ในที่บรรจุก็จะลอยตัวได้
เรามาดูกันว่า การแข่งขันระหว่าง เบา กับ หนัก ใครชนะ !!!
เบา ค.ศ.1650 (พ.ศ.2193) Otto Von Guericke ประดิษฐ์เครื่องปั๊มลมสำเร็จ ทำให้ Francesco De Lana-Terzi เกิดแนวความคิดใช้ลูกกลมโลหะทองแดง 4 ลูก ภายในเป็นสุญญากาศ เป็นการทำยุคเรือเหาะเบากว่าอากาศครั้งแรกให้เป็นความจริงเมื่อ ค.ศ.1670 (พ.ศ.2213)
หนัก ในศตวรรษเดียวกัน เซอร์ไฮราม แมคซิม ได้อาศัยพื้นฐานจากมโนภาพการบินของลีโอนาโด ดาวินซี มาประกอบการศึกษาเรื่องปีกนกและตั้งคำถามว่า ถ้าจะบินได้ ปีกอย่างไหนระหว่างปีกตรึง (Fixed Wing) และปีกขยับ(Flapping Wing) จะเหมาะสมกว่ากัน? และจะบังคับอาการเคลื่อนไหวขณะบินอยู่ในอากาศได้อย่างไร
ระหว่างที่ยังหาหนทางเลือกไม่ได้ ปรากฏว่า Lourenco De GusmÄoชาวโปรตุเกส ได้ออกแบบนกยักษ์ชื่อ PASSARDA ในลักษณะเครื่องร่อนทดลองที่กรุงลิสบอน เมื่อค.ศ.1709(พ.ศ.2252) แต่ยังทำไม่สำเร็จ และแนวความคิดครั้งนี้ เป็นแนวทางแยกเพื่อชี้นำหนทางเลือกได้อีกทางหนึ่ง
แนวความคิดเรื่องเรือเหาะยังเดินต่อ เมื่อค.ศ.1781 Jean-Pierre Blanchard แสดงภาพเรือเหาะใช้ใบพาย 6 ใบ มีคนบังคับทิศทาง นับเป็นต้นแบบแนวความคิดของบอลลูนต่อมา
ความฝันของบอลลูนเป็นจริงเมื่อ พี่น้องชาวฝรั่งเศสตระกูล MONTGOLFIER สร้าง HOT-AIR บอลลูนลอยขึ้นสู่อากาศ เมื่อ 19 กันยายน ค.ศ.1783 (พ.ศ.2326) ผู้โดยสารคือ เป็ด,ไก่,แกะ จำนวนหนึ่ง และเมื่อ 21 พ.ย. ต่อมาปีเดียวกัน JEAN FRANCOLS และ PILÂTRE DE ROZIER ได้นำคนขึ้น HOT-AIR ลอยตัวในอากาศสำเร็จเป็นครั้งแรก
บอลลูนลอยได้แล้วแต่ยังเคลื่อนไหวและบังคับทิศทางไม่ได้ ต่อมาปี ค.ศ.1793(พ.ศ.2336) MEUSNIER วิศวกรของกองทัพบกฝรั่งเศสตายในสนามรบ ผลงานของเขามีผู้ค้นพบแผนแบบบอลลูนขนาดยาว 260 ฟุต ขับเคลื่อนด้วยแรงคนหมุนใบพัด 3 ชุดขนานกัน บังคับทิศทางได้ และ SIR GEORGE CAYLEY ได้ให้แนวความคิดขั้นต่อมาโดยใช้เครื่องยนต์ไอน้ำขับใบพัดและใช้หางเสือบังคับทิศทาง อันเป็นการเปิดทางนำแนวความคิดใช้เครื่องจักรกลมาร่วมกับการบินตามแนวความคิดของ ลีโอนาโด ดาวินซี ซึ่งทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์โดย PIERRE JULLIEN สร้างเรือเหาะหมุนใบพัดด้วยลานนาฬิกาขนาดย่อส่วย และต่อมา HENRI GIFFARD จึงสร้างขนาดเท่าของจริง โดยใช้เครื่องยนต์ไอน้ำขนาด 3 แรงม้า บินระหว่าง PARIS_TRAPPES สำเร็จเมื่อ ค.ศ.1852(พ.ศ.2395) ทำความเร็วเดินทางได้ 6 ไมล์ต่อชั่วโมง
หนัก ยานบิน เบา-หนัก มาถึงทางเลือกโดย SIR GEORGE CAYLEY เมื่อเขาเป็นผู้เสนอแนวความคิดเรื่องยานบินอย่างกว้างขวาง ในปี ค.ศ.1796(พ.ศ.2339) มีทั้งบอลลูน เครื่องร่อน เครื่องบินปีกตรึง และปีกหมุน ผลงานนี้เขียนเป็นภาพสเก็ตจำหลักลงบนจานเงิน นอกจากนี้บังมีภาพแสดงผลงานวิจัยการทดลองยานบินหนักกว่าอากาศ แนะนำวิธีวัดค่าของแรงยกปีกโดยการชดเชยแรงยกที่เกิดขึ้นด้วยตุ้มน้ำหนัก และพร้อมกับแนะนำวิธีปรับมุมปะทะปีกด้วย
ในปี ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400) JEAN-MARIE LE BRIS สร้างเครื่องร่อน รูปร่างคล้ายนกทะเล ALBRATROS ตามแนวความคิดของการค้นพบการบินร่อนได้นานของนกอัลบราทรอส โดย เซอร์ไฮราม แมคซิม เครื่องร่อนของเขาส่งขึ้นอากาศโดยใช้รถเทียมม้าสำหรับลากจูงวิ่งขึ้น แต่ยังบินไปได้ไม่ไกลนัก
ในปี ค.ศ.1874(พ.ศ.2427) FÉLIX DU TEMPLE สร้างเครื่องบินโดยใช้เครื่องยนต์ชนิด HOT-AIR แนวความคิดนี้นับเป็นต้นแบบของยานบินหนักกว่าอากาศ ชนิดใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซลีนโดยมีนักบินบังคับเป็นครั้งแรก แต่มีน้ำหนักมากยังบินไม่ได้
เบา อนาคตของเรือเหาะเริ่มสดใสเมื่อ RENARD &KRABS หันมาใช้พลังขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1884(พ.ศ.2427) ทำความเร็วได้ 14.5 ไมล์ต่อชั่วโมง และบังคับทิศทางได้
ในระหว่างนี้ เริ่มมีเครื่องยนต์แก๊สโซลีนใช้แล้ว GRAF FERDINAND VON ZEPPELIN ชาวเยอรมัน ได้สร้างเรือเหาะยาว 770 ฟุต บรรทุกผู้โดยสาร 24 คน ทำความเร็วได้ 68 ไมล์ต่อชั่วโมง บินเส้นทางเยอรมัน-อเมริกาใต้
ต่อมาในปี ค.ศ.1898(พ.ศ.2441) ALBERTO SANTOS-DUMONT ชาวบราซิล ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนติดตั้งกับเรือเหาะ ประกาศเป็นความสำเร็จเมื่อ 19 ต.ค. ค.ศ.1901 (พ.ศ.2443) สร้างใช้งาน 14 ลำ
หนัก ค.ศ.1884 (พ.ศ.2427) ALEXANDER MOZHAISKY สร้างเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ เป็นเครื่องยนต์ไอน้ำกำลังเครื่องละ 30 แรงม้า เครื่องมีน้ำหนักเกือบ 1000 กิโลกรัม ขึ้นสู่อากาศได้เล็กน้อยแล้วก็ตก
ต่อมา ค.ศ.1896(พ.ศ.2439) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน OTTO LILIENTHAL สร้างเครื่องร่อนขึ้นทดลองด้วยมนุษย์ เพื่อพิสูจน์ว่า มนุษย์สามารถบินได้ด้วยยานบินหนักกว่าอากาศ การทดลองกระทำกว่า 2000 เที่ยวบิน ครั้งสุดท้ายเขาตัดสินใจใส่เครื่องยนต์เป็นกำลังขับเคลื่อน ในที่สุดเครื่องตกเขาเสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 48 ปี
เบา ในที่สุดแระเทศซึ่งเข้าสู้กับงานการพัฒนาเรือเหาะก็จะเหลืออยู่เพียง อิตาลี,อังกฤษ,ฝรั่งเศส และ เยอรมัน แต่ละประเทศมีผลงานดังนี้
-อิตาลี ค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) สร้างเรือเหาะ M-1 2 เครื่องยนต์กำลังขับเครื่องละ 250 แรงม้า ยาว 83 เมตร ลำตัวโต 17 เมตร ออกบินได้สำเร็จ
-เยอรมัน ค.ศ.1914(พ.ศ.2457) สร้าง ZEPPELIN L3ใช้เครื่องยนต์ 200 แรงม้า ลำตัวยาว 158 เมตร โต 14.9 เมตร สำเร็จ
-อังกฤษ ค.ศ.1915(พ.ศ.2458) สร้าง SS-3 ใช้เครื่องยนต์เรโนล 70 แรงม้า ยาว 43.7 เมตร โต 8.5 เมตร สำเร็จ
*ทั้งอังกฤษและเยอรมันมีผลงานสร้างออกมาต่อเนื่องขนาดใหญ่ขึ้น การพัฒนาเรือเหาะมายุติลงเมื่อเรือเหาะของเยอรมันเกิดอัปปางในสหรัฐโดยไม่ทราบสาเหตุ ข้อเสียของเรือเหาะก็มีมาก
หนัก ปีแห่งความสำเร็จของยานบินหนักกว่าอากาศ เริ่มในปี ค.ศ.1902(พ.ศ.2445) โดยพี่น้องตระกูล WRIGHT ได้ศึกษาข้อมูลของ LILIENTHAL และของ MATTHEN BOULTON ชาวอังกฤษ พบว่าการควบคุมการเคลื่อนไหวของเครื่องร่อนใช้การเบี่ยงตัว แต่ของ BOULTON ใช้ WARPPING ทำให้การบังคับบินคล่องตัว ดังนั้น ในปี ค.ศ.1903(พ.ศ.2446) WRIGHT ได้สร้างเครื่องร่อนปีก 2 ชั้น ออกทดลองในลักษณะเป็นว่าวขนาดเล็กไม่มีคนบิน
ต่อมาเครื่องที่ 2 มีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมกับใส่พื้นบังคับเรียกว่า ELEVATOR ยื่นออกไปข้างหน้า และติดตั้ง RUDDER อยู่ส่วนท้ายเป็นเครื่องที่ 3 ผ่านการทดลองกว่า 100 ครั้ง จึงเริ่มใช้คนบังคับการเคลื่อนไหวในอากาศได้เป็นผลสำเร็จ เครื่องต้นแบบตัวจริงที่ประกาศความสำเร็จของประวัติศาสตร์การบินหนักกว่าอากาศด้วยมนุษย์ครั้งแรกของโลกเป็นเครื่องที่ 4 ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนของรถมอเตอร์ไซมาดัดแปลง โดยอาศัยความช่วยเหลือของ CHARLIE TAYLOR ช่างจักรยานยนต์ ตัวเครื่องยนต์หนัก 200 ปอนด์(90 กก.) ให้กำลัง 12 แรงม้า แต่ต้องใช้กำลังหมุนใบพัด,ลูกรอก และระบบโซ่อีก 2 ชุด กำลังจึงใช้เพียง 9 แรงม้า ผลการทดลองบิน 4 เที่ยว ปรากฏว่าเที่ยวที่บินได้ไกลสุดคือบินสวนทางลม ทำความเร็วได้ 24 ไมล์ต่อชั่วโมง ได้ระยะทาง 852 ฟุต เครื่องนี้ใช้ชื่อ KITTY HAWK FLYER ในการทดลองบินเที่ยวที่ 5 เครื่องตกชำรุดเสียหายเพราะกระแสลมแรงพัดพัง ใช้บินต่อไปไม่ได้
สำหรับเครื่องต้นแบบตัวที่ 5 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) ใช้เครื่องยนต์กำลังสูงกว่า พัฒนาให้บินขึ้นจากรางปล่อย (CATAPULT)
หนัก WRIGHT
ทดลองบินกว่า 100 เที่ยว บินอยู่นาน 5 นาที
ค.ศ.1905 (พ.ศ.2448) สร้างเครื่องที่ 6 บินได้นาน 38 นาที ระยะทางไกล 24 ไมล์ ได้นำไปแสดงการบินประเมินค่าการใช้ทางทหารให้กองทัพบกสหรัฐ ดัดแปลงเป็น 2 ที่นั่ง ปรากฏว่าเครื่องตกชำรุด ผู้โดยสารเสียชีวิต นักบิน(WILBUR)บาดเจ็บสาหัส ดังนั้นงานแสดงการบินในทวีปยุโรป ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) จึงมีแต่ ORVILLE แค่ผู้เดียว ตกลงหนักชนะเบา
ผลงานการบินในภาคพื้นยุโรป
ในฝรั่งเศส มี 2 รายที่เครื่องบินของเขาบินได้สำเร็จ
-รายแรก คือ VOISIN ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) เป็นเครื่องบินปีก 2 ชั้น
-รายที่ 2 คือ FARMAN ค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) เป็นเครื่องบินปีก 2 ชั้น
ในอังกฤษ ค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) A.V. ROE ประกาศความสำเร็จด้วยเครื่องบินปีก 3 ชั้น บุด้วยกระดาษ กำลังเครื่องยนต์ 9 แรงม้า และต่อมาได้กลายเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสร้างเครื่องบินชื่อ AVRO COMPANY
ตอนที่ 6 เครื่องยนต์มหัศจรรย์ยุคแรก
การพัฒนาเครื่องยนต์ของอากาศยานในยุคแรกมีฝรั่งเศสและเยอรมัน ฝรั่งเศสพบความสำเร็จก่อนด้วยเครื่องยนต์ ROTARY ใช้เสื้อสูบตรึงกับใบพัดและหมุนรอบ CENTRAL CAMSHAFT ให้แรงบิดสูง ข้อเสียก็คือ กินเชื้อเพลิงและหล่อลื่นมาก หากใช้ฐานสูงจะมีผลต่อ GYROSCOPIC EFFECT เมื่อบินผาดโผน
ทางด้านเยอรมันเน้นการพัฒนาเครื่องยนต์แถวเรียง (IN-LINE) ระบายความร้อนด้วยของเหลว การพัฒนาจบลงไม่เหมือนกัน ROTARY ได้แรงสูงถึง 200 แล้วจึงหายไป ส่วน IN-LINE ของเยอรมันได้พัฒนาต่อไปเป็น RADIAL และ LIQUID-COOLED V-ENGINE
การบินของอังกฤษยุคแรก ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) ต้องพึ่งเครื่องยนต์ของฝรั่งเศส โดยนำเข้าและสร้างตามสิทธิบัตร(UNDER LICENCE)
ปี ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) บริษัท PACKARD MOTOR CORP. ผลิตเครื่องยนต์ V-12 LIBERTY ให้กำลัง 400 แรงม้า
เทคนิคการสร้างและการใช้วัสดุการบินเจริญรวดเร็วมาก จากไม้และผ้าบุผิว มาเป็นลำตัวไม้อัดแบน MONOCOQUE และต่อมาเป็น STEEL TUBE FRAME หุ้มด้วยผ้าบุ และเปลี่ยนผ้าบุมาใช้แผ่นบุผิวโลหะ ALUMINUM ALLOY แทน พร้อมการพัฒนากรรมวิธีการผลิตโครงสร้างที่เกิดใหม่
ตอนที่ 7 ระบบบังคับการเคลื่อนไหวในอากาศหรือการบินในปัจจุบัน
ปัญหาระบบกลไกบังคับบิน เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็นมาของอากาศยาน แนวความคิดยุคแรกใช้ปีกบิด( WARP WING) ความคุมการบังคับเอียง(AILER) สำหรับหางเสือเลี้ยวนำความคิดมาจากเรือ และแพนหางขึ้น-ลง ใช้แพนหางระดับ(ELEVATOR) ฝรั่งเศสเป็นผู้ได้ข้อยุติโดยการนำกลไกบังคับแบบพวงมาลัยและแบบคันโยก(STICK) ใช้กระเดื่องเท้าบังคับเลี้ยงซ้าย-ขวา การเชื่อมต่อกันใช้ระบบลวดบังคับและคันชักคันส่ง(PUSH-PULL ROD) ปัจจุบันการบังคับถีอเป็นระบบสากลซึ่งต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน
ต่อมาเครื่องบินมีความเร็วสูงขึ้น พื้นบังคับใหญ่ แข็งแรง มีภารกรรมมาก จึงเกิดระบบเสริมช่วยแรงบังคับ แทนพลังกล้ามเนื้อของนักบิน เช่น ระบบไฮดรอลิก ระบบนี้ไม่มีแรงตอบกลับจากพื้นบังคับ จึงต้องใช้แรงตอบเทียม(FORCE FEEL) เพื่อป้องกันนักบินใช้แรงบังคับเกินขีดจำกัดความแข็งแรงซึ่งโครงสร้างจะรับไหว และระบบดังกล่าวนี้ สามารถใช้ ELECTRICAL IMPULSE แทน CABLE และ PULL ROD ได้ โดยส่งผ่านระบบสายไฟฟ้า ระบบนี้เรียกว่า FLY-BY-WIRE
ผลจากการใช้ FLY-BY-WIRE สามารถใช้ COMPUTER สั่งการผ่าน MICRO PROCESSOR ไปควบคุมและอำนวยแรงที่พื้นบังคับได้ คันบังคับจึงมีน้ำหนักเบาและเล็กลง และกลับมาใช้ JOYSTICK แทนได้ สายการบิน AIRBUS ของฝรั่งเศส ได้นำระบบนี้มาใช้ใน AIRBUS A-3 เป็นครั้งแรกในโลกของการบินโดยสาร