บทความ
ทฤษฎีวิพากษ์สังคม - ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม
ทฤษฎีวิพากษ์สังคม - ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของตำราเรื่อง ทฤษฎีวิพากษ์ร่วมสมัย กับ การวิจารณ์ศิลปะ (ภาคทฤษฎี)
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ 669
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 13.5 หน้ากระดาษ A4)
บทนำ
ในทางมนุษยศาสตร์และทางสังคมศาสตร์ ทฤษฎีวิพากษ์มีความหมายที่แตกต่างกันเลยทีเดียว ทั้งกำเนิดและประวัติศาสตร์ที่ต่างกันไป. แม้ว่าเป็นเวลานานที่ความหมายทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันน้อยมาก และในหลายๆทางไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย - พูดอีกอย่างก็คือ ทฤษฎีวิพากษ์ไม่ใช่ปรากฏกาณ์โดดๆอย่างชัดเจน - แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีวิพากษ์ทั้งสองก็มีบางอย่างที่ทับซ้อนกันอยู่หรือปะทะกัน นับจากทศวรรษที่ 1970s เป็นต้นมา ในประเด็นที่ว่า บางคนในปัจจุบันได้นำเอาศัพท์คำนี้ไปใช้ในความหมายเครื่องหุ้มห่อทฤษฎีต่างๆทุกวันนี้ในทางด้านมนุษยศาสตร์โดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่ามันมีคุณลักษณ์ในทางสหวิทยาการหรือความเกี่ยวพันกันต่างๆ
ความหมายแรก เกี่ยวกับศัพท์คำว่า "ทฤษฎีวิพากษ์" ได้รับการให้นิยามความหมายโดย Max Horkheimer ซึ่งเป็นนักสังคมศาสตร์ Frankfurt School(1) ในความเรียงของเขาปี 1937 เรื่อง Traditional and Critical Theory (ทฤษฎีวิพากษ์และทฤษฎีแบบจารีต) และได้ถูกนำมาสนทนาอย่างละเอียดภายใต้หัวข้อ critical theory (Frankfurt School)
นั่นคือ ทฤษฎีวิพากษ์(critical theory) เป็นทฤษฎีทางสังคมที่ปรับไปสู่การวิจารณ์และการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งในทางตรงข้ามกับทฤษฎีแบบจารีต(traditional theory) ที่มุ่งเพียงทำความเข้าใจและอธิบายสังคมเท่านั้น.
Horkheimer ต้องการแยกแยะทฤษฎีวิพากษ์ออกมา ในฐานะรูปแบบที่สุดขั้วของการปลดปล่อยอย่างเป็นอิสระจากทฤษฎีมาร์กเซียน ทั้งจากแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำเสนอโดยลัทธิปฏิฐานเชิงตรรก(logical positivism) และจากสิ่งที่เขาและเพื่อนร่วมงานรับรู้ ในฐานะที่เป็นลัทธิปฏิฐานแอบแฝง(covert positivism) และลัทธิอำนาจนิยมของลัทธิมาร์กซ์ออร์ธอด็อกซ์ รวมถึงลัทธิคอมมิวนิสต์
ด้วยแก่นแกนความคิดนี้นี่เอง ที่ทำให้ทฤษฎีวิพากษ์ทางสังคมถูกเพ่งเล็งไปที่ทั้งหมดของสังคม ในลักษณะที่ชี้เฉพาะทางประวัติศาสตร์ของมัน นั่นคือ ในทางที่มันกลายเป็นการตระเตรียมอันหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่เจาะจงในช่วงเวลาดังกล่าว และนั่นได้ไปบูรณาการทฤษฎีต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่สำคัญหลายหลากเอาไว้ ซึ่งจะช่วยทำความเข้าใจมิติต่างๆที่มีความสำคัญต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มิติทางเศรษฐศาสตร์, สังคมวิทยา, ประวัติศาสตร์, รัฐศาสตร์, มานุษยวิทยา, และจิตวิทยาเอาไว้ด้วยกัน
แม้ว่าแนวความคิดนี้เกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์จะถือกำเนิดจากกลุ่มความคิดแฟรงค์เฟริทสคูล แต่มันก็แพร่หลายท่ามกลางนักสังคมศาสตร์เมื่อเร็วๆนี้บางคนด้วย อย่างเช่น Pierre Bourdieu และ(ที่ถกเถียงกันได้) Michel Foucault รวมถึงบรรดานักทฤษฎีสตรีนิยม(feminist) บางคนและนักสังคมศาสตร์อื่นๆ
ความหมายที่สอง "ทฤษฎีวิพากษ์" คือ ทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรม - เช่น ทฤษฎีการวิจารณ์ - และในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานวรรณกรรมและที่จะถูกพูดถึงกันต่อไป. ในรายละเอียดโดยพิศดารซึ่งหากสนใจ สามารถหาอ่านได้ในทฤษฎีวรรณกรรม(literary theory)
[สำหรับผู้สนใจ สามารถคลิกอ่านได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Literary_theory)]
อันที่จริงแล้ว ทฤษฎีวิพากษ์ในความหมายที่สองนี้ไม่ได้มุ่งที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างถึงราก หรือกระทั่งการปรับไปสู่การวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคม แต่มันถูกโฟกัสลงไปที่การวิเคราะห์ตัวบทหรือเนื้อหาและปรากฏการณ์เป็นอันดับแรก. มันถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางนักวิชาการทางวรรณกรรม และในสาขาวิชาทางด้านวรรณคดีในช่วงปีทศวรรษที่ 1960s และ 1970s และที่จริงได้นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ปีทศวรรษที่ 1980s เป็นต้นมาเท่านั้น
ความหมายแรกของทฤษฎีวิพากษ์ ถือกำเนิดขึ้นมาภายในความรู้ทางด้านทางสังคมศาสตร์ และมีผลงานต่างๆเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์สังคมอยู่หลายชิ้น และสังคมศาสตร์เชิงวิพากษ์(critical social science) ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ และไม่แสดงถึงการรับรู้หรือรับทราบเกี่ยวกับเรื่องราวทฤษฎีวิพากษ์ทางวรรณกรรมและมนุษยศาสตร์แต่อย่างใดเลย
ส่วนความหมายที่สองนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาภายในสาขาความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ และก็มีผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์ทางวรรณกรรรมอยู่เช่นกัน ซึ่งไม่ได้ให้ความเอาใจใส่และแสดงถึงการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของทฤษฎีวิพากษ์ทางสังคมวิทยาเช่นเดียวกัน. โดยนัยะนี้พวกมันจึงเกือบจะเป็นอิสระจากกันอย่างสิ้นเชิง เกือบจะเป็นภารกิจต่างๆทางด้านสติปัญญาที่ต่างคนต่างทำโดยไม่รู้จักกันมาก่อน แม้ว่ามันจะมีพื้นที่บางอย่างทับซ้อนกันอยู่ก็ตาม ดังที่จะพูดถึงกันต่อไป
ทั้งสองความหมายนี้ของทฤษฎีวิพากษ์ ได้รับมาจากขนบประเพณีทางสติปัญญาที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามมันมีความสัมพันธ์กับความหมายเกี่ยวกับ criticism และ critique, ซึ่งถึงที่สุดแล้ว ทั้งคู่ได้รับศัพท์คำนี้มาจากคำในภาษากรีก คือคำว่า Kritikos หมายถึง การตัดสิน หรือ ความเข้าใจ - การรับรู้หลังจากที่ใช้ความคิด (judgment or discernment ) และรูปคำในปัจจุบันของมันย้อนกลับไปในคริสตศตวรรษที่ 18 มานี้เอง
(ในที่นี้ criticism ใช้กับงานทางด้านศิลปะและวรรณกรรม, ส่วนคำว่า critique ใช้กับงานทางด้านปรัชญา)
ทฤษฎีวิพากษ์สังคม
เรื่องทฤษฎีวิพากษ์สังคมได้รับสืบทอดมาจากการใช้ศัพท์คำว่า critique ของ Kant (คริสตศตวรรษที่ 18) และ Marx (คริสตศตวรรษที่ 19) เช่นในเรื่อง Critique of Pure Reason(2) ของ Kant, และความนึกคิดของ Marx เกี่ยวกับงานของเขาเอง ดังใน "the critique of political economy"
คำว่า critique สำหรับ Kant หมายถึง การสำรวจและเห็นถึงข้อจำกัดต่างๆของความสมบูรณ์เกี่ยวกับอำนาจ(ความสามารถ), แบบฉบับ, หรือเนื้อแท้ของความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการสำรวจถึงข้อจำกัดต่างๆที่ถูกกำหนดโดยแนวคิดเบื้องต้น, แนวคิดที่ไม่อาจลดทอน(หรือทำง่ายลงได้)ในการใช้ประโยชน์ความรู้นั้น
ความคิดของเขาได้เชื่อม critique กับการปลดเปลื้องความผิดพลาด(the disestablishment of false), การที่ไม่อาจพิสูจน์ได้, หรือความเชื่อทางปรัชญา การเมือง และสังคมที่ไร้ข้อพิสูจน์(dogmatic), ซึ่งสำหรับตัวเขา the critique of reason เกี่ยวพันกับ the critique of dogmatic theological และ metaphysical ideas (การวิพากษ์เกี่ยวกับความคิดเทวนิยมที่ไร้ข้อพิสูจน์และความความคิดอภิปรัชญา) และได้รับการฝั่นเกลียวกับเรื่องของจริยธรรมอย่างมาก และรวมถึง the Enlightenment critique of superstition (ยุคสว่างการวิพากษ์เกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์) และอำนาจความไร้เหตุผล(irrational authority)
ส่วนมาร์กซ์ได้พัฒนาความคิดนี้ขึ้นมาอย่างชัดเจนใน the critique of ideology และเชื่อมโยงมันกับปฏิบัติการเกี่ยวกับการปฏิวัติสังคม ดังใน 11th Thesis on Feuerbach อันมีชื่อเสียงของเขา, "บรรดานักปรัชญาทั้งหลายเพียงตีความโลกในหนทางต่างๆเหล่านั้นเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญคือว่า ต้องเปลี่ยนแปลงมัน"
ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม
ความหมายทฤษฎีทางวรรณกรรม ในเชิงตรงข้าม ได้รับสืบทอดมาจากความคิดเกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณกรรม(criticism) ในฐานะที่เป็นการสร้างและการยกระดับความเข้าใจในสุนทรียภาพและการประเมินคุณค่าทางวรรณกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ในความคิดของ Joseph Addison ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักวิจารณ์คนหนึ่ง ในฐานะคนที่ช่วยให้ความกระจ่างหรือความเข้าใจ และตีความผลงานทางด้านวรรณกรรมต่างๆทั้งหลาย:
"นักวิจารณ์ที่แท้ควรจะอยู่บนความพร้อมยิ่งกว่าความบกพร่อง เพื่อค้นพบความงามที่ซ่อนเร้นอยู่ของผู้เขียน และสื่อสารกับโลกถึงสิ่งต่างเหล่านั้น ดังที่มันมีคุณค่าต่อการสำรวจตรวจพบของพวกเขา"
ถึงที่สุดแล้ว ความคิดนี้เกี่ยวกับการวิจารณ์ สามารถย้อนกลับไปได้ถึงเรื่อง Poetics ของ Aristotle ในฐานะที่เป็นทฤษฎีหนึ่งของวรรณกรรม
ในการใช้วิธีการจำแนกในทางญานวิทยาที่ได้รับการเสนอโดย Jurgen Habermas ปี 1968 ในงานของเขา Erkenntnis und Interesse (Knowledge and Human Interests), ทฤษฎีวิพากษ์ทั้งหมดในวรรณคดีศึกษา(critical theory in literary studies) ที่สุดแล้ว คือรูปแบบหนึ่งของ hermeneutics (อรรถปริวรรตศาสตร์)นั่นคือ ความรู้โดยผ่านการตีความ[แปลความหมาย] (knowledge via interpretation) เพื่อที่จะทำความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆของมนุษย์ และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เชื่อในประโยชน์เชิงปฏิบัติในการทำความเข้าใจกันและกัน
ขณะที่ทฤษฎีวิพากษ์สังคม(critical social theory) ถึงที่สุดแล้วก็คือ รูปแบบหนึ่งของความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบตัวเอง ซึ่งเกี่ยวพันถึงการทำความเข้าใจและการอธิบายในเชิงทฤษฎี เพื่อที่จะลดทอนกับดักในระบบต่างๆของการครอบงำหรือการพึ่งพา รวมทั้งเชื่อในประโยชน์ของการปลดเปลื้องและในการขยายขอบเขตเกี่ยวกับความเป็นอิสระ และลดทอนขอบเขตของการครอบงำลง
จากทัศนียภาพนี้ ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรมจำนวนมาก จากการที่มันได้ถูกโฟกัสลงบนการตีความและการอธิบายมากกว่าบนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จึงถูกพิจารณาในฐานะที่เป็นเรื่องเชิงบวกหรือในลักษณะจารีตมากกว่าทฤษฎีวิพากษ์ในความหมายของ Kantian หรือ Marxian
ทฤษฎีวิพากษ์ในทางวรรณกรรมและมนุษยศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับมิติด้านบรรทัดฐาน(normative dimension), ในขณะที่ ทฤษฎีวิพากษ์สังคมเป็นไปในเชิงตรงข้าม โดยผ่านการวิจารณ์สังคมจากทฤษฎีทั่วไปบางทฤษฎีเกี่ยวกับคุณค่า, บรรทัดฐาน, หรือผ่านการวิจารณ์มันในกรณีต่างๆของการสนับสนุนเรื่องคุณค่าทั้งหลายในตัวมันเอง
การทับซ้อนกัน (ระหว่างทฤษฎีวิพากษ์สังคมและทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม)
อย่างไรก็ตาม การทับซ้อนกันบางประการที่เกิดขึ้น เดิมทีเริ่มต้นขึ้นมาจากทั้งทางฝ่ายทฤษฎีวิพากษ์สังคมและข้างฝ่ายทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรมเอง กล่าวคือ เป็นเพราะลักษณะเด่นของทฤษฎีวิพากษ์แฟรงค์เฟริทสคูลมาแต่แรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานของ Max Horkheimer, Theodor Adorno, Walter Benjamin, Herbert Marcuse, และ Leo Lowenthal,
เนื่องจากการโฟกัสของพวกเขาลงไปบนบทบาทเกี่ยวกับความสำนึกที่ผิดพลาดและอุดมคติในความเป็นอมตะของลัทธิทุนนิยม, เพื่อวิเคราะห์ผลงานต่างๆทางวัฒนธรรม, รวมถึงวรรณกรรม, ดนตรี, ศิลป, ทั้งในส่วนที่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมชั้นสูง และวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์หรือวัฒนธรรมมวลชน
ด้วยเหตุนี้ ในบางขอบเขตมันจึงเป็นทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับวรรณกรรมและระเบียบวิธีเกี่ยวกับการวิจารณ์ศิลปะ (ดังเช่นในการตีความของ Walter Benjamin ในงานของ Baudelaire, การตีความต่างๆของ Leo Lowenthal เกี่ยวกับ Shakespeare, Ibsen, ฯลฯ., การตีความทั้งหลายของ Adorno ในงานของ Kafka, Valery, Balzac, Beckett, เป็นต้น ฯลฯ.) และในช่วงทศวรรษที่ 1960 ทฤษฎีวิพากษ์จึงเริ่มมีอิทธิพลต่องานประเภทวรรณกรรม
ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1960s Jurgen Habermas แห่ง Frankfurt School ได้นิยามทฤษฎีวิพากษ์ขึ้นมาใหม่ ในหนทางที่ได้ปลดปล่อยให้มันเป็นอิสระจากการผูกพันโดยตรงกับลัทธิมาร์กซ์ หรืองานในช่วงแรกๆของสกุลความคิดแฟรงค์เฟริทสคูล. ในญานวิทยาของ Habermas ความรู้เชิงวิพากษ์ถูกทำให้เป็นแนวคิดในฐานะที่ ความรู้นั้นสามารถทำให้มนุษย์ปลดปล่อยตัวของพวกเขาเองเป็นอิสระจากการครอบงำ โดยผ่านการสำรวจตัวเอง และนำเอาวิธีการทางจิตวิเคราะห์มาใช้ ในฐานะที่เป็นกระบวนทัศน์ของความรู้เชิงวิพากษ์
อันนี้ได้ไปขยายขอบเขตเกี่ยวกับสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นทฤษฎีวิพากษ์ เข้าไปสู่สังคมศาสตร์อย่างค่อนข้างมาก ซึ่งรวมถึงวิธีการต่างๆอย่าง ทฤษฎีระบบโลก(world systems theory)(3), ทฤษฎีสตรีนิยม(feminist theory), ทฤษฎีหลังอาณานิคม(postcolonial theory), ทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติ(critical race theory)(4), และ ทฤษฎีเพศที่สาม(queer theory)(5), นิเวศวิทยาสังคม(social ecology)(6), ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร(theory of communicative action) ทฤษฎีโครงสร้าง(structuration theory)(7), และทฤษฎีนีโอมาร์กซ์เซียน(neo-Marxian theory)(8)
จากด้านวรรณกรรม เริ่มต้นในช่วงทศวรรษที่ 1960s โดยบรรดานักวิชาการวรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีปฏิกริยาสวนทางกับลัทธิวิจารณ์ใหม่(New Criticism)ของทศวรรษก่อน ซึ่งพยายามที่จะวิเคราะห์เนื้อหาวรรณกรรมอย่างบริสุทธิ์ภายในตัวมันเอง(โดยตัดเอาตัวผู้เขียนออกไป) เริ่มต้นรวมตัวเข้าไปสู่การวิเคราะห์และการตีความของพวกเขาเกี่ยวกับงานวรรณกรรมทั้งหลาย โดยใช้ทฤษฎีสัญศาสตร์(semiotic), ภาษาศาสตร์, และการตีความเป็นเบื้องต้น, ถัดจากนั้นก็มีการผนวกเอาลัทธิโครงสร้างนิยม, การวิเคราะห์แบบลากองเนียน, ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม, และการรื้อสร้าง(deconstruction) และปรัชญาภาคพื้นทวีป(Continental philosophy)เข้าไปด้วย, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์วิทยา(phenomenology)(9) และ อรรถปริวรรตศาสตร์(hermeneutics - การตีความ)(10), และทฤษฎีวิพากษ์สังคม รวมถึงรูปแบบอื่นๆอย่างหลากหลายเกี่ยวกับทฤษฎีนีโอ-มาร์กซ์เซียน
ด้วยเหตุนี้การวิจารณ์วรรณกรรมจึงเป็นเรื่องเชิงทฤษฎีสูงมาก และปฏิบัติการเหล่านั้นบางอย่าง เริ่มมีการอ้างอิงถึงมิติทางทฤษฎีเกี่ยวกับงานของพวกเขา ในฐานะที่เป็น"ทฤษฎีวิพากษ์" นั่นคือในเชิงปรัชญาได้ให้แรงบันดาลใจทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณกรรม. และด้วยเหตุนี้โดยบังเอิญ ทฤษฎีวิพากษ์ในทางด้านสังคมวิทยากลายเป็นทฤษฎีที่อยู่ในท่ามกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการวรรณกรรมของพวกที่เห็นอกเห็นใจบรรดาฝ่ายซ้ายต่างๆ, ซึ่งเป็นหนึ่งในอิทธิพล และกระแสต่างๆภายในทฤษฎีวิพากษ์ในแนวทางวรรณกรรม
ยิ่งไปกว่านั้น พร้อมกับการแผ่ขยายของสื่อสารมวลชน และวัฒนธรรมมวลชน รวมถึงวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ในช่วงทศวรรศที่ 1960s และการผสมคลุกเคล้าของการวิจารณ์สังคมและวัฒนธรรม และการวิจารณ์วรรณกรรม วิธีการของทั้งคู่(หมายถึงทฤษฎีวิพากษ์สังคมและทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม) จึงได้มาเกี่ยวพันกันในบางครั้งในการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ ดังเช่นในการเกิดขึ้นมาของความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมศึกษา(cultural studies), ซึ่งแนวความคิดต่างๆได้มีการสืบทอดมาจากทฤษฎีมาร์กซ์เซียน, ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม, สัญศาสตร์, จิตวิเคราะห์ และ ทฤษฎีสตรีนิยม ซึ่งจะถูกค้นพบได้ในงานตีความในลักษณะเดียวกัน. แนวทางทั้งสอง บ่อยครั้งมีอยู่ในวิธีการที่หลากหลายของทฤษฎีหลังสมัยใหม่
ประเด็นสำคัญของทั้งคู่ ซึ่งมีการทับซ้อนกันมาก หรือการกระทบกระแทกกันของทฤษฎีวิพากษ์ทั้งสองศาสตร์คือ ในการปฏิสัมพันธ์กันของมันที่ได้โฟกัสลงบนเรื่องของภาษา, สัญลักษณ์, และการสื่อสาร รวมถึงในการเอาใจใส่ของมันในกระบวนการสร้าง(construction)
ภาษาและการสื่อสาร: นับจากทศวรรษที่ 1960s และ 1970s เป็นต้นมา, ภาษา, สัญลักษณ์, ข้อมูล(text), และความหมาย กลายเป็นรากฐานทางทฤษฎีในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยผ่านอิทธิพลในระยะสั้นและระยะยาวของ Wittgenstein, De Saussure, Mead, Chomsky, Gadamer, Barthes, Derrida และนักคิดคนอื่นๆในขนบจารีตของปรัชญาภาษา และปรัชญาวิเคราะห์, ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง, ลัทธิปฏิกริยาเชิงสัญลักษณ์(symbolic interactionism), อรรถปริวรรต์ศาสตร์(hermeneutics), สัญศาสตร์(semiotics), จิตวิเคราะห์ที่ปรับใช้ในเชิงภาษา (Lacan, Lorenzer), และการรื้อสร้าง(deconstruction)
ในช่วงทศวรรษที่ 1970s และ 1980s เมื่อ Habermas ได้นิยามทฤษฎีวิพากษ์สังคมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในฐานะที่เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร นั่นคือ อำนาจการสื่อสาร และความมีเหตุผลของการสื่อสารในด้านหนึ่ง ซึ่งในอีกด้านหนึ่งได้บิดเบือนการสื่อสารไป, ทั้งสองเรื่องของทษฎีวิพากษ์(สังคม-วรรณกรรม)จึงเริ่มที่จะทับซ้อนกันหรือเข้ามาเกี่ยวพันกันมากขึ้นๆ กว่าที่เคยเป็นมาก่อน
กระบวนการการสร้าง(construction): ทฤษฎีวิพากษ์ทั้งสอง(สังคม-วรรณกรรม)ได้โฟกัสลงบนกระบวนการสังเคราะห์, การผลิต, หรือการสร้าง, โดยที่ปรากฏการณ์ต่างๆและเรื่องราวทั้งหลายเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์, วัฒนธรรม, และความสำนึกได้เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะโดยผ่าน
- กฎของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งโครงสร้างที่ลึกซึ้งของภาษาได้กลายเป็นโครงสร้างผิวหน้าของมัน(Chomsky)
- หลักปฏิบัติการสากลต่างๆ(the universal pragmatic principles) โดยผ่านสิ่งซึ่งเข้าใจกันที่ได้รับการก่อเกิดขึ้น(Habermas)
- กฎเกณฑ์ทั้งหลายทางด้านสัญศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวทั้งหลายเกี่ยวกับความเคยชินทุกๆวันหรือเกี่ยวกับแฟชั่น ได้รับความหมายมาต่างๆ(Barthes)
- กระบวนการทางจิตวิทยา ซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆเกี่ยวกับความสำนึกในชีวิตประจำวันได้ถูกทำให้เกิดขึ้น(นักคิดจิตวิเคราะห์ทั้งหลาย)
- ญานวิทยา(ทฤษฎีความรู้)ดังกล่าว มันอยู่ข้างใต้การก่อรูปการรับรู้ของเราขึ้นมา(Foucault)
- และอื่นๆ,
เหล่านี้เป็นความสนใจร่วมกันอันหนึ่งในกระบวนการดังกล่าว (บ่อยครั้ง เกี่ยวกับเรื่องของภาษาและสัญลักษณ์) ที่ได้ให้กำเนิดปรากฏการณ์ที่สังเกตเห็นได้ ซึ่งในที่นี้มันมีอิทธิพลต่อกันอย่างมีนัยสำคัญท่ามกลางแง่มุมของเรื่องราวทฤษฎีวิพากษ์ที่ต่างกัน
ในท้ายที่สุด อันนี้ได้เน้นถึงการผลิตและการประกอบสร้างที่ย้อนกลับไปได้ถึงการปฏิวัติที่หล่อหลอมขึ้นมาโดย Kant ในทางปรัชญา กล่าวคือการโฟกัสของเขาในเรื่อง Critique of Pure Reason ในการสังเคราะห์ตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ในฐานะที่เป็นกิจกรรมเบื้องต้นของจิตใจ ที่ได้สร้างแบบแผนเกี่ยวกับประสบการณ์ของเราขึ้นมา
รายชื่อบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์คนสำคัญ
Theodor Adorno, Louis Althusser, Mikhail Bakhtin, Roland Barthes, Walter Benjamin, Lauren Berlant,
Homi Bhabha, Jean Baudrillard, Susan Bordo, Pierre Bourdieu, Stephen Bronner, Judith Butler,
Helene Cixous, Michel de Certeau, Teresa de Lauretis, Gilles Deleuze, Paul De Man, Jacques Derrida, Terry Eagleton, Mikhail Epstein, Norman Fairclough, Franz Fanon, Michel Foucault, Hans-Georg Gadamer, F?lix Guattari, Jurgen Habermas, Martin Heidegger, Max Horkheimer, Thomas S. Kuhn, Julia Kristeva, Henry Jenkins, Jacques Lacan, Claude Levi-Strauss, Leo L?wenthal, Herbert Marcuse, Karl Marx, Oskar Negt, Friedrich Pollock, Nicos Poulantzas, Edward Said, Eve Kosofsky Sedgwick, Paul Virilio, Slavoj Zizek
หัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ ซึ่งควรศึกษาเพิ่มเติม
Continental philosophy, Cultural studies, Culture theory, Critical management studies, Literary theory, Political philosophy
เชิงอรรถ
(1) The Frankfurt School (แฟรงค์เฟริทสคูล) เป็นสกุลความคิดหนึ่งของทฤษฎีสังคมและปรัชญานีโอ-มาร์กซิสท์ กลุ่มดังกล่าวพัฒนาขึ้นมาที่สถาบันวิจัยสังคม(Institute for Social Research) ของมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริทในเยอรมันนี ในสมัยที่ Max Horkheimer เป็นผู้อำนวยการสถาบันในปี ค.ศ.1930
สำหรับศัพท์คำว่า"แฟรงค์เฟริทสคูล"เป็นคำศัพท์อย่างไม่เป็นทางการที่ถูกนำมาใช้ระบุถึง บรรดานักคิดที่เป็นสมาชิกของสถาบันวิจัยสังคมดังกล่าว สำหรับบรรดานักคิดคนสำคัญของแฟรงค์เฟริทสคูลไม่ได้ใช้ศัพท์คำนี้ในการอธิบายถึงตัวของพวกเขาเอง
บรรดานักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล ได้รับอิทธิพลมาจากความล้มเหลวของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และโดยการถือกำเนิดขึ้นมาของลัทธินาซีในชาติที่ก้าวหน้า(เยอรมันนี)ทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี, พวกเขาเลือกหยิบเอาความคิดของมาร์กซ์บางส่วนมาใช้เพื่ออธิบายถึงสภาพเงื่อนไขทางสังคมให้กระจ่างชัดมากขึ้น นอกจากนี้ พวกเขายังดึงเอาสกุลความคิดอื่นมาเติมเต็มความรู้ที่ถูกละเลยไปของมาร์กซ์ด้วย เช่นวิธีการทางจิตวิเคราะห์
(2). Critique of Pure Reason (Kritik der reinen Vernunft), ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1781 และพิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ.1787 ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็นบทอ่านที่ทรงอิทธิพลมากและกว้างขวางที่สุดของนักปรัชญาเยอรมัน Immanuel Kant และเป็นหนึ่งในงานประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตกที่สำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้งานชิ้นนี้ยังได้รับการอ้างว่าเป็น"การวิพากษ์ชิ้นแรก"ของ Kant และตามมาด้วยเรื่อง Critique of Practical Reason และเรื่อง Critique of Judgment.
Critique of Pure Reason ถูกถือว่าเป็นผลงานบุกเบิกในปรัชญาตะวันตก, Kant เห็นว่า การวิพากษ์นี้เป็นความพยายามที่จะเชื่อมต่อช่องว่างระหว่าง"ลัทธิเหตุผลนิยม"กับ"ลัทธิประสบการณ์นิยม"(rationalism and empiricism) และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันตรงข้ามกับลัทธิประสบการณ์นิยมมูลฐานของ David Hume
(3). World Systems Theory (ทฤษฎีระบบโลก) ไม่เหมือนกับทฤษฎีทางสังคมวิทยาต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว นำเสนอแบบจำลองทั้งหลายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยการโฟกัสลงไปที่ระดับสังคม, ทฤษฎีระบบโลก จะสำรวจถึงบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างสังคมต่างๆ(และการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่ตามมา)
แรกเริ่มเดิมที ทฤษฎีระบบโลกนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Immanuel Wallerstein และเพื่อนร่วมงานของเขาในการขานรับต่อกิจกรรมใหม่ๆจำนวนมากในเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม ช่วงระหว่างกลางทศวรรษที่ 1970s, ทฤษฎีระบบโลกสืบทอดตัวของมันเองมาจากแหล่งต้นตอทางสติปัญญาที่สำคัญอยู่ 2 แหล่ง นั่นคือ วรรณกรรมนีโอ-มาร์กซิสท์เกี่ยวกับการพัฒนา และสกุลความคิด French Annales School.
[The Annales School เป็นสกุลงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ตั้งชื่อขึ้นมาตามหลังนิตยสารทางวิชาการของฝรั่งเศส Annales d'histoire Economique et sociale (ซึ่งต่อมาเรียกว่า Annales. Economies, societies, civilisations, และมาเปลี่ยนใหม่เป็น Annales. Histoire, Sciences Sociales ในปี ค.ศ.1994). ประวัติศาสตร์ Annales school เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการรวมเอาวิธีการทางสังคมศาสตร์ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์
งานศึกษาของสกุลนี้ เป็นการบุกเบิกนำเอาวิธีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างประวัติศาสตร์ระยะยาวมาศึกษาในเหตุการณ์ต่างๆ (พวกเขาปฏิเสธวิธีการที่เน้นเรื่องของการเมือง, การทูต และสงคราม อย่างที่บรรดานักประวัติศาสตร์ในคริสตศตวรรษที่ 19 จำนวนมากใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา). ภูมิศาสตร์, เนื้อหาทางวัฒนธรรม, และสิ่งที่กลุ่มนี้เรียกว่า mentality หรือจิตวิทยาของยุคสมัย(the psychology of the epoch) คือพื้นที่ศึกษาที่เป็นอัตลักษณ์ต่างๆ ของสกุลประวัติศาสตร์นี้]
การตีพิมพ์เรื่อง World-System Analysis ในปี 1987 ของ Wallerstein, เขาเสนอว่า ทฤษฎีระบบโลกคือ "การประท้วงต่อการค้นคว้าทางด้านสังคมศาสตร์ ที่ได้รับการวางโครงสำหรับเราทุกคนโดยเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่กลางคริสตศตวรรษที่ 19". เขาได้ทำการวิจาณ์ต่อไปถึงแนวความคิดที่แพร่หลายเกี่ยวกับทฤษฎีพึ่งพา(Dependency Theory), และถกว่า โลกของเรานี้ถูกทำให้สลับซับซ้อนมาก และถูกแยกแยะหมวดหมู่ในฐานะที่เป็นระบบทวิลักษณ์(bimodal system), ระบบที่แบ่งเป็น"แกนกลาง"กับ"ชายขอบ"(cores and peripheries). ในแง่คิดดังกล่าวนั้น หนึ่งในหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีระบบโลกได้ปรากฏตัวขึ้นนั่นคือ ความคิดในเรื่อง"กึ่งชายขอบ"(semi-periphery) ซึ่งได้สร้าง"ระบบไตรลักษณ์"(tri-modal system)ขึ้นมาที่ประกอบด้วย แกนกลาง, กึ่งชายขอบ, และชายขอบ
มีวิธีการมากมายที่จะอ้างเหตุผลให้ประเทศหนึ่งใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะเป็นแกนกลาง, กึ่งชายขอบ, หรือชายขอบ. การใช้การนิยามนี้วางอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์เชิงประจักษ์ เกี่ยวกับ"การครอบงำ" ในความสัมพันธ์ของสองประเทศ กล่าวคือ "แกนกลาง"คือ"ประเทศอิสระต่างๆ ซึ่งครอบงำประเทศอื่นๆ โดยไม่ถูกครอบงำ, "ประเทศชายขอบ"คือประเทศต่างๆ ซึ่งถูกครอบงำ, และ"ประเทศกึ่งชายขอบ"คือประเทศทั้งหลายที่ถูกครอบงำ ขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็ครอบงำประเทศอื่นด้วย (ซึ่งตามปกติคือ ครอบงำประเทศชายขอบ)
(4). Critical Race Theory (ทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติ) เป็นสกุลหนึ่งทางความคิด ที่มองเห็นถึงความเหลวไหลในเรื่องเชื้อชาติ ที่วางอยู่บนความเชื่อมโยงกับชีวิตอเมริกัน. ทฤษฎีดังกล่าวเป็นกระบวนวิชาหนึ่งที่ท้าทายผู้อ่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนหรือผู้คัดค้าน เพื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ระหว่างเชื้อชาติ, ระบบความยุติธรรม, และสังคม
Paul Gilroy, ในเรื่อง Against Race, (p. 42) กล่าวว่า "ความเหลวไหลที่สร้างขึ้นเกี่ยวกับเรื่อง"เชื้อชาติ"ในฐานะหลักการอันหนึ่งของพลังอำนาจ, ความแตกต่าง, และการแบ่งแยก มาถึงปัจจุบันมันยังคงยืนหยัดและดื้อรั้นต่อไป"
ทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติ มีรากเหง้าต่างๆบนขอบเขตความรู้ที่มั่นคงแล้วของมานุษยวิทยา, สังคมวิทยา, ประวัติศาสตร์, รัฐศาสตร์ และปรัชญา. ความคิดต่างๆเกี่ยวกับการประกอบสร้างและความจริงเกี่ยวกับเชื้อชาติและการแบ่งแยก ยังคงมีอยู่เสมอในงานเขียนต่างๆ ของบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติร่วมสมัยที่รู้จักกันดี อย่างเช่น Derrick Bell, Mari Matsuda, Richard Delgado, Kimberlie Crenshaw, และ William Tate, เช่นเดียวกับนักบุกเบิกในความรู้ด้านนี้ ซึ่งรวมถึง W.E.B. DuBois และ Max Weber
(5). Queer theory (ทฤษฎีเพศที่สาม) เป็นทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับเพศและเพศสภาพภายในขอบเขตความรู้ที่กว้างใหญ่ของเพศที่สามศึกษา(Queer studies). โดยเสนอว่า อัตลักษณ์ทางเพศ และอัตลักษณ์ของเพศสภาพของคนๆหนึ่ง คือบางส่วนหรือทั้งหมดของการประกอบสร้างทางสังคม และด้วยเหตุดังนั้น ปัจเจกชนทั้งหลาย จริงๆแล้วไม่สามารถที่จะถูกอธิบายโดยการใช้ศัพท์ต่างๆ อย่างเช่นคำว่า "homosexual,"(พวกรักร่วมเพศ) "heterosexual,"(พวกรักต่างเพศ) "man,"(ผู้ชาย) หรือ "woman"(ผู้หญิง) ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีนี้ได้ตั้งคำถามและสงสัยต่อประโยชน์ของการจัดแยกหมวดหมู่ทางสังคม อันมีพื้นฐานอยู่บนการแบ่งแยกระหว่างคนเหล่านั้น ซึ่งมีส่วนร่วมบางอย่างทางด้านอุปนิสัย หรือการดำเนินชีวิตในสังคม. บรรดานักทฤษฎีเพศที่สามเสนอถึงการจัดแยกหมวดหมู่ และกลุ่มอัตลักษณ์ทั้งหมดที่มีความสลับซับซ้อน
สำหรับผู้มีอิทธิพลต่างๆในทางประวัติศาสตร์ต่อทฤษฎีเพศที่สาม มีเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น Gloria Anzaldua, Audre Lorde, Monique Wittig, Jonathan D. Katz, Ester Newton, Andy Warhol, Roland Barthes, Jacques Lacan, Louis Althusser, และ Jacques Derrida, แต่สุ้มเสียงแรกในการพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีเพศที่สามก็คือ Gayle Rubin, Kaja Silverman, D.A. Miller, Sue-Ellen Case, Douglas Crimp, John D'Emilio, Lee Edelman, Michel Foucault, Joan Scott, Simon Watney, Judith Butler, Eve Kosofsky Sedgwick, Leo Bersani, David Halperin, Michael Moon, Michael Warner, Shari Thurer และคนอื่นๆ อีก
Judith Butler เป็นนักทฤษฎีเพศที่สามคนสำคัญ ที่ได้อธิบายแนวคิดที่เป็นแกนหลักของทฤษฎีนี้ในหนังสือปี 1990 ของเธอเรื่อง Gender Trouble. แต่อย่างไรก็ตาม ในการให้สัมภาษณ์ต่อมา Butler กล่าวว่า เธอประหลาดใจที่ได้ยินว่า เธอได้คิดประดิษฐ์คำว่า"queer theory" (ทฤษฎีเพศที่สาม)ขึ้นมา
(6). Social ecology (นิเวศวิทยาสังคม) ในตัวมันเอง เป็นคำที่น้อมนำไปในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับแนวโน้มสังคมทั่วไป รวมถึงการเมือง เช่นเดียวกับโน้มนำไปสู่ความคิดทางจริยธรรม ความเป็นชุมชน นิเวศวิทยา และการประกอบสร้างสังคมใหม่. นิเวศวิทยาสังคมเป็นทัศนะที่สุดขั้วอันหนึ่งเกี่ยวกับนิเวศวิทยาและเกี่ยวกับระบบสังคม/การเมือง ยกตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการของพรรคเขียวต่างๆ(green parties)
นักนิเวศวิทยาสังคมทั้งหลายเชื่อว่า วิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยาปัจจุบันเป็นผลิตผลมาจากลัทธิทุนนิยม พวกเขาเชื่อว่ามันไม่ใช่เนื่องมาจากจำนวนประชากร แต่เป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวพันกับอีกคนหนึ่ง ที่ได้ช่วยเติมเชื้อให้กับวิกฤตทางเศรษฐกิจที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป อย่างเช่น การบริโภคมากจนเกินไป, ลัทธิการผลิต และลิทธิบริโภคนิยมคืออาการของโรคร้ายนั้น
Murray Bookchin กล่าวเอาไว้ว่า: "ความนึกคิดที่ว่า มนุษย์ต้องครอบงำธรรมชาติ เกิดขึ้นมาโดยตรงจากการครอบงำของมนุษย์ต่อมนุษย์ แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นจนกระทั่งความสัมพันธ์ของชุมชนแบบธรรมชาติ(organic) ละลายเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบตลาด ที่ซึ่งดาวเคราะห์ในตัวมันเองได้ถูกลดทอนลงเหลือเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการตักตวงผลประโยชน์. แนวโน้มที่เป็นมาหลายศตวรรษนี้ ได้ค้นพบการพัฒนาที่รุนแรงขึ้นในที่สุดในลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่. เนื่องมาจากธรรมชาติของการแข่งขันที่มีอยู่แต่กำเนิดของมัน, สังคมของชนชั้นกลางไม่เพียงทำให้มนุษย์ต่อสู้กันเองเท่านั้น มันยังทำให้มวลมนุษย์ต่อสู้กับโลกธรรมชาติด้วย. เทียบกับการที่มนุษย์ถูกเปลี่ยนไปสู่การเป็นสินค้า ดังนั้นแง่มุมทั้งมวลเกี่ยวกับธรรมชาติจึงถูกเปลี่ยนไปสู่ความเป็นสินค้าด้วย ธรรมชาติกลายเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ที่ถูกผลิตและนำไปขายและใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย" (Op. Cit., p. 63)
(7). Structuration theory (ทฤษฎีโครงสร้าง)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า The Theory of Structuration, นำเสนอโดย Anthony Giddens (1984) ในเรื่อง The Constitution of Society, เป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะประนีประนอมความเป็นคู่ตรงข้ามเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับระบบสังคม อย่างเช่น ทัศนียภาพแบบ ตัวแทน/โครงสร้าง, อัตวิสัย/ภววิสัย, ขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่, (agency/structure, subjective/objective, and micro/macro perspectives), ซึ่งถือว่าปัจเจกชนแต่ละคนต่างกระทำต่อกัน(ในฐานะปัจจัยภายในบริบทโครงสร้าง) หรือในฐานะตัวแทนที่เป็นอิสระต่างๆ
วิธีการดังกล่าวไม่ได้โฟกัสลงไปที่ผู้กระทำที่เป็นปัจเจกหรือสังคม "แต่ปฏิบัติการต่างๆทางสังคมได้สร้างระเบียบข้ามพื้นที่และเวลา". ผู้ให้การสนับสนุนมันรับเอาตำแหน่งที่สมดุลนี้มาใช้ พยายามที่จะปฏิบัติการกับอิทธิพลของโครงสร้าง(ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมที่มีอยู่นั้นด้วย)และตัวแทน อย่างเท่าเทียมกัน
(8). Neo-Marxism (นีโอ-มาร์กซิสม์) เป็นสกุลความคิดในคริสตศตวรรษที่ 20 ที่หวนกลับมาพูดถึงงานเขียนในช่วงต้นๆของมาร์กซ์ก่อนการมีอิทธิพลของ Engels ซึ่งได้โฟกัสลงไปที่จิตนิยมวิภาษวิธี (dialectical idealism) มากกว่าวัตถุนิยมวิภาษวิธี (dialectical materialism), และปฏิเสธเรื่องของนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจของมาร์กซ์ในช่วงต้นๆ โดยได้โฟกัสไปที่การปฏิวัติในทางจิตวิทยา ไม่ใช่เรื่องกายภาพหรือวัตถุ
แนวคิดนี้ค่อนข้างมีลักษณะของนักเสรีนิยม และสัมพันธ์กับสายพันธุ์ทั้งหลายของลัทธิอนาธิปไตยมาก. มันยังเสนอเกี่ยวกับการเน้นที่ความชั่วร้ายต่างๆของลัทธิทุนนิยมโลก. บรรดานักนีโอ-มาร์กซิสท์ที่โดดเด่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น Marcuse คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นนักสังคมวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ นอกจากนี้มันยังได้ไปผูกมัดอย่างเหนียวแน่นกับขบวนการนักศึกษาของช่วงปีทศวรรษที่ 60s. นีโอ-มาร์กซิสม์เป็นที่รู้จักภายใต้ป้ายฉลากกว้างๆว่า ความคิดซ้ายให