บทความ
คำป่าวร้องของขบวนการทางสังคมจากทั่วโลก
คำป่าวร้องของขบวนการทางสังคมจากทั่วโลก
ณ ปอร์โต อเลเกร ประเทศบราซิล 27 มกราคม 2546
เรามาประชุมกันที่เมืองปอร์โต อเลเกร ภายใต้เงาวิกฤตที่กำลังคุกคามโลก ความมุ่งร้ายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ตั้งป้อมจะทำสงครามกับอิรักเป็นอันตรายต่อพวกเราทุกคน และเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างลัทธิการทหารกับการครอบงำทางเศรษฐกิจอย่างโดดเด่น
ในเวลาเดียวกัน โลกาภิวัตน์แนวเสรีนิยมใหม่เองก็กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ดังจะเห็นได้จากความวิตกอยู่ทุกขณะว่าเศรษฐกิจจะถดถอยทั่วโลก ความทุจริตของบรรษัทเป็นข่าวอื้อฉาวอยู่ทุกวี่วัน และกำลังเปิดโปงความเป็นไปที่แท้จริงของลัทธิทุนนิยม
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกำลังขยายใหญ่ขึ้น เป็นอันตรายที่กำลังคุกคามโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมของเรา สิทธิของเรา และชีวิตของเรา
ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ น้ำ ป่า ดิน และทะเล ถูกใช้เสมือนเป็นสินค้าที่นำออกขายกัน
ทั้งหมดนี้กำลังคุกคามอนาคตของเราที่มีร่วมกัน
เราไม่ต้องการให้เป็นเช่นนี้
เพื่ออนาคตร่วมของเรา
เราคือขบวนการทางสังคมที่กำลังต่อสู้อยู่ทั่วโลก เพื่อต่อต้านโลกาภิวัตน์แนวเสรีนิยมใหม่ รวมทั้งต่อต้านสงคราม ลัทธิเหยียดผิว การแบ่งชั้นวรรณะ ความยากจน ระบบชายเป็นใหญ่ และการเลือกปฏิบัติและกีดกันทุกรูปแบบทางด้านเศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เพศ เราทุกคนกำลังต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมในสังคม ความเป็นพลเมือง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม สิทธิสากล และสิทธิของประชาชนที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง
เรายืนหยัดอยู่ข้างสันติภาพ ความร่วมมือกันระหว่างประเทศ สังคมที่ยั่งยืนซึ่งตอบสนองความจำเป็นของประชาชนด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย สุขภาพ การศึกษา ข้อมูล น้ำ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง และสิทธิมนุษยชน
เรามีความสมานฉันท์กับกลุ่มผู้หญิงที่กำลังต่อสู้กับความรุนแรงในสังคมระบบชายเป็นใหญ่ เราสนับสนุนการต่อสู้ของชาวนาชาวไร่ คนงาน ขบวนการคนเมือง และทุกกลุ่มชนที่กำลังถูกคุกคามด้านที่อยู่อาศัย การมีงานทำ ที่ดิน และสิทธิของพวกเขา
เราได้รวมพลังคนนับล้านเพื่อที่จะประกาศว่าอีกโลกหนึ่งเป็นไปได้ คำประกาศนี้เป็นความจริง และมีความเร่งด่วนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในอดีต
ไม่เอาสงคราม
ขบวนการทางสังคมไม่เห็นด้วยกับลัทธิการทหาร การจัดตั้งฐานทัพเพิ่มขึ้น และการปราบปรามที่รัฐเป็นผู้กระทำ ซึ่งก่อให้เกิดผู้อพยพลี้ภัยจำนวนที่ประมาณมิได้ และบิดเบือนให้การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นอาชญากรรม และคนจนเป็นอาชญากร
เราไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามกับอิรัก การโจมตีประชาชนชาวปาเลสไตน์ ชาวเชเชนยา และชาวเคิร์ด การทำสงครามต่าง ๆ กับอาฟกานิสถาน กับโคลอมเบีย และอาฟริกา และเงาสงครามที่คุกคามเกาหลี เราคัดค้านการรุกรานเวเนซูเอล่าทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง และการปิดกั้นคิวบา และประเทศอื่น ๆ ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
เราไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการทางการทหารและทางเศรษฐกิจที่มุ่งหวังจะครอบงำประเทศต่าง ๆ ด้วยลัทธิเสรีนิยมใหม่ และบั่นทอนอธิปไตยและสันติภาพของปวงประชาทั่วโลก
สงครามได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการครอบงำโลกเชิงโครงสร้างอย่างถาวร โดยการใช้กำลังทหารเข้าควบคุมประชาชนและทรัพยากรที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น น้ำมัน รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรกำลังบังคับใช้สงครามเป็นวิธีการปกติทั่วไปในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เราประนามความพยายามของพวกจักรวรรดินิยมที่จะสร้างความตึงเครียดเพิ่มขึ้นระหว่างศาสนา ชาติพันธุ์ สีผิว ชนเผ่า และกลุ่มชนอื่น ๆ เพื่อที่จะบรรลุผลประโยชน์ส่วนตน
ความเห็นส่วนใหญ่ของสาธารณชนทั่วโลกคัดค้านการทำสงครามกับอิรัก เราขอป่าวร้องให้ขบวนการทางสังคมและพลังก้าวหน้าต่าง ๆ ร่วมกันสนับสนุน เข้าร่วม และจัดการประท้วงสงครามทั่วโลกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มีการวางแผนและประสานงานการประท้วงดังกล่าวกันแล้วในเมืองใหญ่ ๆ กว่า 30 เมืองทั่วโลก
กดดันให้ดับเบิลยูทีโอตกราง
องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เขตการค้าเสรีของทวีปอเมริกา (เอฟทีเอเอ) และข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีและระดับภูมิภาคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย เช่น ข้อตกลงว่าด้วยการเติบโตและโอกาสของอาฟริกา และข้อเสนอการค้าเสรีอเมริกากลาง ล้วนกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือของบรรษัทข้ามชาติเพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางธุรกิจ และครอบงำและควบคุมเศรษฐกิจของเรา และเพื่อบังคับใช้รูปแบบการพัฒนาที่ทำให้สังคมเรายากจนลง ในนามของการเปิดเสรีทางการค้า ทุก ๆ ด้านของชีวิตและธรรมชาติจะกลายเป็นของซื้อของขาย โดยปราศจากหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานใด ๆ ให้แก่ประชาชน บรรษัทข้ามชาติที่ทำธุรกิจการเกษตรกำลังบังคับให้ทุกคนทั่วโลกต้องยอมรับพืชตัดแต่งพันธุกรรม ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเอชไอวี/เอดส์ และโรคระบาดร้ายแรงอื่น ๆ ในอาฟริกา และที่อื่น กำลังถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงยาสูตรสามัญที่ราคาถูก นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ในซีกโลกใต้ยังคงติดกับอยู่ในวงจรหนี้สินที่ไม่มีวันจบสิ้น ทำให้จำต้องเปิดตลาดในประเทศ และส่งออกความมั่งคั่งของตนไปนอกประเทศ
ในปีนี้ การรณรงค์ต่อต้านดับเบิลยูทีโอ เอฟพีเอเอ และการเปิดเสรีทางการค้าจะขยายวงกว้างและมีขนาดใหญ่ขึ้น
เราจะรณรงค์ให้หยุดยั้งและถอยกลับการเปิดเสรีทางด้านการเกษตร น้ำ พลังงาน บริการสาธารณะ และการลงทุน และเรียกร้องเอาอธิปไตยของประชาชนเหนือสังคมของเรา ทรัพยากรของเรา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของเรา และเศรษฐกิจของเรา กลับคืนมา
เรามีความสมานฉันท์กับเกษตรกรเม็กซิโกที่กล่าวว่า เกษตรกรสุดจะทนแล้ว และด้วยจิตวิญญาณเดียวกัน เราจะระดมพลังเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากลเพื่อกดดันให้การเจรจาดับเบิลยูทีโอและเอฟพีเอเอตกรางไป เราสนับสนุนการเคลื่อนไหวทั่วโลกเพื่อต่อสู้เพื่ออธิปไตยเหนืออาหาร และต่อต้านรูปแบบการเกษตร การผลิต และการแจกจ่ายอาหารตามแนวเสรีนิยมใหม่ที่ให้ตลาดเป็นตัวกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะจัดการประท้วงของมวลชนทั่วโลกในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 5 ของดับเบิลยูทีโอ ที่คันคุน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนกันยายน และระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีของเอฟพีเอเอ ที่ไมอามี่ สหรัฐอเมริกา ในเดือนตุลาคม 2546
ยกเลิกหนี้
การยกเลิกหนี้ทั้งหมดของประเทศโลกที่สามโดยปราศจากเงื่อนไข เป็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เราจะสนับสนุนประเทศลูกหนี้ใดก็ตามที่ตัดสินใจหยุดชำระคืนหนี้ต่างชาติ และยกเลิกข้อตกลงที่มีกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจต่าง ๆ การขูดรีดประชาชน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในโลกที่สาม ที่ทำกันมาหลายศตวรรษเป็นเหตุผลที่ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับการชำระคืนเช่นกัน เรามีคำถามว่า ใครเป็นหนี้ใครกันแน่ ประเด็นเหล่านี้จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาในการรณรงค์หลัก ๆ ในปี 2546 ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจ จี 8 (เมืองเอเวียง เดือนมิถุนายน) ดับเบิลยูทีโอ (เมืองคันคุน เดือนกันยายน) และการประชุมประจำปีของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก (กรุงวอชิงตัน เดือนกันยายน)
คัดค้านกลุ่มจี 8
เราเรียกร้องให้ขบวนการทางสังคมและกลุ่มพลังก้าวหน้าทั้งหลาย เข้าร่วมระดมพลังเคลื่อนไหวประนามความไม่ชอบธรรมของกลุ่มประเทศมหาอำนาจจี 8 และปฏิเสธนโยบายของกลุ่มนี้ ซึ่งจะมีการประชุมกันที่เมืองเอเวียง ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2546 การเคลื่อนไหวนี้จะจัดขึ้นทั่วโลก และจะมีการชุมนุมนานาชาติที่เมืองเอเวียง ซึ่งจะรวมถึงการประชุมสุดยอดทางเลือก ค่ายพักแรมทางเลือก และการแสดงพลังประชาชนนานาชาติครั้งใหญ่
ผู้หญิง: การสร้างความเสมอภาพ
เราเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการที่ขบวนการผู้หญิงส่งเสริมให้มีขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสตรีสากล เพื่อต่อสู้กับความรุนแรงทุกรูปแบบ และกับระบบชายเป็นใหญ่ เพื่อสร้างสรรค์ความเสมอภาคทางสังคมและการเมือง
ด้วยสมานฉันท์
เราเรียกร้องความสมานฉันท์จากกลุ่มพลัง ขบวนการ และองค์กรทางสังคมที่ก้าวหน้าทั้งหลายทั่วโลก ให้แก่ประชาชนในปาเลสไตน์ เวเนซูเอล่า โบลิเวีย และที่อื่น ๆ ที่กำลังเผชิญวิกฤตที่รุนแรง และกำลังต่อสู้กับการครอบงำของจักรวรรดิอยู่ในขณะนี้
เราป่าวร้องต่อประชาชน
เนื่องจากเรามีความเชื่ออย่างจริงจังว่าอีกโลกหนึ่งเป็นไปได้ และอีกหลายโลกก็เป็นไปได้ เพราะเราได้เริ่มสร้างสรรค์มันขึ้นแล้วด้วยความมุ่งมั่นของเรา การต่อสู้ของเรา และการประชุมนานาชาติของเรา เราจึงตั้งใจมั่นที่จะก้าวเดินต่อไป และเสริมความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันให้เข้มแข็ง เพื่อต่อต้านสงครามและความยากจน เพื่อสันติภาพและความยุติธรรมในสังคม
กระชับเครือข่ายระหว่างประเทศของเรา
เมื่อปีที่แล้ว ในเวทีสังคมโลกที่ปอร์โต อเลเกร เราได้รับรองคำประกาศปอร์โต อเลเกร ครั้งที่ 2 ที่ระบุจุดมุ่งหมาย การต่อสู้ และวิถีทางของเราที่จะสร้างแนวร่วมระหว่างประเทศ จิตวิญญาณของคำประกาศนั้นยังคงอยู่กับเรา และจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่การเคลื่อนไหวที่จะมาถึง
ตั้งแต่นั้นมา โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเรารู้สึกถึงความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการใหม่ในกระบวนการตัดสินใจของพวกเรา ในการประสานแนวร่วมระหว่างพวกเราด้วยกัน และเห็นความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมระเบียบวาระที่มีขอบเขตกว้างขวาง ก้าวหน้า เป็นประชาธิปไตย หลากหลาย สากล แนวเฟมินิสต์ ไม่เลือกปฏิบัติ และต่อต้านวาระของจักรวรรดินิยม
บัดนี้เราต้องการจะสร้างกรอบการวิเคราะห์และความมุ่งมั่นให้แก่การเคลื่อนไหวของพวกเรา ซึ่งจำเป็นต้องมีการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของขบวนการทุกหมู่เหล่า โดยคำนึงไว้เสมอว่าเวทีสังคมทั้งหลายเป็นอิสระจากรัฐบาลและพรรคการเมือง (ดังที่ระบุไว้ในตราสารหลักการ) และโดยเคารพความเป็นตัวของตัวเอง กรอบที่ว่านี้จะได้รับการเสริมสร้างจากการที่ผู้ที่เคลื่อนไหวทางสังคมที่แตกต่างกันทุกกลุ่มเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการปฏิบัติต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ กรอบนี้จะสนองรูปแบบการแสดงออกและการจัดตั้งทางการเมืองที่แตกต่างกันของขบวนการทางสังคมต่าง ๆ และเคารพต่อความหลากหลายทางอุดมการณ์และวัฒนธรรม
เรารู้สึกว่ามีความจำเป็นที่จะต้องก่อตั้งเครือข่ายของขบวนการต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของเรา มีความยืดหยุ่น และยั่งยืน พร้อมกันนั้นก็มีขอบเขตกว้างขวางและโปร่งใสด้วย หน้าที่ความรับผิดชอบของเครือข่ายนี้คือการยกระดับกระบวนการแลกเปลี่ยน ส่งเสริมความหลากหลาย และประสานงานในระดับที่จำเป็น จุดมุ่งหมายของเครือข่ายคือการเพิ่มพูนความข้องเกี่ยวปฏิสัมพันธ์ของขบวนการต่าง ๆ ทั่วโลกในวาทะกรรมด้านการเมืองที่ลงลึกมากขึ้น เพื่ออำนวยให้เกิดปฏิบัติการร่วม และสร้างเสริมความเข้มแข็งให้แก่การริเริ่มของกลุ่มผู้ที่ต่อสู้เชิงรูปธรรมเพื่อผลประโยชน์ของสังคม งานของเครือข่ายควรจะมีลักษณะเป็นแนวนอนและมีประสิทธิผล
เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว เราเสนอให้สร้างกลุ่มแกนผู้ทำหน้าที่เชื่อมต่อ (Contact Group) ให้เป็นแหล่งทรัพยากรและเป็นเครื่องมือในการระดมพลังเคลื่อนไหวระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดเตรียมการประชุมต่างๆ ส่งเสริมวาทะกรรมและประชาธิปไตย โดยการจัดทำเว็ปไซด์ และรายชื่อที่อยู่ของสมาชิก กลุ่มแกนนี้จะจัดตั้งขึ้นเป็นเวลา 6-12 เดือน และจะนำประสบการณ์ที่ผ่านมาของกลุ่มที่สนับสนุนเครือข่ายการรวมตัวของขบวนการทางสังคม และขบวนการประชาชนในประเทศบราซิลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
การจัดโครงสร้างเช่นนี้เป็นการจัดในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อเป็นหลักประกันความต่อเนื่อง งานหลักของกลุ่มเฉพาะกาลนี้ คือการอำนวยให้เกิดวาทะกรรมของขบวนการทางสังคมทั่วโลก เพื่อกำหนดขั้นตอนและกระบวนการที่จะทำงานร่วมกันขึ้นมา เป็นกระบวนการที่ดำรงต่อเนื่อง จะมีการทบทวนการทำงานของกลุ่มแกนครั้งแรกในการประชุมต่าง ๆ ของเครือข่ายขบวนการทางสังคมในช่วงของการระดมพลังเคลื่อนไหวต่อต้านดับเบิลยูทีโอที่คันคุน ในเดือนกันยายน 2546 การทบทวนครั้งที่สองจะมีขึ้นในประการประชุมของเครือข่ายขบวนการทางสังคม ในระหว่างเวทีสังคมโลกครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นที่ประเทศอินเดีย ในปี 2547
ในการทบทวนดังกล่าว นอกจากเรื่องอื่น ๆ แล้ว จะพิจารณาถึงประสิทธิผลของการประสานงานที่ผ่านมา และแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มพูนประสิทธิผล และจะพิจารณาวางแนวทางการทำงานในปีต่อไป รวมทั้งวิธีการที่จะประสานกับขบวนการทางสังคมในระดับชาติและระดับภูมิภาค และหัวข้อที่การทำงานรณรงค์ร่วมกัน ในระหว่างนี้ เราจำเป็นต้องมีการถกกันครั้งใหญ่ระหว่างองค์กร กลุ่มรณรงค์ และเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อที่จะแสวงหาข้อเสนอสำหรับการจัดตั้งโครงสร้างการรวมตัวที่ถาวรและเป็นตัวแทนของพวกเราได้จริง
ในช่วงหลายเดือนข้างหน้านี้ เราจะมีโอกาสได้ทดลอง ปรับปรุง และสรรค์สร้างกระบวนการทำงานผ่านการรณรงค์และการเคลื่อนไหวของพวกเรา
เราขอป่าวร้องให้เครือข่ายทั้งหลาย ขบวนการประชาชนและขบวนการทางสังคมทั้งหลาย ร่วมกันลงนามในคำประกาศนี้ภายใน 2 เดือน
โปรดส่งชื่อของเครือข่าย องค์การ ขบวนการของท่านไปที่ movsoc@uol.com.br
WORLD SOCIAL FORUM
CONFRONTING EMPIRE
ARUNDHATI ROY
I'VE been asked to speak about "How to confront Empire?" It's a huge question, and I have no easy answers.
When we speak of confronting "Empire," we need to identify what "Empire" means. Does it mean the U.S. government (and its European satellites), the World Bank, the International Monetary Fund, the World Trade Organisation, and multinational corporations? Or is it more than that?
In many countries, Empire has sprouted other subsidiary heads, some dangerous byproducts ? nationalism, religious bigotry, fascism and, of course, terrorism. All these march arm in arm with the project of corporate globalisation.
Let me illustrate what I mean. India ? the world's biggest democracy ? is currently at the forefront of the corporate globalisation project. Its "market" of one billion people is being prised open by the WTO.Corporatisation and Privatisation are being welcomed by the government and the Indian elite.
It is not a coincidence that the Prime Minister, the Home Minister, the Disinvestment Minister ? the men who signed the deal with Enron in India,the men who are selling the country's infrastructure to corporate multinationals, the men who want to privatise water, electricity, oil, coal, steel, health, education and telecommunication ? are all members or admirers of the RSS. The RSS is a right wing, ultra-nationalist Hindu guild, which has openly admired Hitler and his methods.
The dismantling of democracy is proceeding with the speed and efficiency of a Structural Adjustment Programme. While the project of corporate globalisation rips through people's lives in India, massive privatisation, and labour "reforms" are pushing people off their land and out of their jobs. Hundreds of impoverished farmers are committing suicide by consuming pesticide. Reports of starvation deaths are coming in from all over the country.
While the elite journeys to its imaginary destination somewhere near the top of the world, the dispossessed are spiralling downwards into crime and chaos.
This climate of frustration and national disillusionment is the perfect breeding ground, history tells us, for fascism.The two arms of the Indian government have evolved the perfect pincer action. While one arm is busy selling India off in chunks, the other, to divert attention, is orchestrating a howling, baying chorus of Hindu nationalism and religious fascism. It is conducting nuclear tests,rewriting history books, burning churches, and demolishing mosques.
Censorship, surveillance, the suspension of civil liberties and human rights, the definition of who is an Indian citizen and who is not, particularly with regard to religious minorities, is becoming common practice now.
Last March, in the state of Gujarat, two thousand Muslims were butchered in a state-sponsored pogrom. Muslim women were specially targeted. They were stripped, and gang-raped, before being burned alive. Arsonists burned and looted shops, homes, textiles mills and mosques. More than a hundred and fifty thousand Muslims have been driven from their homes. The economic base of the Muslim community has been devastated.
While Gujarat burned, the Indian Prime Minister was on MTV promoting his new poems. In January this year, the government that orchestrated the killing was voted back into office with a comfortable majority. Nobody has been punished for the genocide. Narendra Modi, architect of the pogrom, proud member of the RSS, has embarked on his second term as the Chief Minister of Gujarat. If he were Saddam Hussein, of course each atrocity would have been on CNN. But since he's not ? and since the Indian "market" is open to global investors ? the massacre is not even an embarrassing inconvenience.
There are more than one hundred million Muslims in India. A time bomb is ticking in our ancient land.
All this to say that it is a myth that the free market breaks down national barriers. The free market does not threaten national sovereignty, it undermines democracy.
As the disparity between the rich and the poor grows, the fight to corner resources is intensifying. To push through their "sweetheart deals," to corporatise the crops we grow, the water we drink, the air we breathe, and the dreams we dream, corporate globalisation needs an international confederation of loyal, corrupt, authoritarian governments in poorer countries to push through unpopular reforms and quell the mutinies.
Corporate Globalisation ? or shall we call it by its name? ? Imperialism ?needs a press that pretends to be free. It needs courts that pretend to dispense justice.
Meanwhile, the countries of the North harden their borders and stockpile weapons of mass destruction. After all they have to make sure that it's only money, goods, patents and services that are globalised. Not the free movement of people. Not a respect for human rights. Not international treaties on racial discrimination or chemical and nuclear weapons or greenhouse gas emissions or climate change, or ? god forbid ? justice.
So this ? all this ? is "empire." This loyal confederation, this obscene accumulation of power, this greatly increased distance between those who make the decisions and those who have to suffer them.
Our fight, our goal, our vision of Another World must be to eliminate that distance.
So how do we resist "Empire"?
The good news is that we're not doing too badly. There have been major victories. Here in Latin America you have had so many ? in Bolivia, you have Cochabamba; in Peru, there was the uprising in Arequipa; in Venezuela, President Hugo Chavez is holding on, despite the U.S. government's best efforts.
And the world's gaze is on the people of Argentina, who are trying to refashion a country from the ashes of the havoc wrought by the IMF.
In India the movement against corporate globalisation is gathering momentum and is poised to become the only real political force to counter religious fascism.
As for corporate globalisation's glittering ambassadors ? Enron, Bechtel, WorldCom, Arthur Anderson ? where were they last year, and where are they now?
And of course here in Brazil we must ask... who was the president last year, and who is it now?
Still... many of us have dark moments of hopelessness and despair. We know that under the spreading canopy of the War Against Terrorism, the men in suits are hard at work.
While bombs rain down on us, and cruise missiles skid across the skies, we know that contracts are being signed, patents are being registered, oil pipelines are being laid, natural resources are being plundered, water is being privatised, and George Bush is planning to go to war against Iraq. If we look at this conflict as a straightforward eyeball-to-eyeball confrontation between "Empire" and those of us who are resisting it, it might seem that we are losing.
But there is another way of looking at it. We, all of us gathered here, have, each in our own way, laid siege to "Empire." We may not have stopped it in its tracks ? yet ? but we have stripped it down. We have made it drop its mask. We have forced it into the open. It now stands before us on the world's stage in all its brutish, iniquitous nakedness.
Empire may well go to war, but it's out in the open now ? too ugly to behold its own reflection. Too ugly even to rally its own people. It won't be long before the majority of American people become our allies. Only a few days ago in Washington, a quarter of a million people marched against the war on Iraq. Each month, the protest is gathering momentum.
Before September 11, 2001 America had a secret history. Secret especially from its own people. But now America's secrets are history, and its history is public knowledge. It's street talk.
Today, we know that every argument that is being used to escalate the war against Iraq is a lie. The most ludicrous of them being the U.S. government' s deep commitment to bring democracy to Iraq. Killing people to save them from dictatorship or ideological corruption is, of course, an old U.S. government sport. Here in Latin America, you know that better than most.
Nobody doubts that Saddam Hussein is a ruthless dictator, a murderer (whose worst excesses were supported by the governments of the United States and Great Britain). There's no doubt that Iraqis would be better off without him.
But, then, the whole world would be better off without a certain Mr. Bush. In fact, he is far more dangerous than Saddam Hussein. So, should we bomb Bush out of the White House?
It's more than clear that Bush is determined to go to war against Iraq, regardless of the facts ? and regardless of international public opinion. In its recruitment drive for allies, the United States is prepared to invent facts. The charade with weapons inspectors is the U.S. government's offensive, insulting concession to some twisted form of international etiquette. It's like leaving the "doggie door" open for last minute "allies" or maybe the United Nations to crawl through.
But for all intents and purposes, the New War against Iraq has begun.
What can we do?
We can hone our memory, we can learn from our history. We can continue to build public opinion until it becomes a deafening roar. We can turn the war on Iraq into a fishbowl of the U.S. government's excesses. We can expose George Bush and Tony Blair ? and their allies ? for the cowardly baby killers, water poisoners, and pusillanimous long-distance bombers that they are. We can re-invent civil disobedience in a million different ways. In other words, we can come up with a million ways of becoming a collective pain in the ass.
When George Bush says, "you're either with us, or you are with the terrorists," we can say "No thank you." We can let him know that the people of the world do not need to choose between a Malevolent Mickey Mouse and the Mad Mullahs. Our strategy should be not only to confront empire, but to lay siege to it.
To deprive it of oxygen. To shame it. To mock it. With our art, our music, our literature, our stubbornness, our joy, our brilliance, our sheerrelentlessness ? and our ability to tell our own stories. Stories that are different from the ones we're being brainwashed to believe.
The corporate revolution will collapse if we refuse to buy what they are selling ? their ideas, their version of history, their wars, their weapons, their notion of inevitability. Remember this: We be many and they be few. They need us more than we need them.
หมายเหตุ อรุณดาธี รอย นักประพันธ์ และกวีร่วมสมัยชาวอินเดีย ที่กล่าวสุนทรพจน์ในวันปิดประชุมเวทีสังคมโลกที่บราซิล วันที่ 27 มกราคม 2546