บทความ
หมายเหตุกาล
หมายเหตุกาล
๒๓๒๕ กรุงเทพฯ เป็นราชธานี
๒๓๔๕ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) อำนวยการแปล สามก๊ก
๒๔๑๕ เทียนวรรณเริ่มเขียนบทความ
๒๔๒๒ ก.ศ.ร. กุหลาบ ตีพิมพ์หนังสือ นิราศยี่สาร
๒๔๒๘ คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓
๒๔๔๑ ก่อตั้งสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๔๕๔ กบฎ ร.ศ. ๑๓๐
๒๔๖๑ ๒๑ กรกฎาคม ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยทดลอง
๒๔๖๕ ถวัติ ฤทธิเดช เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "กรรมกร"
๒๔๖๘ นรินทร์(กลึง) เรียกร้องให้มีการฟื้นฟูการบวชสามเณรีและภิกษุณีในสยาม
๒๔๖๙ คณะอภิวัฒน์ประชุมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ Rue de summerard
๒๔๗๒ ศรีบูรพาก่อตั้งคณะสุภาพบุรุษ และออกหนังสือสุภาพบุรุษเป็นรายปักษ์
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เขียน ละครแห่งชีวิต
๒๔๗๔ เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป ตีพิมพ์กามนิต เป็นครั้งแรก
๒๔๗๕ ๑๒ พฤษภาคม อินทปัญโญภิกษุก่อตั้งสวนโมกขพลาราม
๒๔ มิถุนายน คณะราษฎร์ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง
๑๐ ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญ
๒๔๗๖ สามเณรกรุณา กุศลาสัย จาริกทางเท้าสู่้อินเดียพร้อมกับพระโลกนาถ
กบฏบวรเดช
๑๕ กันยายน ถวัติ ฤทธิเดช ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ข้อหาหมิ่นประมาท
๒๔๗๗ ๒ มีนาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ
เปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
๒๔๗๙ รัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ในพระบรมราชูปถัมภ์
๒๔๘๔ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก
๒๔๘๘ ๑๕ สิงหาคม อเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิ
๕ ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติประเทศไทย
ระวี ภาวิไล เป็นอาจารย์มหาิวิทยาลัยเมื่ออายุได้เพียง ๑๙ ปี
๒๔๘๙ ๙ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคต
๒๔๙๐ ๘ พฤศจิกายน รัฐประหาร
๒๔๙๒ ๒๖ กุมภาพันธ์ กบฏวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ลี้ภัยไปอยู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
๒๔๙๕ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ กบฎสันติภาพ ศรีบูรพาถูกจับ
๒๔๙๘ ก่อตั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
๒๔๙๙ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาสหประชาชาติ
๒๕๐๐ กำเนิดสมาคมนักเรียนไทยในรัฐเยอรมัน ในพระบรมราชูปถัมภ์
๒๕๐๑ จิตร ภูมิศักดิ์ เขียน "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"
๒๕๐๒ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
๒๕๐๕ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นบรรณาธิการ "สังคมศาสตร์ปริทัศน์" นิตยสารรายเดือน
๒๕๐๔ สามเณร ป.อ. ปยุตโต ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์อุปสมบทเป็นนาคหลวง
๒๕๑๓ เรืองอุไร - กรุณา กุศลาสัย เริ่มแปลงานทางภารตวิทยาร่วมกัน
๒๕๑๕ ธีรยุทธ บุญมี เป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
๒๕๑๖ ๑๔ ตุลาคม ธีรยุทธ บุญมี และเสกสรรค์ ประเสิรฐกุล เป็นผู้นำนักศึกษา เรียกร้องรัฐธรรมนูญ
เสน่ห์ จามริก เป็นสมาชิกสภาินิติบัญญัติ
๒๕๑๘ ระพี สาคริก รับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒๕๑๙ ประเวศ วะสี รับตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เริ่มเขียนหนังสือและบทความ จนถึงปัจจุบันมีงานเขียนกว่า ๒๐๐๐ ชิ้น
๖ ตุลาคม กลุ่มผู้นำนักศึกษา ธงชัย วินิจจะกุล สุรชาติ บำรุงสุข สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ประยูร อัครบวร และสุธรรม แสงประทุม ถูกจำขัง ป๋วย อึ๊งภากรณ์ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ
๒๕๒๓ กลุ่มนักศึกษาที่เข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทยอยกันกลับเข้าเมือง
๒๕๒๖ พระไพศาล วิสาโลเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์
๒๕๓๕ พฤษภาทมิฬ ประชาชนรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร รสช. และเรียกร้องประชาธิปไตย มีผู้บาดเจ็บล้มตาย รสช. ยอมคืนอำนาจ และออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง
๒๕๓๗ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากยูเนสโก
๒๕๔๕ ๑๑ กันยายน ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสารพุ่งชนเวิร์ลเทรดเซนเตอร์
๒๕๔๗ กำเนิดกลุ่มวงล้อ และกลุ่มสยามเสวนา
๒๘ เมษายน กรณีกรือเซะ เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหามุสลิมที่อยู่ในมัสยิดกรือเซะ
๒๕ พฤศจิกายน กรณีตากใบ ผู้ชุมนุมประท้วงชาวมุสลิมถูกจับ และถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมขณะควบคุมตัว ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
๒๖ ธันวาคม แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิท่วมชายฝั่งอินโดนีเซีย ไทย พม่า ศรีลังกา อินเดีย ฯลฯ มีผู้เสียชีวิตกว่าสองแสนราย
*ท่านสามารถเพิ่มเติมเรื่องที่น่าสนใจลงไปได้อีก
อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/siamintellect/timeline.htm