บทความ

เผยโฉม 7 นวนิยายดีชิงซีไรต์ ปี 52

by kai @July,05 2009 13.57 ( IP : 222...218 ) | Tags : บทความ

เผยโฉม 7 นวนิยายดีชิงซีไรต์ ปี 52 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2552 06:39 น.

โค้งสุด ท้ายกันแล้ว สำหรับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ ที่คณะกรรมการเพิ่งประกาศรายชื่อนวนิยายที่เข้ารอบสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้มีผลงานถูกส่งเข้าชิงทั้งหมด 76 เรื่อง และมีผลงานที่เข้าตากรรมการ 7 เรื่อง คือ

  1. เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี
  2. ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม
  3. ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง
  4. โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
  5. ลับแล, แก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
  6. โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี
  7. วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล

อ่านรายละเอียดด้านในนะครับ


1. เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี

เรื่อง ราวที่ซ้อนกันระหว่างประวัติศาสตร์จีนสมัยหลังสามก๊กกับเรื่องราวของหลอ กว้านจง ผู้แต่งสามก๊กฉบับซึ่งเป็นที่มาของวรรณคดีเอกของไทย และหลัวเซียง ลูกสาวของเขาซึ่งในเรื่องเธอเป็นผู้แต่งวรรณคดีจีนเรื่องอื่น เรื่องราวทั้งสองดำเนินคู่ขนานกันมาหลายยุคหลายสมัยไปจนตลอดนวนิยายเรื่อง นี้ กลวิธีนี้เปิดเผยให้เห็นความเหลื่อมซ้อนกันของประวัติศาสตร์ ตำนาน และนิยาย ที่ต่างก็ถูกเล่า เช่นเดียวกับนวนิยายเรื่องนี้เองที่ผู้เล่าปรากฏตัวในตอนท้ายเรื่องอย่าง คลุมเครือ นวนิยายเรื่องนี้จึงมิใช่เพียงการหยิบเอาเกร็ดประวัติศาสตร์มาเล่าซ้ำ หากแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเรื่องเล่าของประวัติศาสตร์ ความไร้ตัวตนของความจริง และแม้กระทั่งความไร้ตัวตนของผู้เล่าเอง

นวนิยาย เรื่องนี้ได้เปิดมุมมองใหม่ในการเขียนและอ่านเรื่องเล่าเกี่ยวกับอดีต เตือนให้นักเขียนและนักอ่านตระหนักถึงความลวงของการเล่าเรื่อง และความเป็นไปได้ที่ว่า ความจริงที่แท้แล้วก็อาจเป็นแค่เพียงเงาฝันของผีเสื้อ

2. ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม

นวนิยายที่อลังการด้วยสำนวนภาษาและกระบวนการแห่งมโนทัศน์ ซึ่งเคลื่อนผ่านกาลเวลาและครรลองชีวิตมาตั้งแต่อดีต จนก่อเป็นผลึกอันวิจิตรในดวงใจของมนุษย์คนหนึ่ง ท่ามกลางกระแสธารอันเชี่ยวไหลของท้องทะเลชีวิตอันไพศาล

ทะเลน้ำนม เป็นดั่งเช่นท้องทะเลที่มรสุมแห่งลัทธิวัตถุนิยมถาโถมอยู่ตลอดกาล ทั้งกลางวันและกลางคืน สรรพสิ่งล้วนถูกกลืนหายไปกับสายธารและคลื่นร้าย ไม่อาจแหวกว่ายผ่านพ้นได้อย่างปลอดภัยเลย นับประสาอะไรกับมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง แม้ว่าจะได้รับการอบรมและพร่ำสอนมาด้วยจารีตประเพณีอันงดงามแต่บรรพชนเพียง ไร ก็ไม่อาจสลัดพ้นจากมหันตภัยนั้นได้

มนุษย์คนหนึ่งจึงพยายามขัดขืนและเฝ้าถวิลหาบางสิ่งบางอย่าง เพื่อปลอบประโลมใจตนเอง หวังว่าเผ่าพันธุ์บรรพชนและครรลองชีวิตแห่งอดีต จะช่วยนำพาให้ข้ามผ่านทะเลชีวิตได้อย่างมั่นคง แต่สุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็เป็นเพียงดังเศษธุลีอันหาค่ามิได้ อย่าได้ถวิลถึงฝั่งฟากอันเกษมเลย ใครๆ ก็ไม่มีวันรู้เลยว่ามันอยู่ที่แห่งใด

ชัชวาลย์ โคตรสงคราม สร้างสรรค์นิยายเรื่องนี้ด้วยรูปแบบและสำนวนภาษาอันน่าตื่นตาตื่นใจ เขาจารจารึกถึงเรื่องเล่าและวรรณคดีโบราณจากสองฟากฝั่งลำน้ำโขง หลอมรวมไว้ด้วยกระบวนการทางมโนทัศน์อันแยบคาย ท้าทายให้เราค้นหาและล่องลอยไปในท้องทะเลแห่งตัวอักษรที่เขาสร้างสรรค์ขึ้น พร้อมด้วยคำถามที่อาจเกิดขึ้นในใจเราว่า แล้วเราล่ะ เราจะข้ามผ่านธารอักษรเหล่านั้นไปได้ไกลสักเท่าไร เพราะยิ่งอ่านก็เหมือนว่า เราก็คือมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งที่ต้องว่ายวนต่อไปอย่างไม่รู้จบ จนกว่าจะพบนาวาสักลำที่นำเราได้ก้าวผ่านคลื่นร้ายและท้องทะเลอันไพศาลนี้พ้น

3. ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง

นวนิยาย เรื่องประเทศใต้ของ ชาคริต โภชะเรือง เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการตามหาสิ่งที่มีคุณค่าซึ่งสูญหายไปจากชีวิตและท้อง ถิ่น โดยการใช้ “มโนห์รา” เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่สูญหาย อันสื่อนัยถึงคุณค่าที่เคยมีพลังแนบแน่นอยู่ในวิถีชีวิต และร้อยรัดผู้คนกับสรรพสิ่งต่างๆ ให้ยึดโยงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ผู้เขียนสร้างความคลุมเครือให้ “มโนห์รา” เป็นคุณค่าทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม โดยใช้กลการประพันธ์ให้ผู้อ่านต้องขบคิด ตีความ และร่วมรับรู้ไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาของท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลา ชี้ให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำซาก ผู้คนในท้องถิ่นยังต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่มักจะหวนกลับมาซ้ำรอยเดิมอยู่ เสมอ ผ่านการเล่าเรื่องที่เดินไปข้างหน้า ทว่ากลับหวนคำนึงถึงอดีตที่ผ่านเลยอยู่ตลอดเวลา ราวกับว่าคุณค่าที่ติดตามหาอยู่นั้น มิได้อยู่ห่างไกล แต่อยู่ในจิตใจของผู้คน เฉกเช่นกับท่ารำของมโนห์ราซึ่งเปรียบได้กับท่วงท่าปางหนึ่งของพระพุทธรูป อันอุดมด้วยศิลปะที่น้อมนำให้ผู้คนมีจิตใจบริสุทธิ์และมีสติ

แม้ ผู้เขียนจะสร้างให้นวนิยายเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องราวของปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ แต่ผู้อ่านก็ประหวัดถึงท้องถิ่นภาคใต้ของประเทศไทยได้อย่างไม่ยากนัก นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นนวนิยายที่สะท้อนปัญหาสังคมท้องถิ่นภาคใต้ได้อย่าง มีชั้นเชิงทางวรรณศิลป์เป็นอย่างยิ่ง

4. โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์

มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน ยากที่จะตีกรอบขอบเขตและกำหนดตัวตนที่ชัดเจน ในบรรดาศาสตร์ทั้งหมด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่สุด ชนิดเรียนกันได้ไม่รู้จบ "โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก" ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์ เป็นนวนิยายที่แสดงให้เห็นถึงตัวตนอันซับซ้อนของคนเรา บางครั้งเราคิดว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ แต่บางคราเรากลับกลายเป็นเด็กเล็กๆ ขณะหนึ่งเราอาจเป็นผู้ชายเต็มตัว แต่ในอีกขณะกลับไม่ใช่เสียแล้ว เราชื่นชอบบางตัวตนของเรา หากแต่พร้อมกันนั้นเราก็ชิงชังบางตัวตนที่ซ่อนอยู่ หลายหนเราอยากโอบกอดบางด้านในตัวเรา แต่อีกหลายหนเรากลับอยากผลักไส ทะเลาะ และทุ่มเถียง ยิ่งเพ่งพินิจเข้าไปในตัวเอง เรายิ่งเห็นตัวตนที่หลากหลายมากขึ้น มันเต็มไปด้วยรายละเอียดที่แตกแขนงออกไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด จนน่าแปลกใจว่าเราแต่ละคนต่างมีตัวตนทุกแบบอยู่ภายในตัวเอง

ความ เข้าใจที่ต่อตัวเรา นำไปสู่ความเข้าใจที่มีต่อผู้คนอื่น เพราะทุกคนต่างก็มีความสลับซับซ้อน มีด้านที่ดีงาม ร้ายกาจ สดสวย และอัปลักษณ์อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น "ความเป็นฉัน" และ "ความเป็นเขา" แท้จริงจึงไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ระบบการศึกษาในโลกปัจจุบัน มักสร้างคนเพื่อเข้าสู่สายการทำงานต่างๆ แต่กลับละเลยที่จะให้บทเรียนที่สำคัญและมีคุณค่าที่สุด นั่นก็คือการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง เราถูกผลักให้มองออกไปข้างนอก จนไม่เคยเห็นความสำคัญของการมองเข้าไปข้างใน นวนิยายเรื่องนี้ได้ทำให้เราได้ฉุกคิดว่า บางทีแนวทางการศึกษาที่ผ่านมาอาจพามนุษย์ให้เดินหลงทางเพราะการเรียนที่แท้ จริงนั้นมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือการเรียนรู้จักชีวิตโดยผ่านทางตัวของเราเอง

5. ลับแล, แก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล

มนุษย์ พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับอัตลักษณ์หรือตัวตนในท่ามกลางสังคมที่กำหนดหรือคาด หวังให้เขา “เป็น” จนบางครั้งเราอาจต้องตั้งคำถามว่า เราเป็นปัจเจกชนที่มีวิญญาณอิสระ หรือเป็นเพียงผลผลิตจากพิมพ์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นมา

นวนิยาย เรื่อง ลับแล, แก่งคอย เสนอมิติอันซับซ้อนของตัวตนมนุษย์ที่แยกไม่ออกจากประวัติความเป็นมาของครอบ ครัว ชาติพันธุ์ ชุมชน สังคม ความเชื่อ ตำนาน เรื่องเล่า ฯลฯ ในความเป็น “เรา” จำต้องโยงใยกับ “ความเป็นอื่น” หรืออีกนัยหนึ่ง ความเป็นอื่นนั้นแหละที่สร้างเราขึ้นมา

ลับแล, แก่งคอย เล่าเรื่องชีวิตเด็กชายวัยรุ่นที่ถูกอำนาจแห่ง “ความถูกต้อง” ควบคุมโดยไม่รู้ตัว ความคิดและการดำเนินชีวิตที่ถูกกำหนดไว้นั้นมีพลังอำนาจเกินกว่าจะขัดขืน ชีวิตที่ขาดอิสระจึงเหมือนการเดินวนอยู่ในเขาวงกต ทางออกของเขาที่ดูเหมือนว่ามีอยู่เพียงทางเดียวจึงเกือบนำไปสู่การแตกสลาย ของตัวตน นวนิยายเรื่องนี้จึงทำให้เราตระหนักว่า การตอบคำถาม “ฉันคือใคร?” อาจเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์

6. โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี

โลก ที่เราอาศัยอยู่นี้ได้ผ่านความรุ่งเรืองและเสื่อมสลายมานับครั้งไม่ถ้วน ภัยพิบัตินานาจากธรรมชาติ สงครามและการทำลายล้างที่เกิดโดยน้ำมือมนุษย์ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่สิ้น สุด จนเป็นที่น่าสงสัยว่าเหตุใดมนุษย์จึงมิได้ตระหนักถึงบทเรียนจากอดีต เหตุใดกงล้อประวัติศาสตร์จึงหมุนซ้ำย่ำรอยเดิม

“โลก ใบใหม่ของปอง” ของไชยา วรรณศรี เป็นนวนิยายขนาดสั้นที่พาผู้อ่านโลดแล่นไปกับจินตนาการอันบรรเจิดของเด็กชาย ปอง เด็กน้อยชาวเขมรที่ใช้โลกจินตนาการหลีกหนีจากบาดแผลความเจ็บปวดของสงคราม โลกของปองเล่นล้อกับโลกคู่ขนานระหว่างความเป็นจริงกับมโนนึก เพื่อค้นหาจุดกำเนิดและจุดมุ่งหมายของมนุษยชาติ นับแต่โลกใบเก่าที่มนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิง การสร้างโลกของพระเจ้า น้ำท่วมโลกและเรือโนอาห์ ฯลฯ จนมาถึงโลกใบใหม่ที่แม้สงครามภายในชาติจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ปองก็ต้องเผชิญสงครามในรูปแบบใหม่ในนามของความโลภและความเห็นแก่ตัวของ เพื่อนมนุษย์ ซึ่งเนื้อแท้แล้วก็มิได้แตกต่างจากโลกที่เขาผ่านพบมาในวัยเยาว์

“โลกใบใหม่ของปอง” กระตุ้นให้ผู้อ่านขบคิดว่า ไฉนมนุษย์เราจึงแก่งแย่งชิงอำนาจ

ฆ่าฟันกัน ทั้งๆ ที่มนุษย์ล้วนมีจุดกำเนิดเดียวกันและรอวันแตกดับในวัฏจักรของชีวิตบนโลกใบ เดิม ทำอย่างไรเราจึงสามารถหลีกเลี่ยงกงล้อความชั่วร้ายจากน้ำมือมนุษย์ เพื่อสร้างโลกในอนาคตที่มนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

7. วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล

วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นนวนิยายสะท้อนชีวิตของผู้ผูกพันถวิลถึงสังคมชนบทอันสงบงามอย่างล้ำลึก ที่จำต้องเข้าไปสู้ชีวิตในซอกหลืบของเมืองใหญ่อย่างคับแค้น แม้เมื่อดวงวิญญาณได้หวนคืนสู่ถิ่นเกิดดังปรารถนา กลับพบกับความล่มสลายของสังคมที่ถูกกลืนกินด้วยโรงงานและทุนนิยมยุคโลกาภิ วัตน์ อันเกิดจากหัวใจผู้คนที่ละโมบ โง่เขลา และเนรคุณต่อแผ่นดิน ซึ่งนำไปสู่ความแตกหัก พลัดพราก เสื่อมโทรมและสูญสิ้น จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมแห่งจิตวิญญาณที่ถูกเนรเทศ

ผู้แต่งเล่าเรื่องอย่างสมจริงและเหนือจริง คู่ขนานทั้งด้านกายภาพและด้วยจิตวิญญาณ โดยผ่านมุมมองทางนิเวศวิทยาและพุทธปรัชญาได้อย่างลึกซึ้ง และด้วยชั้นเชิงทางวรรณศิลป์ที่แนบเนียนละมุนละไม จึงทำให้ภาพสะท้อนอันหม่นมัวสะเทือนอารมณ์และมีเสน่ห์ชวนให้ติดตามเป็นอย่าง ยิ่ง

รู้อย่างนี้แล้ว สาวกคอนวนิยายห้ามพลาดที่จะหานวนิยายเหล่านี้มาอ่านกันน๊ะจ๊ะ...

แสดงความคิดเห็น

« 4071
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซท์
"ก๊วนปาร์ตี้"
เว็บไซท์นี้เปิดมาเพื่อ เป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับบันทึกเรื่องราว ทางด้านวรรณกรรม ทุกรูปแบบ ท่านสามารถส่งบทความ - เรื่องสั้น - บทกวี เพื่อมาแลกเปลี่ยนกันอ่าน โดยคลิกส่งได้จากด้านล่างนี้
คลิกเพื่อ >> ส่งบทความ | ส่งเรื่องสั้น | ส่งบทกวี | ปกิณกะ