บทความ
ปาฐกถาล่าสุด 'อาจาย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล' สะท้อนขัดแย้งการเมืองไทยในปัจจุบัน!!
Posted by Nity
ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถาเรื่อง "โลกไร้พรมแดนในประเทศที่มีพรมแดน : ความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์" ใน โอกาสครบ 60 ปี ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ห้อง ร.103 ชั้น 1 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 13.30 น. ที่ "มติชนออนไลน์" ถอดคำต่อคำ นับว่าน่าสนใจยิ่ง ชวนพินิจพิเคราะห์ และขยายความ จึงนำมาเผยแพร่ซ้ำคราหนึ่ง..
ปาฐกถาเรื่อง "โลกไร้พรมแดนในประเทศที่มีพรมแดน : ความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์" ใน โอกาสครบ 60 ปี ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าเรื่องที่พูดในวันนี้เป็นเรื่องใหญ่มากกว่าเรื่อง คณะรัฐศาสตร์ ใหญ่กว่าเรื่องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทั่งมีด้านที่อาจจะใหญ่กว่าประเทศไทยของเรา
ฉะนั้น สิ่งที่จะพูดต่อไปนี้จึงเป็นเพียงแง่คิด คำถามและการตั้งข้อสังเกตมากกว่า ซึ่งเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวซึ่งอาจจะผิดหรือถูก ตนต้องการเพียงแต่จุดประเด็นให้นำไปคิดต่อ และให้ผู้ที่ห่วงใยบ้านเมืองนำไปช่วยกันพิจารณา
ความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจคงหนีไม่พ้น 3 ประเด็น
- รัฐชาติคืออะไรทำไมจึงขัดแย้งกับสังคมโลกาภิวัตน์ 2.ความขัดแย้งมีลักษณะอย่างไรทำไมจึงขัดแย้งกับสังคมโลกาภิวัตน์ 3.เมื่อขัดแย้งกันแล้วเกิดปัญหาอะไร แก้ปัญหาอย่างไร
ทั้ง สามประเด็นนี้พัวพันกันอย่างแยกไม่ออก บางทีอาจจะต้องพูดถึงแบบรวมๆกัน ความสัมพันธ์ทางอำนาจระดับรัฐย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องก้าวล่วงไปสู่ปริมณฑล ของปรัชญาการเมือง เพราะผู้คนมองบทบาทของรัฐด้วยสายตาที่แตกต่างกัน รัฐเองก็มีจิตนาการในเรื่องอำนาจของตน
รัฐ ชาติเป็นรัฐสมัยใหม่ ไม่ว่าเราจะรู้สึกคุ้นเคยสักแค่ไหนต้องยอมรับว่ารูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจ แบบนี้ไม่ได้มีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในกรณีของรัฐสมัยใหม่ของไทยและชาติไทยในความหมาย สมัยใหม่ อาจจะนับถอยหลังไปเพียงประมาณ 80-90 ปีเท่านั้น
อำนาจ การเมืองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ขึ้นอยู่ต่อการยอมรับของผู้อยู่ใต้อำนาจค่อนข้างมาก และการยอมรับนั้นมักต้องอาศัยศรัทธาเกี่ยวกับประโยชน์สุขบางประการที่ผู้ อยู่ใต้อำนาจเชื่อว่าอำนาจดังกล่าวจะนำมาให้
การ เกิดขึ้น มีอยู่ และดำเนินไปของระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ เช่นเดียวกับอำนาจรัฐในรูปแบบอื่น ต้องอาศัยจินตนาการทางการเมืองมารองรับ เพียงแต่ว่าข้ออ้างความชอบธรรมของรัฐชาติมีเนื้อหาสาระเป็นลักษณะเฉพาะตน ต่างจากอำนาจปกครองแบบโบราณและเริ่มแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆกับชุดความคิดความ เชื่อของสังคมโลกาภิวัตน์
"อำนาจแบบรัฐชาติมีรากฐานอยู่บนจินตนาการใหญ่ทางการเมือง" มี 3 ประการ
- การตีเส้นแบ่งความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพลเมืองและประชากรของตนกับคน อื่นที่ไม่ได้สังกัดรัฐนี้ พูดง่ายๆคือ มีการนิยามสมาชิกภาพของประเทศไทยไว้อย่างตายตัว ความเป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทยทั้งบัญญัติทางกฎหมายและโดยนิยามทางวัฒนธรรม
- ประชากรที่สังกัดอำนาจรัฐเดียวกัน เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันหลายมิติกระทั่งเปรียบดังสมาชิกในครอบครัวใหญ่เดียวกัน มีชะตากรรมทุกข์สุขร้อนร่วมกัน 3.ทั้งประเทศเป็นหน่วยผลประโยชน์ใหญ่ และถือว่าผลประโยชน์ส่วนรวมมีจริง มักเรียกกันว่าผลประโยชน์ชาติ ทั้งนี้โดยมีนัยว่าทุกคนที่เป็นสมาชิกของชาติย่อมได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว อย่างทั่วหน้า
จาก จินตนาการทั้งสามข้อนี้รัฐชาติจึงได้ออกแบบสถาบันการเมืองการปกครองขึ้นมา รองรับและตรากฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนขึ้นมา เพื่อจัดตั้งความสัมพันธ์ทางอำนาจกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคม ให้เป็นไปตามความเชื่อของรัฐ นอกจากนี้ยังได้ปลูกฝังขัดเกลารูปการจิตสำนึกของประชากรให้เข้ามาอยู่ในกรอบ เดียวกัน
"กระบวนการเหล่านี้เรียกรวมว่าเป็นระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ"
กรณีของประเทศไทย ระเบียบอำนาจรัฐแบบรัฐชาติถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการปัญญาชนจำนวนมาก
ทุก สิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับรัฐชาติล้วนแล้วแต่ถูกตรวจสอบตั้งคำถามอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมจริงของจินตนาการและชาตินิยม ความชอบธรรมของตัวสถาบันการเมืองการปกครอง ความเป็นธรรมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือความถูกต้องของสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมแห่งชาติ และอีกหลายๆด้านที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจ
อย่าง ไรก็ตามคำวิจารณ์เหล่านั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับการพูดคุยในวันนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา แม้ว่าเราจะไม่เห็นด้วยกับหลายสิ่งหลายอย่างที่รัฐไทยเป็นอยู่และทำไป แต่ข้อวิจารณ์ยังคงจำกัดอยู่ในกรอบของรัฐชาติอยู่ดี เราเพียงอยากให้รัฐชาติของไทยเป็นรัฐชาติที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
ปัญหามีอยู่ว่า ขณะนี้ตัวแบบที่ตกเป็นเป้าวิจารณ์ของนักวิชาการและปัญญาชนเองกลับกำลังถูกแปรรูปด้วยปัจจัยอื่นตลอดเวลา
ระเบียบ อำนาจแบบรัฐชาติ กำลังถูกหักล้างกัดกร่อนอย่างรวดเร็วด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จนทำให้เกิดคำถามว่ารัฐชาติของไทยจะสามารถรักษาระเบียบอำนาจของตนไว้ได้หรือ ไม่ มันสายไปแล้วหรือไม่ที่จะจำกัดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไว้ในกรอบคิดแบบ รัฐชาติ และสุดท้ายคือ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐชาติต้องแปรรูปเป็นรัฐแบบอื่น
"พร้อมหรือยังที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลง และเราจะรับมือกับจังหวะก้าวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แค่ไหน"
เรื่อง ที่น่ากังวลก็คือ ที่ผ่านมาเรายังมีองค์ความรู้ไม่พอที่จะตอบคำถามเหล่านั้นและอาจต้องทำการ ค้นคว้าวิจัยกันโดยด่วน ควรจะเป็นวาระสำคัญที่สุดของวงการวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์
ความขัดแย้งระหว่างรัฐชาติกับกระแสโลกาภิวัตน์คงไม่สามารถพูดกันในความหมายเก่าๆได้อีกแล้ว
ใน ห้วงเศรษฐกิจปีพ.ศ. 2540 เราเคยพูดกันถึงเรื่อง "เสียกรุง-กู้ชาติ" กระทั่งพูดเรื่อง "การขายชาติ" เนื่องจากมองผ่านจุดยืนของลัทธิชาตินิยมและระเบียบอำนาจรัฐชาติ แรงกดดันจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศดูเหมือนเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย อีกทั้งการออกกฎหมาย 11 ฉบับโดยรัฐบาลไทยเพื่อยกเลิกข้อจำกัดของการค้าและการลงทุนแบบไร้พรมแดน ดูคล้ายเป็นการจำยอมจำนนต่อต่างชาติและเปิดประตูให้ต่างชาติเข้ามาถือครอง ประเทศไทย
หลัง จากเหตุการณ์คลี่คลายมานานกว่าสิบปี เราจึงเห็นชัดว่าระเบียบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยถูกกดดันให้ยอม รับนั้นไม่เพียงกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้กันทั้งโลก หากยังมาจากกรอบคิดที่แตกต่างจากจินตนาการมูลฐานของรัฐชาติอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือมันเป็นแนวคิดที่ยกเลิกพรมแดนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในบางด้านกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ "การยกเลิกพรมแดนในทางการเมือง" ด้วย
"จินตนาการ เรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนก็ดี เรื่องเศรษฐกิจแห่งชาติก็ดี หรือเรื่องวัฒนธรรมแห่งชาติก็ดี ในหลายกรณีจึงกลายเป็นเรื่องนอกประเด็นกระทั่งถูกมองว่าล้าหลัง ไม่เกิดประโยชน์"
การ ที่เราไม่สามารถมองปัญหาด้วยกรอบคิดเก่าๆไม่ได้มาจากแรงกดดันของการเปลี่ยน แปลงในระดับโลกเท่านั้น หากยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา
หลัง จากเปิดประเทศต้อนรับการค้าการลงทุนอย่างเสรีทั่วด้าน สิ่งที่เกิดขึ้นตามหลังมาทั้งหมดล้วนมีผลประโยชน์ของคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างน้อยบางส่วน แต่เป็นบางส่วนที่มีจำนวนมาก มีน้ำหนักทางสังคมมิใช่น้อย ทุนต่างชาติไม่เพียงเข้ามาซื้อหุ้น ตั้งโรงงานหรือถือครองทรัพย์สินในประเทศไทยเท่านั้น ผู้ประกอบการชาวไทยก็ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติหรือไม่ก็ประกอบธุรกิจที่โยง ใยก่อเกื้อเอื้อประโยชน์ให้กันและยิ่งไปกว่านั้นนักธุรกิจไทยเองก็ต้องอาศัย ระเบียบการค้าโลกที่เปิดกว้างข้ามพรมแดนไปลงทุนในต่างประเทศอย่างเป็นล่ำ เป็นสัน ยังไม่รวมผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบห้างใหญ่มากกว่าร้านโชว์ห่วย และมีพลเมืองไทยจำนวนมากที่ยังชีพด้วยการทำงานกับบริษัทต่างประเทศหรือออกไป ขายแรงงานในประเทศอื่นๆ
การรื้อถอนจินตนาการแบบรัฐชาติในส่วนที่เป็นรากฐานที่สุด เกิดขึ้นเองปราศจากจิตสำนึกจงใจและไม่ขึ้นต่อเจตนารมย์ของผู้ใด
"ใช่หรือไม่"
สังคม ไทยในเวลานี้กลายเป็นสังคมโลกาภิวัตน์ไปแล้ว เป็นโลกไร้พรมแดนที่ทับซ้อนอยู่ในประเทศที่มีพรมแดน เส้นแบ่งระหว่างความเป็นคนไทยกับคนอื่นมีความหมายน้อยลง คนไทยไม่ได้มีชะตากรรมร่วมกันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน หลายคนมีเส้นทางเดินชีวิตร่วมกับชาวต่างประเทศเสียมากกว่า บ้างก็โดดเดี่ยวยากแค้นไปโดยลำพัง
"ผล ประโยชน์แห่งชาตินั้นมีความหมายพร่ามัวไปหมดโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ไม่เพียงต้องแบ่งก้อนใหญ่ให้ชาวต่างประเทศเท่านั้น ส่วนที่แบ่งกันเองก็เหลื่อมล้ำอย่างยิ่ง กระทั่งมีคนที่ไม่ได้ส่วนแบ่งนั้นเลย"
ข้อสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยใช้จิตนาการเรื่องชาติต่างไปจากเดิม 2 เรื่องคือ
1.วาท กรรมทางการเมือง สำหรับต่อสู้ภายในประเทศ เช่น มีการพูดถึงการ"กู้ชาติ" ให้รอดพ้นจากคนไทยด้วยกัน ช่วงชิงกันเป็นผู้พิทักษ์รักษา "ผลประโยชน์ของชาติ" ทั้งๆที่ความเป็นจริงในเรื่องนี้ เป็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ นับวันยิ่งถูกทำให้ว่างเปล่าด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์
- วาทกรรมทางการตลาด มีการใช้วาทกรรมเรื่องชาติไปในทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ และถือเป็นส่วนหนึ่งงานโฆษณาสินค้าที่ปกติมักไม่ค่อยถูกจำกัดด้วยหิริโอตัป ปะ หรือความรับผิดชอบเรื่องความถูกต้องทางหลักการใดๆ
ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้คือ กรณีการแจก "เช็คช่วยชาติ" เป็นนโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาลเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ทั้ง นี้รัฐบาลได้ตกลงกับห้างร้านต่างๆในการรับเช็คและเพิ่มมูลค่าของเช็ค เพื่อประกันว่าผู้ที่ได้รับแจกเงินหัวละสองพันบาทจะหมดสิ้นแรงจูงใจในการเอา เงินจำนวนนั้นไปเก็บออม
ผล ที่ออกมาคือใช้คำว่า "ชาติ" ในหัวข้อโฆษณาสารพัด เช่นชวนให้ซื้อเครื่องสำอางต่างประเทศเพื่อชาติ ชวนดูหนัง หรือเข้าห้องร้องคาราโอเกะเพื่อชาติ เป็นต้น
"มีการบอกผู้บริโภคว่าแค่ออกไปหาความบันเทิงเริงรมย์ก็ถือว่ารักชาติมากแล้ว"
นอก จากนี้ยังเคยเห็นป้ายคำขวัญตามเมืองท่องเที่ยวระบุนักท่องเที่ยวเป็นคนสำคัญ ของชาติ อาจจะแปลกหูแปลกตาสำหรับคนที่ถูกสอนมาว่าคนที่สำคัญของชาติต้องประกอบคุณงาม ความดีบางประการ
การ นำจินตภาพเรื่องชาติมาใช้ทางการเมืองและธุรกิจแบบที่กล่าวมานี้ แทนที่จะช่วยรักษาความขลังของคำว่าชาติ กลับจะยิ่งเร่งความเสื่อมทรุดแก่แนวคิดชาตินิยมและระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่แล้วโดยปัจจัยทางภววิสัย
ความขัดแย้งระหว่างระเบียบรัฐอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์
ความ ขัดแย้งนี้ไม่ได้หมายถึงการต่อสู้เชิงปฏิปักษ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจหรือ เข้ากันไม่ได้โดยสิ้นเชิงระหว่างผลประโยชน์ไทยกับผลประโยชน์ต่างชาติ และยิ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกัยโลกทั้งโลก
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
คำตอบ คือ เพราะ นับวันเส้นแบ่งระหว่างเรากับเขาดังกล่าวแทบไม่มีอยู่ในทางปฏิบัติหรือเหลือ อยู่น้อยเต็มที แม้จะยังมีเหลืออยู่มากในจินตนาการของหลายๆคนก็ตาม
"ตาม ความเข้าใจของผมถ้าพิจารณาจากประเด็นที่เราพูดกันในวันนี้ มันน่าจะหมายถึงลักษณะที่อาจจะเข้ากันไม่ได้หรือไม่สอดคล้องกันระหว่าง ระเบียบอำนาจที่เราใช้อยู่กับสังคมที่แปรเปลี่ยนไป"
นาย เสกสรรค์ ยังกล่าวย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่คนในแวดวงวิชาการต้องช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบกันเสียทีว่ารัฐ ชาติแบบที่รู้จักสามารถดูแลสังคมไทยที่เป็น "พหูพจน์" ได้หรือไม่ จะอำนวยความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจและสังคมอันประกอบด้วยปัจจัยข้ามชาติมาก มายหลายอย่างด้วยวิธีใด และถ้าทำไม่ได้ รูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจในประเทศนี้ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือถูกแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร
"นี่ เป็นเรื่องใหญ่กว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างเสื้อสีต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าในบางมิติปัญหาทั้งสองระดับอาจจะเกี่ยวโยงกับอยู่ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของรัฐนั้น ถึงอย่างไรก็ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับระบอบการปกครองในระดับรัฐบาล"
รัฐหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลง
จาก ประสบการณ์โดยตรงของ นายเสกสรรค์ กล่าวว่า รัฐมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนวิถีวัฒนธรรมอย่างแยกไม่ออก และบ่อยครั้งเมื่อเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป รูปแบบของรัฐก็หนีไม่พ้นต้องเปลี่ยนแปลงตาม
ยก ตัวอย่าง เมื่อร้อยกว่าปีก่อนอาจจะเรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ครั้งที่ 1 ภายใต้แรงกดดันของลัทธิล่าอาณานิคม ราชอาณาจักรสยามยอมเปิดประเทศทำสัญญากับราชอาณาจักรอังกฤษ หรือสนธิสัญญาบาวริง ต่อมาก็ทำสัญญาคล้ายกันกับประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ส่งผลให้สยามต้องเปิดประตูกว้างต้อนรับสิ่งที่เรียกว่า "ระบบการค้าเสรี"
การ เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมสยามอย่างรวดเร็ว เมื่อบวกกับความเสื่อมของระบบไพร่ และขุนนางที่เกิดมาก่อนบ้างแล้ว ในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจอย่างลึกซึ่งถึงราก ภายในศูนย์อำนาจและระหว่างศูนย์อำนาจกับพลเมืองที่อยู่ใต้การปกครอง
ภาย ในระยะเวลา 50 ปี โลกาภิวัตน์รอบแรกส่งผลให้รัฐศักดินาโบราณของไทยซี่งเคยมีระบบกระจายอำนาจ สูง แปรรูปเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งรวมศูนย์เข้าสู่อำนาจส่วนกลางแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด กลายเป็นต้นทางของการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ในเวลาต่อมา
จาก การศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในรูปแบบของรัฐ ทั้งที่มีความจำเป็นและเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน อดคิดไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงระดับรัฐของประเทศไทย น่าจะมีทั้งความจำเป็นและความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน
"ใน ฐานะปัญญาชนที่หมกหมุ่นครุ่นคิดเรื่องรัฐไทยมานาน สภาพการณ์ปัจจุบันย่อมเป็นเรื่องเย้ายวนมากที่จะชวนให้คิดอะไรแบบอภิมหา ทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการของรัฐและสังคมไทยแต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าไม่มีปัญญาพอ ที่จะทำเรื่องสุ่มเสี่ยงทางวิชาการขนาดนั้น"
กล่าว อีกแบบหนึ่ง คือ ข้อสังเกตของผมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยในยุคโลกาภิวัตน์รอบ ปัจจุบัน ไม่ได้เกิดจากจิตนาการแบบประวัติศาสตร์จะต้องซ้ำรอย หรือประวัติศาสตร์กำลังใช้กฎวิภาษวิธีกับเส้นทางเดินของสังคมไทย ทำนองว่า เมื่อการเปิดประเทศเสรีครั้งแรกให้กำเนิดรัฐชาติ การเปิดประเทศเสรีรอบสองทำให้รัฐชาติหมดฐานะ จากนั้นอาจจะต้องสังเคราะห์หารัฐอะไรอีกสักแบบหนึ่งซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูง ขึ้นไปอีก
ถ้า ยอมรับว่ารัฐเป็นแกนกลางความสัมพันธ์ทางอำนาจของแต่ละประเทศ และเป็นกลไกหลักในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ผู้คนในสังคม ต้องยอมรับว่าหลักฐานเชิงประจักษ์มากมาย ชี้ให้เห็นว่าบทบาทหน้าที่ดังกล่าวของรัฐไ