บทความ

การวิจารณ์ศิลปะ - วรรณกรรมแนวหลังอาณานิคม

by Pookun @November,19 2006 22.01 ( IP : 222...143 ) | Tags : บทความ

การวิจารณ์ศิลปะ-วรรณกรรมแนวหลังอาณานิคม นพพร ประชากุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Post Colonial Criticism วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: โดย อ.นพพร ประชากุล (ถอดคำบรรยายโดย วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ นักศึกษา ป.โท พัฒนาสังคม ม.เชียงใหม่) (บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 27 หน้ากระดาษ A4)

อ.ไชยันต์ รัชชกูล ดำเนินรายการ: การวิจารณ์แนว Post Colonial Criticism เมื่อหลายเดือนก่อน ที่จุฬาฯ จัดประชุมเรื่องทำนองนี้ แต่คนละเรื่องกับที่ อ.นพพร จะพูด ก็หวังว่าจะเป็นคุณูปการ เป็นข้อคิด หรืออย่างน้อยเป็นข้อทักท้วงถกเถียงกับความคิดที่เราเชื่ออยู่ เชิญ อ. นพพร

อ.นพพร ประชากุล : การวิจารณ์แนวหลังอาณานิคม Post Colonial Criticism วลีที่ใช้เป็นชื่ออันนี้ประกอบด้วยสองคำ คำว่า Criticism อาจไม่มีปัญหามาก แต่คำว่า Post Colonial เป็นคำที่ผมต้องสร้างความกระจ่างไว้แต่เนิ่นๆ ก็คือคำว่า หลังอาณานิคม แล้วค่อยไปทำความเข้าใจกับกิจกรรมการวิจารณ์ที่ยึดแนวนี้เป็นหลัก

หัวข้อของผมวันนี้ประกอบด้วย ๔ ส่วน
ส่วนแรก จะพูดถึง Post Colonialism หรือแนวคิดหลังอาณานิคม
ส่วนที่สอง ถัดมาจะชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานวิจารณ์แนวหลังอาณานิคมกับงานประพันธ์หลังอาณานิคม บ่อยครั้งมาปนกันแล้วพูดคุยกันลำบาก ผมคิดว่าต้องแยกให้ชัด ว่าจะพูดถึงการวิจารณ์ในแนวนี้หรือการประพันธ์ในแนวนี้
ส่วนที่สาม จะพูดถึงเนื้อหาสาระที่พบได้ในการวิจารณ์แนวนี้
สุดท้าย จะปิดด้วย methodology หรือวิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจารณ์แนวนี้

1.
หัวข้อแรก ขอเริ่มด้วยการให้คำนิยามแนวคิดหลังสกุลอาณานิคมว่า ในสาขาวิชาการและความเคลื่อนไหวทางความคิดที่ศึกษาวิเคราะห์อำนาจของตะวันตก ที่มีเหนือภูมิภาคอื่นๆ ของโลก Object หรือวัตถุที่ศึกษาคือ อำนาจของตะวันตกที่มีต่อภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ซึ่งถ้าจะพูดให้ชัดกว่านี้คือ เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตะวันตกกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เพราะว่ามันไม่ได้เป็นในทิศเดียวเสมอไป

เมื่อสักครู่ผมพูดว่าอำนาจของตะวันตกต่อภูมิภาคอื่นๆ ของโลก แต่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลกก็ตอบโต้ได้เช่นเดียวกัน มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจอื่นๆ ที่ตอบโต้สวนทางกลับมาได้ด้วย ตรงนี้คงต้องพยายามมองให้เป็นสองทิศทาง แต่ต้องยอมรับความจริงว่า ๘๐% ของการใช้อำนาจนั้น เป็นจากตะวันตกสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก มากกว่าที่จะเป็นในทิศกลับกัน

การที่ผมใช้คำว่าศึกษาวิเคราะห์ก็ทำให้เป็นวิชาการบริสุทธิ์ได้ง่าย ซึ่งที่จริงก็ไม่มีอยู่แล้ว วิชาการบริสุทธิ์ แต่ว่ากรณีของวิชาการแนว Post Colonial เขาประกาศออกมาแต่ต้นว่า เขามีลักษณะวิพากษ์ (critique) อยู่ในตัวเรียบร้อย ก็เป็นชุดวิชาการเดียว กระบวนทัศน์เดียวกันกับ Feminism, Marxism ในแง่ที่ว่า เอาล่ะ จะเป็นการวิเคราะห์ แต่เป็นการวิเคราะห์ที่แฝงลักษณะวิพากษ์ ไปสู่การปฏิบัติด้วย

นิยามที่พูดมานี้ฟังดูครอบคลุมดี แต่มันยังกว้างเกินไป เพราะมันยังมีแนวคิดอีกแนวหนึ่งซึ่งมันใกล้เคียงกันแล้วเอามาปนกันได้ง่าย นักวิชาการบางคนเอามาปนกันเลย เช่น อ่าน โรเบิร์ต ยัง Post Colonialism and historical introduction ปรากฏว่าอ่านไปได้ชั่วโมงหนึ่งก็จับได้แล้ว นี่มันไม่ใช่ Post Colonial อย่างที่เราเข้าใจ มันคือ Anti Colonial แต่ว่าโรเบิร์ต ยัง อาจไม่สนใจ เอามาปนกันได้ แต่ผมคิดว่าต้องเคลียร์ตรงนี้ก่อน

แนววิชาการอีกแนวหนึ่งที่ใกล้เคียงกันกับ Post Colonial มากๆ คือ anti Colonialism หรือ แนวคิดต่อต้านอาณานิคม ซึ่งแนวคิดต่อต้านอาณานิคม สามารถจะไปร่วมแชร์คำจำกัดความข้างหน้าที่ผมใช้เมื่อกี้ได้ เพราะมันก็ศึกษาวิเคราะห์อำนาจของตะวันตกที่มีต่อภูมิภาคอื่นของโลกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราคงจะต้องมาจำกัดความเฉพาะลงไปอีก โดยมาจ้องที่คำว่า Post ซึ่งใช้ใน Post Colonial

คำว่า post อันนี้ หากสื่อความหมายว่า แนวคิด Post Colonial มันเกิดขึ้นภายหลังที่ปรากฏการณ์อาณานิคมจบสิ้นไปแล้ว พูดง่ายๆ ว่าแนวคิดนี้เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถ้าจะพูดให้เจาะจงลงไปก็คือมาเริ่มขึ้นเอาในตอนปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ ค่อนข้างจะช้าทีเดียว มันเกิดขึ้นหลังจากที่อาณานิคมจบสิ้นไปนานแล้วด้วย อย่างน้อยก็ ๒ ทศวรรษ แต่ว่านักวิชาการในกลุ่มดังกล่าว เขาตระหนักว่า แม้ว่าปรากฏการณ์อาณานิคมจะผ่านพ้นจบไปแล้วก็ตาม แต่ว่าอำนาจของตะวันตกที่อยู่เหนือภูมิภาคอื่นของโลกยังคงดำรงอยู่ จนถึงปัจจุบันนี้ แล้วอำนาจที่ว่านี้มันไม่ได้เล็กน้อยไปกว่าสมัยอาณานิคมเลย เพียงแต่ว่ามันเปลี่ยนรูปแบบ

ทีนี้เราก็มามองว่าในเมื่ออาณานิคม ซึ่งเป็นการใช้กำลังบังคับโดยตรง ด้วยแสนยานุภาพทางทหาร มันจบสิ้นไปหมดแล้ว โอเค! บางคนอาจจะบอกว่าสงครามอิรักเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ถือว่าเป็น accident ที่นานๆ จะโผล่ขึ้นมาที ไม่ใช่ว่าจะทำสงครามอย่างนี้อยู่ได้ทุกวัน ก็พูดได้ว่า การใช้กำลังทหารของตะวันตกจบสิ้นลงไปแล้ว แต่อำนาจที่ว่านี้มันยังอยู่ได้ด้วยวิธีการแบบใด ตรงนี้ขอชิงตอบเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เลย ไม่อมพะนำ คำตอบก็คือว่า อำนาจของตะวันตกยังดำรงอยู่โดยใช้ "อำนาจเชิงสัญลักษณ์" อำนาจที่ผ่านสัญลักษณ์ ไม่ได้ผ่านแสนยานุภาพทางทหาร ไม่ได้เอา gun boat ไปปิดปากอ่าว ไม่ได้เป็นแสนยานุภาพทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของสัญลักษณ์

การใช้อำนาจเชิงสัญลักษณ์ กระทำผ่านสิ่งที่ภาษาไทยเรียกว่า "ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม" Cultural artifact ก็จะเห็นเลยว่า มันเป็นคนละตรรกะกับการใช้กำลังบังคับอย่างตรงๆ ซื่อๆ เอาปืนไปจี้ แต่เป็นการใช้วิธีโน้มน้าว ตรรกะของมันเป็นตรรกะของการโน้มน้าวใจให้ยอมรับ โดยไม่ฝืนใจ ไม่รู้สึกว่าตัวเองถูกบังคับ ตรงนี้ผมว่ามันแนบเนียนและมันมีประสิทธิภาพยั่งยืนกว่าการเอากำลังทหารไปนั่งเฝ้า จุดนี้ทำให้เราเห็นความแตกต่างระหว่างวิชาการแนวหลังอาณานิคม กับแนวต่อต้านอาณานิคม แนวต่อต้านอาณานิคมมีมาก่อน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อน คือมันเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ระบบอาณานิคมมันเริ่มเสื่อมลงมาแล้ว คือต้นศตวรรษที่ ๒๐ ต้องรอให้อาณานิคมมันตกตะกอนก่อน


Anti colonialism มันไม่ได้เกิดทันที มันจะทอดเวลาหลังจากที่อาณานิคมตกตะกอนจนกระทั่งเริ่มเห็นแล้วว่าอะไรเป็นอะไร ก็จะเกิดอันนี้ขึ้นมา ซึ่ง anti colonialism เกิดขึ้นในช่วงที่ระบบอาณานิคมเริ่มเสื่อมอำนาจ อันนี้เป็นทัศนะพวก French-friend scholar ชอบมองอย่างนี้ ว่า "ที่ใดมีอำนาจที่นั่นย่อมมีการต่อต้าน" จริง ถูกต้อง แต่การต่อต้านมันจะเริ่มขึ้นเมื่ออำนาจที่กดมันเริ่มเสื่อม คือเป็นข้อเท็จจริงพื้นๆ ง่ายๆ อันนี้มันนำเราไปไกลมาก ว่า ทฤษฎี proletariantation ของมาร์กซ์ จะถูกต้องแค่ไหน ถ้าฝ่ายที่ dominate ยังคง strong มากๆ แล้วกดอีกฝ่ายหนึ่งลงไปเยอะๆ มันจะมีแรงที่ไหนขึ้นมาต่อต้าน มันอาจจะต้องกลับทิศกัน คือฝ่ายผู้กดขี่มันเริ่มเสื่อม หรือว่าอำนาจเริ่มถดถอย แล้วข้างล่างเริ่มสะสมอำนาจมากขึ้นหรือเปล่า อันนี้ขอฝากทิ้งไว้

เพราะฉะนั้น anti-colonialism จะศึกษากลไกที่เจ้าอาณานิคมใช้ควบคุมอาณานิคมโดยตรง ได้แก่ การทหาร การเมืองและเศรษฐกิจ เป้าหมายของการวิเคราะห์ในแนว anti-colonialism คือพุ่งเป้าไปที่ liberation คือการปลดปล่อย พูดง่ายๆ คือพุ่งเป้าไปสู่การประกาศเอกราช เพราะฉะนั้นรายไหนรายนั้นเขาก็จะเอา analysis เหล่านั้นมาอยู่ในกรอบของ nationalism ในยุคนั้นไม่เคยมีใครคิดว่าจะเป็นเรื่องเลวร้ายได้ ซึ่งเวลาเราย้อนกลับไปอ่านงานของ anti-colonialism อย่างของ Amil Cabral, France Fanon เราจะมีความรู้สึกตลอดเวลาว่า คนพวกนี้เขาไม่รู้หรอกหรือว่า ชาติจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่มากดขี่ไม่แพ้เจ้าอาณานิคมเจ้าเก่า แต่ทุกคนกำลังชื่นมื่นและแสวงหา identity ของชาติที่กำลังจะคลอดออกมาหลังจากปลดแอกอาณานิคม

เพราะฉะนั้นตรงนี้ชัดเจนแล้วว่า anti-colonialism เป็นชุดความรู้ที่ไม่สามารถมาอธิบายอำนาจของตะวันตกในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่อาณานิคมจบไปแล้วได้ มันไม่เพียงพออีกแล้ว ผมไม่ได้หมายความว่าอำนาจทางเศรษฐกิจหรือการเมืองของตะวันตกหายไป มันแปรรูปมาอยู่ในองค์กรเหนือชาติ supranational อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาใน UN อันนี้มันก็ชัดเจนมาก ที่บอกว่า ๑ ประเทศ ๑ โหวด ประเทศซูรินัมก็มีโหวดเท่ากับประเทศออสเตรเลีย ใช่ แต่มันก็คือภาพที่พื้นผิว หรือว่า international of labor ตามที่ Immanuel Wallerstein ได้เคยวิเคราะห์ไว้ ว่าในยุคอาณานิคม ระบบทุนนิยมโลกมีศูนย์กลางอยู่ที่ยุโรปแล้วก็มี periphery (ส่วนรอบนอก)ป้อนวัตถุดิบให้ มันก็ยังใช้ได้อยู่ในระดับหนึ่ง ที่ว่าแม้ว่าโลกที่สามในปัจจุบัน (พวก post colonial เขาไม่ให้เอ่ยคำว่า 'โลกที่สาม' ทำไมต้องมีโลกที่หนึ่ง, สอง, สาม) สมัยก่อนตอนสัญญาเบาริ่ง อันนั้นชัดเจนมากว่าเราเป็น periphery ล้วนๆ

แต่ต่อมา เราก็เป็นเสือตัวที่เท่าไหร่ไม่รู้ มีอุตสาหกรรม แต่มันก็ยังจริงอยู่ที่ว่า ตะวันตกเลือกเอาการผลิตส่วนที่เป็นขยะ สิ้นเปลืองทรัพยากร ทำลายสิ่งแวดล้อม และใช้แรงงานเยอะ เอามาโยนให้โลกที่สามทำ เสร็จแล้วเอาไปประกอบชิ้นส่วนไฮเทคที่โลกที่หนึ่ง มันก็ยังมีอยู่ แต่ว่า post colonial ไม่มานั่งสนใจสิ่งเหล่านี้อีกแล้ว เพราะถือว่านักวิชาการในกลุ่ม anti colonial เขาก็ทำหน้าที่ของเขาได้ เราแยกงานกันทำในระดับหนึ่งเพราะทุกคนจะทำทุกอย่างไม่ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ post colonialism ไม่มามองส่วนที่เป็นการใช้กำลังอย่างซึ่งๆ หน้า หันไปมองส่วนอื่นซึ่ง anti colonialism ไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร

ทีนี้มันมีอีกประเด็นว่า ตรรกะของอำนาจที่นักวิชาการแนว post colonial มาพบยุคหลังอาณานิคม ซึ่งก็เป็นตรรกะด้านสัญลักษณ์ พอย้อนกลับไปดูยุคอาณานิคมที่คิดว่ามีแต่เรื่องทหาร เศรษฐกิจ การเมือง เราก็พบว่า มิติเชิงอำนาจแบบสัญลักษณ์ มันถูกใช้ควบคู่มากับการทหาร และก็เศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมแล้ว พวก post colonial ย้อนขึ้นไปก่อนหน้าอาณานิคมอีก ก็พบว่า การเสนอภาพภูมิภาคอื่นของโลกในลักษณะที่ด้อยกว่ายุโรปมันก็มีมาตั้งแต่ Renaissance แล้ว ตั้งแต่สมัยยุคกลาง ตั้งแต่แผนที่ mappy mundi มันก็เริ่มมีแล้ว มีเวอร์ชั่นต่างๆ เราจะเห็นเลยว่า ยุโรปจะต้องอยู่ตรงกลาง เอเชียงอกมาตรงนี้ แอฟริกาโผล่มาตรงโน้น น่าสนใจมากว่า ยุโรปชาวตะวันตกได้จัดตั้งตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ใช่มารอจนเกิด colony

เพราะฉะนั้นตรงนี้แหละที่บอกว่า อำนาจของสัญลักษณ์มันมีมาตั้งนานแล้ว มันเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมดินแดนบางดินแดนที่ภูมิใจมากว่าไม่เคยตกเป็นอาณานิคม คือไม่เคยตกเป็นเป้าของการใช้กำลังทหารยึดครองโดยตรง ทำไมถึงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกพอๆ กับชาติที่ตกเป็นอาณานิคม ยกตัวอย่างเรื่องแปล Vandetta ที่ว่าทำไมพม่า อินโดนีเซีย ไทย ก็ตกอยู่ใต้ ผมใช้คำว่า ถูกสะกดด้วยอำนาจของสัญลักษณ์ของตะวันตกพอๆ กันเลย ไม่ใช่ว่าเขาต้องเอาปืนมาจี้ให้ทำ แต่เต็มใจทำ ในแง่นี้

ผมจะขอย้ำอีกครั้งว่า แบบแผนการใช้อำนาจของตะวันตกที่แนวคิดหลังอาณานิคมสนใจ จึงไม่ใช่อำนาจทางทหาร การเมือง เศรษฐกิจ อย่างที่อยู่ใน classic colonialism แต่เป็นอำนาจที่อยู่ใน culture หรือวัฒนธรรม วัฒนธรรมถูกมองว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการใช้อำนาจระหว่างเผ่าพันธุ์ เพราะมันเป็นพื้นที่ของการสื่อความหมายและการสื่อคุณค่า กระทำผ่านทางภาพโฆษณา งานวรรณกรรม หนังสือตำราเรียน นี่ผมกำลังยกตัวอย่าง cultural artifact (ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม)

ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งว่า ในบรรดาเจ้าอาณานิคมด้วยกันเท่าที่ผมสัมผัส ฝรั่งเศสจะเป็นพวกที่ guilty ตระหนักน้อยที่สุดในเรื่องอันนี้ แบบเรียนที่ใช้ให้พวกอาณานิคมเรียน เป็นแบบเรียนเดียวกันกับที่เขาใช้เรียนในแผ่นดินแม่ ฉะนั้นก็จะบอกว่าบรรพบุรุษของพวกเราทุกคนที่เป็นสมาชิกของ french empirer สืบเชื้อสายมาจากพวกโกลลัวร์ เพราะฉะนั้นพวกเซนิกัล เขาก็จะงงๆ ว่าเราสืบเชื้อสายมาจากโกลลัวร์หรือ เหมือนพวกฝรั่งเศส อาจารย์ที่สอนก็จะบอกว่า มีปัญหาหรือ เขาก็จะบอกว่าแน่ใจหรือว่าเรามาจากโกลลัวร์ อาจารย์ก็บอก แน่นอนอยู่แล้ว ในตำราก็บอกชัด แล้วทำไมเราไม่เหมือนคนฝรั่งเศส เขาก็บอกว่า ของของคุณมาช้า คือคุณสืบเชื้อสายมาจากโกลลัวร์แต่มาทีหลัง ล้าหลัง เรามาอยู่ที่นี่เพื่อมาดึงพวกคุณให้ขึ้นมาเท่าเรา we are here พวกนั้นก็เลยเข้าใจ ซึ่งอันนี้ผมไม่ทราบว่าในโลกอังกฤษเขาจะทำได้ขนาดนี้ไหม ว่าไปบอกกับคนอินเดียว่าคุณสืบเชื้อสายมาจากพวกแองโกลแซกซัน ผมคิดว่าคนอังกฤษคงจะไม่ถึงขนาดนี้

ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม(Cultural artifact) ภาพโฆษณา หนังสือ ตำราเรียน บันทึกการเดินทาง มันสนุกตรงที่ว่า เขาไม่รู้ตัวว่าเขากำลังเหยียดคนอื่นเต็มๆ ขนาดที่กำลังยกย่องกำลังชื่นชมกับความ exotic มันแฝงการเหยียดไว้โดยที่เจ้าตัว นักเดินทางเองไม่ค่อยจะรู้ตัว โอเค มีอันที่เหมือนกับที่ อ.ธงชัยเอามาเขียนใน the others within ที่บอกว่า เจ้าจากกรุงเทพเดินทางไปดูคนป่าคนดง และก็ชัดเจนมากว่ามีทัศนคติที่ตัวเองเหนือกว่า แต่ใน travellox ของฝรั่งแยบยลกว่านี้คือ เราไปค้นพบ เราไป explore เราไปตื่นเต้น แต่จริงๆ พอวิเคราะห์ด้วยแนว post colonial จะเห็นชัดๆ เลยว่า เป็นการทำให้ชนเผ่าอื่นเขาเป็น the other เป็นคนอื่นที่แปลกพวกออกไป เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การตกแต่งภายในบ้าน

แม้กระทั่งคหกรรมศาสตร์ ยุควิคตอเรียน มีการจัดวางเตรียมพื้นที่ให้ลูกชายได้เล็งเห็นวิธีการปกครองที่จะไปปกครองอินเดีย เพราะฉะนั้น "ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม" เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นภาพเสนอ เป็น representation หมายความว่า มันไม่ได้เอาความเป็นจริงทั้งหมดมานำเสนอ ภาพเสนอเป็นการคัดเลือกเอาคุณลักษณ์บางอย่างมา เรียบเรียง ขับเน้น และกดอันอื่นไว้ไม่ให้เห็น แล้วก็นำเสนอออกมาประหนึ่งว่าเป็นตัวแทนของทั้งหมด มันเป็น representation ของความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าพันธุ์ และชิ้นงานทางวัฒนธรรมพวกนี้มันยังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าพันธุ์ในกรอบความรู้ และกรอบความเชื่อบางอย่างในยุคนั้นๆ ด้วย ตรงนี้ทำให้ cultural artifact พวกนี้มันเป็นส่วนหนึ่งของ "วาทกรรม" ซึ่งเดี๋ยวเราจะเห็นตัวอย่างของสบู่แคร์ว่ามันเป็นยังไง ผมขอสรุปส่วนนี้ด้วยแผนผังง่ายๆ


ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ถ้าเป็น anti colonial เขาก็จะดูเรื่องของการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ ที่จะใช้ธำรง domination(การครอบงำ-มีอำนาจเหนือ) นี้ไว้ อันนี้เป็นสิ่งที่ anti colonial ศึกษา แต่พอในยุคหลัง post colonial มาดูที่วัฒนธรรม มาดูที่ภาพเสนอ และสรุปรวบยอดเป็นวาทกรรม ซึ่งมันก็เป็นอีกด้านหนึ่ง ถ้าเราไปคิดว่าเรื่องข้างบนของแท้ ข้างล่างแค่ปลายเหตุ วัฒนธรรมมันก็เป็นแค่ปลายเหตุ เราก็จะบอกว่าด้านบน hard อันล่าง soft อันบนเรื่องใหญ่

แต่พวกนี้(หลังอาณานิคม)เขาจะกลับทิศ มันไม่ใช่ด้านล่าง มันไปควบคู่กัน และมันทำให้อันข้างบนเป็นไปได้ ถ้าไม่มีอันข้างล่างรองรับ อันข้างบนก็เป็นไปไม่ได้ตั้งแต่ต้น พอข้างบนมันจบไปแล้ว ๑๙๔๗ แทบจะไม่เหลือแล้ว แต่อันข้างล่างนี้ยังอยู่มาได้ แสดงว่าอันนี้แหละ เผลอๆ เป็นหัวใจที่แท้จริงของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ สรุปว่าผมจบหัวข้อที่ ๑ เรื่องว่า What is post colonialism? ไปแล้ว

ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คงจะต้องเน้นย้ำคือ anti colonialism กับ post colonialism มันถูกหล่อเลี้ยงด้วยวิชาการคนละชุดกัน ถ้าเรามาดูของ anti colonialism ส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดเลยในนั้นก็คือ Marx เพราะ imperialism ก็คือ capitalism ขั้นสูงสุดที่ก้าวข้ามชาติขึ้นมา กับ Freud กรณีของ Fanon ก็จะวิเคราะห์ตัวตนของคนอาณานิคม คือ colonial subject ถูกจัดวางให้มีลักษณะเป็นคนโรคจิตชนิดหนึ่ง เนื่องจาก schizophrenia คือว่าด้านหนึ่งมีค่านิยมของท้องถิ่นของตัว อีกด้านหนึ่งก็ไปรับค่านิยมของตะวันตก เพราะฉะนั้นมันก็อิหลักอิเหลื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เมื่อไรจะเป็นพื้นเมืองดีเมื่อไรจะเล่นบทเป็นฝรั่ง คนๆ เดียวกัน

คือเคยมีกษัตริย์ของเราที่ท่านเป็นตะวันตกมากๆ ก็จะมีวิถีชีวิตด้านหนึ่ง ด้านเหนือโต๊ะก็เป็นตะวันตก แต่ด้านใต้โต๊ะเป็นพื้นเมือง อันนี้ อ.คึกฤทธิ์เป็นคนเล่าเองว่า สิ่งที่ประทับใจเป็นบุญวาสนาในชีวิตคือเมื่อตอนอายุ ๑๓-๑๔ ขวบยังทันถวายการรับใช้รัชกาลที่ ๖ ด้วยการอยู่รับใช้ใต้โต๊ะนวดพระบาท อ.คึกฤทธิ์ก็เล่าอย่างตรงไปตรงมาว่า บนโต๊ะท่านก็คุยเรื่องฝรั่ง เชคสเปียร์ แล้วท่านก็เสวยขาไก่ เสร็จก็โยนลงไปใต้โต๊ะให้มหาดเล็ก สมัยนั้นก็คือ อ.คึกฤทธิ์ รับประทานต่อของเหลือจากพระองค์ท่านก็เป็นสิริมงคลอย่างสูง ตรงนี้พอเราเอามาคิดก็เข้าข่ายว่า บนโต๊ะท่านจะเป็นตะวันตก แต่อีกด้านหนึ่งที่อาจลึกเร้นลงไปก็เป็นตะวันออก เป็นศักดินาไทยเต็มร้อย

เพราะฉะนั้นตรงนี้ ดีสุดก็ Marx กับ Freud แต่ว่า post colonialism จะไปรับอิทธิพลจากวิชาการอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นรุ่นหลัง ถ้าเราจะอยู่ในแนว Marx อย่างน้อยที่สุดก็หันมาใช้กรัมชี่เป็นหลักแล้ว ไปใช้แนวคิด hegemony ความเป็นเจ้าเกิดจากการที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งสมยอมได้ ไม่ใช่ไปใช้กำลังบังคับ

อัลธุสแซร์, ลากอง (Lacan) เป็นจิตวิเคราะห์ เอาฟรอยด์มาอ่านใหม่ โดยเอามาเชื่อมโยงกับภาษาแล้วก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง จิตใต้สำนึกมี structure เหมือนภาษา การสร้างตัวตนที่แต่ก่อนเรามองว่า super-ego มาดันกับ id แล้ว ego อยู่ตรงกลาง ego ก็เลยไม่เสถียร มันเกิดจากแรงปะทะจากแรงขับดันจากสัญชาติญาณดิบ id แล้วก็มาเจอ super-ego จากสังคม

ลากองก็เอามาอ่านใหม่ บอกว่า super-ego มันไม่ใช่อะไรอื่นหรอก มันก็คือภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง you จะตั้งตนเป็น subject ได้ สมัยก่อนเราก็บอกว่า ตามฟรอยด์ก็คือ เรายอมรับกฎของบิดาได้ แต่ลากองมาบอกว่า เรายอมรับกฎของภาษาได้ด้วยการพูด I ฉัน คือตั้งตนเป็น subject ว่าเป็นประธาน คือไม่มีพื้นที่อื่นเลยที่คุณจะเป็น subject ได้นอกจากพื้นที่ของภาษา ซึ่งฟังดูก็รับได้ในระดับหนึ่ง จะเห็นว่ามันซับซ้อนกว่ายุค anti colonialism

ไหนจะอิทธิพลจากพวก structuralism โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิชา semiotics สัญศาสตร์ พวก post colonialism จะใช้เยอะมาก แล้วก็ที่สำคัญที่สุด สิ่งที่พวกอเมริกันเรียกว่า post structuralism ซึ่งกรณีของฟูโกต์จะเห็นชัดมากว่ามีอิทธิพลมหาศาลต่อแนวคิด post colonial เพราะฉะนั้นพูดในภาษาปัจจุบัน เราก็จะบอกว่า post colonialism เป็นอะไรที่คาบเกี่ยวกับ cultural study มากๆ มาคาบเกี่ยวกับวัฒนธรรมศึกษาอย่างมาก และก็ตัดขาดไม่ได้เลยจาก feminism และ class study การศึกษาชนชั้นซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นแบบมาร์กซิสม์เสมอไป จบหัวข้อแรกด้วยว่า post colonialism คืออะไร

2. หัวข้อที่ ๒ post colonial writing กับ post colonial criticism มันต่างกันอย่างไร นั่นก็คือเรามาพิจารณาภายใน field ภายในพื้นที่ของ post colonialism เราก็จะพบว่ามีกิจกรรมที่แตกต่างกันอยู่ ๒ ประเภท อันแรกก็คืองานประพันธุ์แนวหลังอาณานิคม และอีกอันก็คือ งานวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม บางทีเรียกว่า post colonial reading อันนี้มันต่างกันยังไง

คำตอบง่ายมาก post colonial writing คืองานสร้างสรรค์ทางศิลปะ วรรณกรรม ที่แสดงเจตนาให้เห็นว่าจะวิพากษ์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเผ่าพันธุ์ ซึ่งก็อาจจะเขียนออกมาในรูปของเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ นวนิยาย หรือ painting (จิตรกรรม) เช่น วรรณกรรมที่เสนอภาพพฤติกรรมเชิงอำนาจ เวลาคนต่างเผ่าพันธุ์มาเจอกัน แล้วเขาพยายามทำให้เรารู้สึกได้ถึงความเหลื่อมล้ำ ความอิลักอิเหลื่อ หรือสภาพ hybrid ลูกผสม ตะวันตกก็ไม่ใช่ ตะวันออกก็ไม่เชิง ทำให้เราเกิดความรู้สึกตระหนักในเรื่องพวกนี้ขึ้นมา อันนี้ก็คือ Post colonial writing

แต่ข้างต้นนี้ มันไม่ใช่ประเด็นของผม ประเด็นผมคือ Post colonial criticism มันเป็นกิจกรรมการวิเคราะห์ มันไม่ใช่งานสร้างสรรค์เชิงศิลปะ มันเป็นกิจกรรมวิเคราะห์ซึ่งในทางวิชาการมุ่งเปิดโปงและก็วิพากษ์ domination (การครอบงำ)ของตะวันตก โดยที่ใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมเป็นหลัก หัวข้อที่สอง การประพันธ์กับการวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม ต่างกันยังไง จบไปแล้ว

3. หัวข้อที่ ๓ เนื้อหาสาระของการวิจารณ์แนวหลังอาณานิคม เราต้องเริ่มที่จุดเริ่มต้น คือหนังสือเรื่อง Orientalism ของ Said (เอ็ดเวิร์ด ซาอิด) พึ่งเสียชีวิตไปได้เมื่อสองอาทิตย์นี้เอง ซาอิดหยิบเอาแนวคิดเรื่อง Knowledge as Power ของฟูโกต์ มาจับวิชาการกลุ่มหนึ่งในโลกตะวันตก วิชาการกลุ่มนั้นเรียกชื่อรวมๆ ว่า Orientalism หรือบูรพทิศศึกษา ซึ่งมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙ เอาเข้าจริงมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ ตั้งแต่มองเตสกิเออ ไปอ่าน The spirit of Law ก็เจอแล้ว

พูดถึงเรื่องจีน ศตวรรษที่ ๑๘ เป็นศตวรรษที่ยุโรปบ้าจีน ยังไม่บ้าอินเดีย คือ the Enlightenment ในยุโรป กำลังแสวงหาโมเดลที่เอามาเปรียบเทียบแล้วจะมายืนยัน the Enlightenment ของตัวเอง ดังนั้นเขาก็ไปหลงละเมอกับระบบจอหงวน โดยบอกว่าจักรวรรดิจีนเป็นจักรวรรดิที่มีระบบการคัดคนเข้ามา ไม่ได้ใช้ชาติกำเนิดแบบยุโรปยุคเก่า ซึ่งขณะนั้นศตวรรษที่ ๑๘ กำลังต่อสู้อยู่ กำลังจะปฏิวัติ ก็เลยมาอ้างว่า ดูจีนสิ ขุนนางมาจากการสอบนะ แล้วก็ไม่สนใจการใช้อำนาจของฮ่องเต้ คือชูเฉพาะเรื่องนี้ ก็จะคลั่งจีนกันอยู่พักนึง จนตอนหลังมองเตสกิเออก็เริ่มเป๋ ชักจะไม่แน่ใจว่าจีนจะเป็นโมเดลที่ดี เพราะว่าเวลาเฝ้าฮ่องเต้คลานกัน คือคัดคนผ่านระบบจอหงวนมาอย่างดีก็จริง แต่พอผ่านมาแล้วก็ดันมาคลาน มารับฟังคำสั่งของฮ่องเต้โดยไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรเลย มันจะใช่ the Enlightenment หรือ หลังๆ ก็เริ่มซากับการคลั่งจีน

พอมาเข้าศตวรรษที่ ๑๙ คลั่งอินเดีย ย้าย playground มาที่อินเดีย บอกว่าอินเดียต่างหากจะให้คำตอบต่อการแสวงหา Spirituality ของเราชาวยุโรป ซึ่งถูก rationality เข้าครอบงำ ความเป็นเหตุผลนิยมมาครอบงำในศตวรรษที่ ๑๘ พอมาเข้าสู่ยุคโรแมนติกในศตวรรษที่ ๑๙ บอกว่ามันไม่ได้มีแต่เหตุผล ชีวิตมันต้องมีจิตวิญญาณ ความรู้สึก อินเดียต่างหากจะให้สิ่งเหล่านี้ ก็เลยไปสนใจศาสนาพราหมณ์แล้วก็คลั่งกันใหญ่ ความคลั่งไคล้เหล่านี้ไม่ใช่ความคลั่งไคล้ลอยๆ มันคือการสร้างองค์ความรู้อย่างละเอียดลออ เกี่ยวกับภาษา วิถีชีวิตของชาวตะวันตก

ซึ่ง ซาอิด มองย้อนกลับไปในสิ่งเหล่านั้นก็พบว่า ในสิ่งเหล่านั้นมันมีกระบวนการยกตนข่มท่านแฝงอยู่ชัดเจน ในแง่ที่ว่าพยายามทำให้ตะวันออกกลายเป็นอื่น กระบวนการที่ Spivak เรียกว่า "othering" to other somebody คนละความหมายกับ to alienate. to other คือกีดกันผลักให้ไปเป็นคนอื่นซึ่งไม่ใช่พวกเดียวกับเรา ซึ่งเราอาจจะบอกก็ใช่ ตามสามัญสำนึกของเรา สีผิวต่างกัน ก็ต้องเป็นอื่นอยู่แล้ว ไม่สิ ก็ในเมื่อยุโรปอ้างคำว่า man ตลอด ศตวรรษที่ ๑๘ the Enlightenment man จะลุกขึ้นมาปลดปล่อยตัวเอง mankind มนุษยชาติ มันก็ต้อง include หมดทั้งโลก แต่ปรากฏว่าเอาเข้าจริง man ในที่นี้คือ white man เท่านั้น

กระบวนการทำให้ตะวันออกเป็นอื่นกระทำโดยการฉายภาพความลึกลับ จิตวิญญาณ ความอลังการ โลกตะวันออกเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล เป็นสิ่งที่เราต้อง acquire ถามว่าหยิบยื่นจิตวิญญาณทั้งหลายเพื่ออะไร ก็เพื่อจะให้มันแปลกแยกไปจาก rationality ของตะวันตก แล้วท่ามกลางความชื่นชมนั้น จริงๆ แล้วเป็นการกดข่มอยู่ในที ซึ่งอันนี้อธิบายยากมาก แต่ถ้าเป็น Feminism จะเข้าใจง่ายเลย

ขอเปรียบเทียบกับ Feminism ที่บอก lady first ผู้หญิงมาถึงเราต้องเปิดประตูให้ คุณเป็นแม่พระ ก็คือเราเตะโด่งเขาขึ้นไปอยู่บนนั้น เพื่อที่เขาจะได้ไม่มายุ่งกับกิจของเรา หมายความว่าการที่เราชื่นชม ยกย่อง เทิดทูนใครไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ไปดูหมิ่นเขา จริงๆ เราอาจดูหมิ่น เหยียดหยามเขา แต่เราเตะโด่งให้ขึ้นไปอยู่บนนั้น แล้วก็ไหว้ซะ เสร็จแล้วบอกว่าเอ็งอย่ามายุ่งกับข้านะ ผมว่าอันนี้คือการเตะโด่งตะวันออกขึ้นไป ว่าอลังการณ์ แต่เดี๋ยวเราจะเห็นว่าจริงๆ มันคือการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น พอซาอิดจับวิชาการ ที่เรียกว่า Orientalism เจอแบบนั้น ทีนี้พอมาจับกระแสแฟชั่น ที่เรียกว่า Orientalism เหมือนกัน ในยุโรป คือกระแสนิยมตะวันออก เช่นตกแต่งภายในบ้านแบบญี่ปุ่นของคนอังกฤษ

นอกเรื่อง เมื่อวานมีเพื่อนเอาของมาฝากบอกว่าซื้อมาจากปารีส มีคนซื้อมาฝากจากปารีส เขียนตัวเบ้อเร่อว่า "ชา" เขาบอกเป็นชาไทยที่ได้รับความนิยมมากในปารีส เราก็แกะมาดู ที่แท้มันคือชา (เป็นชาฝรั่งและก็เบอร์กามอท) เอิร์ลเกรย์ แล้วก็ใส่ดอกอะไรเต็มไปหมด สีเปรอะไปหมด แล้วบอกว่านี่เป็นชาไทย มันเป็นเอิร์ลเกรย์ชัดๆ ถ้าบอกว่ามันเป็นกระแสบ้าๆ บอๆ อย่างที่ ออสการ์ ไวด์ เคยพูดไว้ "The whole of Japan is a pure invention, there is no such country there are no such people" หมายถึงญี่ปุ่นที่ตะวันตกคลั่งกัน มันไม่มีตัวตน มันเป็นประดิษฐกรรมล้วนๆ ไม่มีวัฒนธรรมแบบนี้ในประเทศไหนโลก ไม่มีคนแบบนี้ในโลก ดังนั้นสิ่งที่ซาอิดพบในกระแสคลั่งตะวันออก ก็คือสิ่งที่เรียกว่า Exoticism. exotic ก็คือ"ถิ่นแดนไกลนิยม" เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำให้เป็นอื่นนั่นเอง ฉะนั้นทั้งหมดนี้ซาอิดสรุปให้เราฟังว่า วิชาการที่เราเรียกว่า Orientalism สร้างขึ้นจากการที่เอายุโรปเป็นศูนย์กลาง Euro-centric attitude นั่นเอง ซึ่งแนวคิดของซาอิดเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิชาการตะวันตกจำนวนมากหันมามองความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออกใหม่อีกครั้ง รวมทั้งมองยุค Colonial ใหม่อีกหน

ผมลองทำตัวอย่างมาให้เห็นว่างานแนว Post colonial เขาทำอะไรกันมาแล้วบ้าง หยิบขึ้นมาสุ่มๆ เช่นทางมานุษยวิทยา นักวิชาการชื่อ Talal Asad ที่เขียนหนังสือชื่อ Anthropology and the colonial encounter (๑๙๗๓) เขาบอกว่า anthropology เอาล่ะ ยุค colonial ก็มีคนบอกไว้แล้วว่า anthropology มันมา serve colonialism ในแง่ที่ว่าเป็นตัวป้อนข้อมูลให้เจ้าอาณานิคม แต่ Asad บอกว่ามันไปไกลกว่านั้น anthropology มันคือ twin หรือฝาแฝดของ colonialism มันคือ project เดียวกัน one and same project คือ anthropology ในยุคต้นๆ คือการที่ชาวตะวันตกจัดวางตัวเองว่าเหนือกว่า ผ่านวิวัฒนาการในระดับที่สูงกว่า แล้วย้อนกลับไปดูชนเผ่าทั้งหลายว่าพวกนี้คือประจักษ์พยานของเราเมื่อ ๒๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว เราเคยเป็นอย่างนี้แต่เราไม่ได้เป็นอีกแล้ว เราอยากจะรู้จักตัวเราตอนโน้น ก็ไปดูที่แอฟริกา เพราะฉะนั้นมันอันเดียวกับ colonial ฉะนั้นมันไม่ได้แค่ไป serve แต่มันเป็น twin อันนี้คือสิ่งที่ Asad พยายามพิสูจน์

บางคนเอาคณิตศาสตร์มาดู เขาบอกในโลกนี้ก่อนที่ชาวตะวันตกจะเอาคณิตศาสตร์ของตัวเอง มันมีคณิตศาสตร์ตั้ง ๕๐๐-๖๐๐ ประเภท ในนิวกินีก็มีคณิตศาสตร์ของชนเผ่า เขามีวิธีนับของเขา แล้วปรากฏว่าพอตะวันตกเข้าไป หนังสือของ Alan Bishop ที่ศึกษาเรื่อง Western Mathematics the Secret weapon of Cultural Imperialism (๑๙๙๐) เขาก็บอกว่ามันเป็นโมเดลคณิตศาสตร์ที่ถูกหยิบยื่นเข้าไปทั่วโลก แล้วก็ไปลบคณิตศาสตร์แบบอื่นจนหมดสิ้น ไม่ได้หมายความว่าคณิตศาสตร์ของยุโรปไม่ดี แต่หมายความว่าคุณมีสิทธิอะไรที่จะเอานี่ไปลบคณิตศาสตร์แบบอื่นทิ้งหมดเลย เหลืออยู่แบบเดียว

ในด้านวรรณกรรม Spivak เรื่อง Three women texts and Critique of Imperialism ก็เอาวรรณกรรมโรแมนติกอย่าง เจน แอร์ มานั่งดู ว่านิยายน้ำเน่าที่แท้แล้วมันไม่ได้เน่า มันแฝงการใช้อำนาจจากตะวันตกซ่อนเอาไว้อย่างมีพลังมากพอๆ กับยกกำลังทหารทีเดียว วรรณกรรมที่เราเห็นเป็นเรื่องเบาๆ ที่แท้แล้วมันปลูกฝังอะไรไว้เยอะมาก Spivak ก็จะเอา post colonialism ไปสังสรรค์กับ feminism ออกมาแล้วก็น่าสนใจมาก

ตัวอย่างอีกอันหนึ่ง แผนที่ E. Carter เขียนหนังสือเรื่อง Space and Power (๑๙๙๓) ชี้ให้เห็นว่าแผนที่ที่จัดทำในโลกตะวันตก มันเป็นการจัดวางความสัมพันธ์เชิงอำนาจเอาไว้อย่างลึกซึ้งทีเดียว ซึ่งอันนี้ใน skill ของ internal colonialism ของไทย อ. ธงชัยก็เคยศึกษาเรื่องนี้ ใน Siam mapped

[ พูดเรื่อง internal colonialism ผมสอนวิชานี้ที่ธรรมศาสตร์ ผมบอกนักศึกษาว่า ครึ่งหนึ่งเรามานั่งด่าฝรั่ง ตะวันตกทำยังไงกับตะวันออก อีกครึ่งหนึ่งเรามาด่าไทย ก็คือ ไทยก็ทำสิ่งเดียวกันกับล้านนา กับอีสาน ครึ่งแรกอ่านเรื่องฝรั่ง เอา Fanny and the Region of Siam ตัวจริงตายเพราะได้เมียฝรั่ง มานั่งวิเคราะห์ทีละย่อหน้า สนุกสนานมาก กับอีกครึ่งหนึ่งมานั่งอ่าน สาวเครือฟ้า ซึ่งสนุกมาก และนักศึกษาบางคนก็รับไม่ได้ บางคนเป็นคนเหนือบอก ไม่เอา อย่างนี้ผมไม่รับ มันทำให้ผมไม่สบายใจ อ้าว ทำไมคุณไม่ต้องการเข้าใจที่มาที่เป็นอยู่ตอนนี้หรือ ไม่รู้ดีกว่าครับ ผมขอ drop เลย ก็ได้บทเรียนครับว่าเรื่องอย่างนี้อย่าสุ่มสี่สุ่มห้า อย่าไปเหมาว่าเขาเป็นคนล้านนาแล้วต้องมาซึ้งกับเรื่องมาเปิดโปง internal colonialism เขาไม่ได้ซึ้งด้วย เขาอายก็มี เราก็ต้องเข้าใจเขา หรือการที่เรามาพูดเรื่องอย่างนี้กับเขา เท่ากับเราจัดวางตัวเองไว้ในตำแหน่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามาทำให้เขารู้สึกว่าเขาเสียหน้าได้ มันก็เป็นไปได้ ]

สุดท้ายครับ สบู่ ก็เป็นอันหนึ่งที่เอามาพูดได้เยอะ อยากจะแนะนำเรื่องนี้ของ Anne McClintock. Emperial Leather: race gender and sexuality in the colonial context (๑๙๙๕) เล่มนี้ขอแนะนำ อ่านสนุก บทแรกอาจจะงง ไม่สนุกมาก ที่ไปเอารูปถ่ายที่สามีเป็นกามวิตถารและถ่ายภรรยามาชี้ว่าเป็น colonial discourse อาจจะงง ไปอ่านบทที่ ๒-๓ จะสนุกและวางไม่ลงเลย เขาเอาโฆษณาสบู่แคร์มาวิเคราะห์

(ภาพโฆษณาสบู่เพียรส์) ภาพบน - เด็กคนขาวเอาเด็กคนดำลงไปอาบน้ำในอ่าง และใช้สบู่เพียรส์ถู ตัวของเด็กดำก็ลงไปอยู่ในอ่างน้ำทั้งตัวยกเว้นศีรษะ พอแกขึ้นมาจากอ่าง เด็กขาวก็เอากระจกให้เด็กดำส่องดูว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงใช่ไหม ส่วนที่ถูกสบู่ชะล้างก็ขาว แต่หน้ายังไม่ได้โดนล้างก็เลยยังดำอยู่ โฆษณาสบู่เพียรส์ สิ่งแรกคือ การที่เอาเด็กมาใช้ประโยชน์ในการทำเรื่องน่าเกลียดๆ มันมีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาใช้กันในปัจจุบันที่เอาเด็กมาขายสินค้า เห็นทำกันตั้งแต่ยุควิคตอเรียนแล้ว ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นในยุคครึ่งหลังของศตวรร

Comment #1
บอล
Posted @July,16 2007 12.49 ip : 202...222

ไม่มีไรแค่อยากมีชื่อน่ะ

แสดงความคิดเห็น

« 5226
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซท์
"ก๊วนปาร์ตี้"
เว็บไซท์นี้เปิดมาเพื่อ เป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับบันทึกเรื่องราว ทางด้านวรรณกรรม ทุกรูปแบบ ท่านสามารถส่งบทความ - เรื่องสั้น - บทกวี เพื่อมาแลกเปลี่ยนกันอ่าน โดยคลิกส่งได้จากด้านล่างนี้
คลิกเพื่อ >> ส่งบทความ | ส่งเรื่องสั้น | ส่งบทกวี | ปกิณกะ