ขอเชิญร่วมโครงการประกวด "สุดยอดแนวคิดสร้างนิสัยรักการอ่าน"
สมาคม ผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังความใฝ่รู้และการส่งเสริมการอ่าน หนังสือให้แก่เด็กและเยาวชนให้เกิดในสังคมไทย จึงได้จัดตั้งโครงการประกวด "สุดยอดแนวคิดสร้างนิสัยรักการอ่าน" ขึ้น
จึงขอเชิญชวนโรงเรียน สถานศึกษา มูลนิธิ ตลอดจนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการอ่านของเด็กและเยาวชน ร่วมส่งเหตุผลและความจำเป็น พร้อมเสนอแนวคิดการสร้างนิสัยรักการอ่านของหน่วยงานของท่าน ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ขนาดตัวอักษร 14 point และ รูปถ่ายภายในห้องสมุด และภายนอกห้องสมุด อย่างน้อย 2 รูป ไปยังสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ที่อยู่ 83/159 ถ.งามวงศ์วาน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
ภายในวันที่ 15 กันยายน 2552
สิงห์ฯ สอนมวย 'คนข่าววรรณกรรม' อัด มารยาท 'กรรมการซีไรต์'!?
อ่าน "สิงห์สนามหลวงสนทนา" ในเนชั่นสุดสัปดาห์ฉบับล่าสุด (ฉ.900) ได้กล่าวถึงในเรื่องการทำงานข่าวของนักข่าวววรรณกรรม กับบทบาทของคณะกรรมการซีไรต์ ในการประกาศผลรางวัลครั้งที่ผ่านมาล่าสุด นั่นเอง
ลองอ่านดูครับ..
ลับแล , แก่งคอย ในชั่วชีวิตหนึ่งของคนมีหลับแล้วตื่นตลอดชั่วอายุขัย...เป็นอุปมาแห่งจริต โดย สกุล บุณยทัต
ในความทรงจำของชีวิต เราต่างมีบาดแผลทางจิตวิญญาณเกาะติดกันอยู่อย่างติดตรึงและลึกเร้น บางขณะมันมักจะลงโทษเราจนป่วยไข้...และหลายๆขณะมันมักจะผลักดันให้เราต้องตก อยู่ในอาการหม่นมืดคลุมเครือหลับๆตื่นๆ เป็นจริตแห่งมายาคติที่ตามติด...คอยหลอกหลอนหัวใจอันบริสุทธิ์ของเราให้ต้อง ตกอยู่กับความน่าสะพรึงกลัวในสิ่งที่บ่มเพาะวิถีแห่งตัวตนอันแตกซ่าน และไร้เกาะป้องกันในการควบคุมบริบทแห่งการมีชีวิตอยู่ให้ดำรงอยู่ได้อย่าง ถาวรและสงบนิ่ง ซึ่งยิ่งยาวนานสิ่งอันเป็นปรากฏการณ์แห่งความเหลื่อมซ้อนในท่าทีเบื้องต้นก็ จะค่อยๆกลับกลายเป็นความลับแห่งจิต และค่อยๆสะสมจนกลายสภาพเป็นความเหินห่างแห่งการรอคอยที่ไกลออกไปจากความดี งามของชีวิต...มากยิ่งขึ้นทุกที..
อุทิศ เหมะมูล นักเขียนเมืองแก่งคอย คว้าซีไรต์ฯ ปี 52
คณะกรรมการตัดสินให้นวนิยายเรื่อง "ลับแล, แก่งคอย" ของนักเขียนรุ่นใหม่ "อุทิศ เหมะมูล" คว้ารางวัลซีไรต์ประจำปี 2552 ไปครองอย่างเป็นเอกฉันท์ เจ้าตัวเผยเป็นรางวัลที่สองต่อจาก "เซเว่นบุ้คส์ อะวอร์ด"
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้จัดแถลงข่าวประกาศผลรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2552 ว่า รางวัลตกเป็นของนวนิยายเรื่อง"ลับแล,แก่งคอย" ของอุทิศ เหมะมูล
โดยนางกุสุมา รักษมณี ประธานคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า เทียบกับการตัดสินในหลายปีที่ผ่านมา ครั้งนี้ง่ายมาก เพราะกรรมการทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ ด้วยเห็นว่าผู้เขียนสามารถเสนอมิติอันซับซ้อนของมนุษย์ที่แยกไม่ออกจากราก เหง้าและชาติพันธุ์ผ่านกลวิธีอันแยบยล สร้างตัวละคร ฉาก และบรรยากาศได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา ใช้ภาษาที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง แสดงถึงจินตภาพอันกระจ่างและงดงาม
ประเทศใต้ “ใต้ความเวิ้งว้างอันไร้ขอบเขตจำกัด...เราต้องคิดถึงปัญหาที่สะสมในประเทศแห่งนี้”
ประเทศใต้ “ใต้ความเวิ้งว้างอันไร้ขอบเขตจำกัด...เราต้องคิดถึงปัญหาที่สะสมในประเทศแห่งนี้”
สกุล บุณยทัต เขียน ตีพิมพ์ในหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับที่ 42 กรกฏาคม 2552
“แง่มุมของโลกและชีวิต ณ ปัจจุบันมักจะสอดผสานคาบเกี่ยวกันด้วยอุบัติการณ์ทางความคิดและอาการแห่งความรู้สึกที่เป็นไปด้วยความขัดแย้งไร้ระเบียบ ทั้งหมดกลายเป็นความคลุมเครือทางจิตวิญญาณที่ตอกย้ำฝังจำเป็นรอยเหยียบย่ำที่มืดดำในภาวะสำนึก ก่อเกิดเป็นลมหายใจที่ติดขัดวกวน ไร้ซึ่งทางออกในวิถีทางแห่งเจตจำนงอันจริงแท้และมั่นคง เหตุนี้จึงไม่แปลกอะไรเลยที่บุคคลแห่งโลกและชีวิต ณ วันนี้จะต้องจมปลักอยู่กับชะตากรรมอันขมขื่น...เดือดร้อนดิ้นพล่านอยู่กับการติดตามค้นหาจุดบรรจบอันแท้จริงของตนเองอย่างสิ้นหวังไร้ทิศทาง”
“ประเทศใต้” นวนิยายของนักเขียนหนุ่มชาวใต้ “ชาคริต โภชะเรือง” ที่ออกแบบรูปรอยงานเขียนเขาให้ทบซ้อนกันอยู่ระหว่างมิติเรื่องราวของอดีตกับปัจจุบัน... ความจริงแท้ที่ปรากฏกับนัยสำนึกทางจิตวิญญาณและมายาคติของสถานการณ์ที่คาบเกี่ยวกันในบทจองจำอันซับซ้อนของโชคชะตาที่ถูกกระหน่ำโบยตีอย่างน่าเวทนา...
บัวเหล่าที่ 2.5749 ยกกำลัง n
“ก็ยังดีนะคะหมอ ที่ไม่ได้เป็นจิตเภท...เคยเห็นคนเป็นแล้ว...น่ากลัว” เธอขอมีส่วนร่วมในการบำบัดด้วยอารมณ์สดใสร่าเริงที่ตั้งใจเติมลงบนน้ำเสียงและสีหน้า เพื่อที่จะหลอกไม่ให้ตัวเองรู้สึกว่า มันเป็นการปลอบใจตัวเธอเอง
“โรคที่คุณเป็นนี่ ก็ถือว่ามีดีกรีความซีเรียสพอๆ กับโรคจิตเภทล่ะครับ เพียงแต่อยู่คนละขั้วกัน...” คุณหมออธิบายด้วยน้ำเสียงและสีหน้าที่นิ่ง ไม่มีการแต่งเติมด้วยอารมณ์ใดใด
นั่นเป็นน้ำเสียงและสีหน้าที่เหมือนกับวันที่เธอเริ่มเข้ามาบำบัด และก็เป็นน้ำเสียงและสีหน้าที่ทำให้เธอไว้วางใจ และยินยอมเข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง
แต่ในครั้งนี้... น้ำเสียงและสีหน้าที่นิ่งนั้น กลับไม่ช่วยทำให้เธอรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างทุกครั้ง เนื่องจากเธอเพิ่งได้รับรู้ว่า โรคที่เธอเป็นอยู่ ในทางการแพทย์ ถือว่า มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโรคจิตเภท หรือโรคที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามว่า “โรควิกลจริต” หรือ “โรคบ้า”
รายงานการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ ๒ (ภาคใต้)
อ่านพบรายงานการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ ๒ (ภาคใต้) ที่เว็บไซต์ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อ...
รายงานการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ ๒ (ภาคใต้)
รายงานการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ ๒ (ภาคใต้) ในหัวข้อ “สถานการณ์นักเขียนไทยวันนี้ : คุณภาพหรือปริมาณ” ณ ห้องพรหมโยธี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๘.๓๐-๑๗.๐๐ น. โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
………………………………………………………………
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยการสนับสนุนของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ ๒ (ภาคใต้) มีรายละเอียดดังนี้
เหรียญอัศวินฝรั่งเศส แดนอรัญ นักเขียนไทย
วันพุธที่ 24 ธันวาคม 2551
เหรียญอัศวินฝรั่งเศส แดนอรัญ นักเขียนไทย
“เฉพาะเรื่องสั้นขนาดยาวชื่ออสรพิษ เล่มเดียว ยอดพิมพ์ขายในยุโรปประมาณ 100,000 เล่ม”
แดน อรัญ แสงทอง บอกความเป็นไปของวรรณกรรมที่ตนสร้างสรรค์ ท่ามกลางเสียงนกเริงร้อง และเสียงเด็กนักเรียนกว่าร้อย ที่เข้ามาเยี่ยมชมพระราชวังบ้านปืน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
เรา พบแดนอรัญ แสงทอง ในพระราชวังบ้านปืนด้วยเงื่อนไขง่ายๆ ว่า แดนอรัญไม่มีความสุขในการอยู่ในเมือง อีกทั้งไม่ปรารถนาพบพานผู้คนมากหน้า หลายตา ยิ่งการให้สัมภาษณ์ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นเรื่องยาก
แต่ด้วยน้ำใจของเจ้าของบรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน ผู้จัดพิมพ์ ผลงานของแดนอรัญ แสงทอง เรื่องการพบปะจึงกลายเป็นไปตามวาดหวัง
แดน อรัญ แสงทอง นามจริงคือ เสน่ห์ สังข์สุข ผลงานกำลังเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านชาวยุโรปในนาม 'Saneh Sangsuk' ไม่เว้นแม้แต่โฆเซ มูรินโญ อดีตผู้จัดการทีมเชลซีอันลือลั่น
เหนือ จากความชื่นชอบแล้ว กระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส ยังมอบอิสริยาภรณ์ ชั้นอัศวิน (Chevalier De L'Ordre Des Arts Des Lettres) ประดับเกียรติให้อีกด้วย เกียรตินี้มอบให้พร้อมกับบ็อบ ดีแลนด์ อัจฉริยะแห่งวงการดนตรีโลก
บทเพลงที่ไร้เสียงและการแสดงตัวของผู้ก่อการ
บทเพลงที่ไร้เสียงและการแสดงตัวของผู้ก่อการ
รายงานโดย :จรูญพร ปรปักษ์ประลัย:
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 โพสต์ทูเดย์
เมื่อปี พ.ศ. 2549 ศิริวร แก้วกาญจน์ ส่งเรื่องสั้น “กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด” และบทกวี “การปะทะของแสงและเงา”
เข้า ประกวดรางวัลวรรณกรรมการเมือง “พานแว่นฟ้า” ปรากฏว่าเกิดกรณีตัดสิทธิผลงานที่ท่านประธานฯ เห็นว่าไม่เหมาะสม อาจสร้างความขัดแย้ง หรือชี้นำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และผลงานของ ศิริวร (ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาว่าสมควรจะได้รางวัล) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิด้วย
ต่อ มา ศิริวร ได้ขยาย “กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด” ตีพิมพ์ในรูปแบบของนวนิยาย ปรากฏว่าด้วยความโดดเด่นของเนื้อหา และกลวิธีการเล่าแบบ “ให้ปากคำ” ของตัวละครมากมาย ทำให้นวนิยายเรื่องนี้เข้าตากรรมการคัดเลือกวรรณกรรมซีไรต์ จนกลายเป็นหนึ่งในสิบเล่มที่เข้ารอบในปี 2549
นี่เป็นบทพิสูจน์ว่า “กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด” มีดี และไม่ใช่แค่ดีธรรมดา แต่ดีชนิดติดอันดับเลยทีเดียว
แต่ ศิริวร ยังไม่หยุดอยู่แค่นี้ ปีต่อมา เขาส่งบทกวีสองบท ได้แก่ “จดหมายของแม่” และ “เพลงละเมอของเด็กชายและเพลงกล่อมของแม่” เข้าประกวดรางวัลพานแว่นฟ้าอีกครั้ง ปรากฏว่าบทกวีทั้งสองได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ ตามลำดับ โดยคณะกรรมการไม่รู้เลยว่า บทกวีสองชิ้นนี้เป็นผลงานของคนคนเดียวกัน และเป็นของ ศิริวร แก้วกาญจน์ เพราะเขาใช้นามปากกาที่ต่างกันในการส่งเข้าประกวด
'รอบโลกการอ่าน'
รายการ 'ครอบครัวของเรา' (คลื่น 105 MHz)ช่วง 'รอบโลกการอ่าน'ชวนไปอ่านและตามหามโนราห์กับ 'ชาคริต โภชะเรือง' ในนวนิยาย 'ประเทศใต้' ค่ะเชิญรับฟังตามลิงค์นี้http://www.thaicr.org/node/2139