คลองแดน 2552
คลองแดน 2552 : ศิลป์กะรักษ์ฤา จะเหลือไว้เพียง แค่ตำนาน คำกล่าวขานไว้เพียงบอกลูกเล่าหลาน เพียงรู้ ถึงถิ่นอยู่ฤา จะปล่อยให้สายน้ำ ไหลเอื่อย ดังหดหู่ถิ่นซึ่งเคยพรั่งพรู จักขอเก็บ ไว้เพียง โบอกเล่าโฤา สายน้ำ ไหลไปแล้ว ไม่หวนกลับถิ่นพำนัก ผุพังไป ไร้เหลียวแลฤา เพียงเพราะกาลเวลา แน่แท้ นั้น
ประเทศใต้...เรื่องของชายผู้ตามหาโนราห์
รายงานโดย :อินทรชัย พาณิชกุล:
วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ชาคริต โภชะเรือง ชื่อนี้มิใช่หน้าใหม่ในวงการวรรณกรรมแต่อย่างใด
นาน 18 ปีแล้วที่นักเขียนจากบ้านดอนประดู่ ต.ห้วยลึก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ผู้นี้ จรดปลายปากกาสร้างสรรค์ผลงานการเขียนออกมาเป็นเรื่องสั้น บทกวี และสารคดีทั่วไป ลงตีพิมพ์ตามหน้านิตยสารต่างๆ จนทำให้ชื่อของเขาได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากในฐานะมือเขียนเรื่องสั้น คุณภาพอีกคนหนึ่งของภาคใต้
แล้วเมื่อนวนิยายเล่มแรกในชีวิตที่ชื่อว่า ประเทศใต้ จากสำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ ผ่านทะลุเข้าสู่รอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ประจำปี 2552 นั่นจึงทำให้ชาคริต โภชะเรือง ถูกจับตามองอีกครั้ง พร้อมกับผลงานเล่มล่าสุดของเขาเล่มนี้ “ประเทศใต้” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการตามหาสิ่งมีค่าที่สูญหายไปจากชีวิตและท้องถิ่น โดยใช้ “มโนราห์” เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่สูญหาย อันสื่อนัยถึงคุณค่าที่เคยมีพลังแนบแน่นอยู่ในวิถีชีวิต และร้อยรัดผู้คนกับสรรพสิ่งต่างๆ ให้ยึดโยงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
“เป็นเรื่องของการตามหาคุณค่าทางจิตวิญญาณที่หายไป โดยใช้โครงเรื่องของวรรณคดีเก่าแก่เรื่องพระสุธนมโนราห์ ซึ่งในแง่เรื่องราววรรณคดี เราจะเห็นว่าตัวละครเอกพระสุธนออกตามหานางเอก นั่นก็คือนางมโนราห์ พอเข้าไปในป่าหิมพานต์ก็พบเจอด่านปัญหาอุปสรรคต่างๆ นานาคอยขวางกั้น จนสุดท้ายก็ได้พบนางมโนราห์...มันเหมือนกับคนที่ตามหาอะไรบางอย่าง แล้วเจออุปสรรคต่างๆ ก็ฟันฝ่าจนผ่านพ้นไปได้ สุดท้ายเขาก็จะเจอในสิ่งที่กำลังค้นหาในที่สุด” ชาคริต กล่าว
บทกวี : ฉุยฉายรายทางบางเสี้ยว
ฉุยฉายรายทางบางเสี้ยว๑ทางชีวิตคนหนึ่งมีทางหนึ่งคำนึงถึงหลากคนก็หลากหลายทุกเส้นทางมีงามมีงมงายมีต้นปลายระหว่างคล้ายวงเวียนในหนึ่งทางของตนปะปนเขาบางเสี้ยวเงาเห็นแยกความแปลกเปลี่ยนจึงหลายทางทอดทับกับรอยเกวียนหลายคนเฆี่ยนเนียนใจในการแลฉุยฉายรายทางบางเสี้ยวทางเดียวอาจเห็นเป็นแผลหลายทางชนะพ่
โอ้โห...ประเทศใต้ น่าทึ่ง ๆ
โดย นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประเทศใต้ผู้เขียน : ชาคริต โภชะเรืองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ข้อเด่นอย่างแรกที่เห็นได้ชัดจากนวนิยายเรื่องประเทศใต้ หนึ่งในผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ คือ วิธีการดำเนินเรื่องที่กระโดดข้าม สลับกลับไปมา อ
มนุษย์= ตัวตนที่ซับซ้อน
เมื่อเจ้าแห่งแคนโต้ (บทกวี 3 บรรทัดที่ท้าทายต่อการตีความ) สร้างงานใหม่เป็นนวนิยายเล่มหนาปึ้ก
สาย ตาคนวรรณกรรมจึงอดมองอย่างเพ่งพินิจไม่ได้ว่า หรือนี้จะเป็นงานชิ้นโบแดงที่เต็มไปด้วยรายละเอียดทางความคิด และมุมมองที่ศิลปินผู้ใช้วรรณกรรมเป็นสื่อศิลปะรังสรรค์ขึ้นมาให้กับโลก?
ความจริง “โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก” ไม่ใช่งานใหม่เอี่ยมถอดด้าม เมื่อ 5 ปีก่อน ฟ้า พูลวรลักษณ์ เคยมีหนังสือเล่มบางๆ ออกมาชื่อว่า “ห้องเรียนที่เงียบที่สุดในโลก” มันเป็นเหมือนบันทึกผลลัพธ์ของสิ่งที่เขาเรียกว่า “ปฏิบัติการ” ซึ่งเขาทำขึ้นสมัยที่ยังเป็นหนุ่ม
ประเทศใต้ ร่องรอยที่หายไป
ในวันประกาศผลรอบคัดเลือกของรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการการตัดสินรอบคัดเลือก ได้กล่าวกับเราไว้ ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ว่า นวนิยายทั้งเจ็ดเล่มที่เข้ารอบ ไม่ว่าสุดท้ายแล้วเรื่องใดจะก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งชัย ก็ไม่แตกต่าง เพราะทุกเล่มมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ "เป็นงานที่สร้างพลังทางความคิด จนยืนยงอยู่ได้ และเราก็สามารถอ่านได้ครั้งแล้วครั้งเล่า"
เป็นคำที่ผุดขึ้นมาท่ามกลางกระแสคลื่นของความหวั่นวิตกที่ว่า "วรรณกรรมไทยกำลังจะตาย" ซึ่งกำลังถาโถมความรู้สึกของคนทำงานสร้างสรรค์ทางตัวอักษรหลายต่อหลายคน
และมีความหมายไม่น้อยต่อลมหายใจที่กำลังรวยริน
เผยโฉม 7 นวนิยายดีชิงซีไรต์ ปี 52
เผยโฉม 7 นวนิยายดีชิงซีไรต์ ปี 52 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2552 06:39 น.
โค้งสุด ท้ายกันแล้ว สำหรับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ ที่คณะกรรมการเพิ่งประกาศรายชื่อนวนิยายที่เข้ารอบสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้มีผลงานถูกส่งเข้าชิงทั้งหมด 76 เรื่อง และมีผลงานที่เข้าตากรรมการ 7 เรื่อง คือ
- เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี
- ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม
- ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง
- โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
- ลับแล, แก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
- โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี
- วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล
อ่านรายละเอียดด้านในนะครับ
ซีไรต์ (กับซามูไรทั้งเจ็ด) ในรายการโลกของเรา
ซีไรต์ (กับซามูไรทั้งเจ็ด) ในรายการโลกของเรารอบโลกการอ่านพาไปรู้จักนักเขียน และรับฟัง "คำประกาศ" ของคณะกรรมการรอบคัดเลือกที่มีต่อผลงานนวนืยายทั้งเจ็ดเล่มค่ะเชิญรับฟังค่ะขอบคุณค่ะ ยิ้มกว้าง ๆ
กระซิบของคำตอบที่ลอยผ่านติ่งหู
กระซิบของคำตอบที่ลอยผ่านติ่งหู
จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
บทวิจารณ์หนังสือ "ประเทศใต้" ของ ชาคริต โภชะเรือง ตีพิมพ์ในนิตยสาร "สีสัน" ฉบับที่ 11 พศ. 2552
ช่วงเวลายาวนานกับเหตุการณ์ไม่สงบ ณ ดินแดนใต้สุดของประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนติดล็อคอะไรบางอย่าง ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ตรงเผง ไม่มีใครชี้ทางออกที่แน่ชัด ไม่มีใครสามารถคลี่คลายปัญหาให้ทุเลาลง ทุกคนทำได้แค่เฝ้ามอง และรอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
น่าสังเกตว่า หลายปีนับแต่เหตุการณ์รุนแรงอุบัติขึ้น มีงานวรรณกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาเขียนอย่างจริงจัง ที่นับเป็นชิ้นเป็นอันหน่อยก็ "กรณีฆาตกรรม โต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด" ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ ซึ่งมองเหตุการณ์แบบแจกแจงรายละเอียด ผ่านมุมมองของตัวละครที่หลากหลาย ครบทุกแง่มทุกมุมของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ควบคู่ไปกับกลวิธีการเขียนที่แยบยล ซ่อนนัยให้ต้องตีความ และภาษาที่งดงามราวกวีนิพนธ์
3 ทศวรรษซีไรต์ เปิดมุมมองใหม่นิยายไทย
พ.ศ.2552 รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรต์ ก็กำลังก้าวล่วงสู่ทศวรรษที่ 3
และเป็นคราของนวนิยาย ที่จะมาโลดแล่นบนเวทีนี้
เงา ฝันของผีเสื้อ โดย เอื้อ อัญชลี จาก สนพ.มติชน, ทะเลน้ำนม โดย ชัชวาล โคตรสงคราม จาก สนพ.หนังสือแม่น้ำโขง, ประเทศใต้ โดย ชาคริต โภชะเรือง จาก สนพ.ก๊วนปาร์ตี้, โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก โดย ฟ้า พูลวรลักษณ์ จาก สนพ.ใบไม้สีเขียว, ลับแล, แก่งคอย โดยอุทิศ เหมะมูล จากอมรินทร์พริ้นติ้ง และวิญญาณที่ถูกเนรเทศ โดย วิมล ไทรนิ่มนวล
ทั้ง 7 ชื่อข้างต้น คือผลการพิจารณาจาก 76 เล่ม ของกรรมการรอบแรก ซึ่งนำโดย "รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ และอีก 6 ท่านคือ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย, อ.ฐนธัช กองทอง, ผศ.ประทีป เหมือนนิล, รักษ์มนัญญา สมเทพ, อ.ไศลทิพย์ จารุภูมิ และ ผศ.ดร.เสาวณิต จุลวงศ์"