"ก๊วนปาร์ตี้"
"ก๊วนปาร์ตี้" เป็นกึ่งๆ ชมรมหรือสโมสร เพื่อกิจกรรมพบปะพูดคุยกัน ในวันหยุดสุดสัปดาห์ (ไม่อาจปฏิเสธว่า พ่วงด้วยการกินข้าวและเหล้ายา) ของนักเขียนกลุ่มหนึ่ง ในจังหวัดหัวเมืองภาคใต้ เป็นเหตุบังเอิญ ที่อาจชวนให้นับเป็นข้อสังเกตว่า สมาชิกส่วนใหญ่ (ในจำนวนไม่กี่คน) เป็นนักเขียนเรื่องสั้น และส่วนใหญ่ก็เป็นนั
เรื่องสั้น/สีของเสื้อ/จูพเนจร
เป็นเสื้อกิ๊กก๊อก ถ้าจะว่าอย่างนั้น
ต่อราคาพอหอมปากหอมคอ จวนเจียนได้แล้ว แม่ค้าก็เข้าไปเอาเสื้ออีกตัวมาเสนอให้อีกตัว
“สวยนะตัวนี้ ร้อยยี่สิบ ...เอาไปร้อยนึงแล้วกัน” แม่ค้าพูดต่อ
“ขายแค่ร้อยยี่ ปกติร้อยแปดอยู่”
ผมยิ้มน้อยๆ เฉย แต่แวบนึงดูก็ถูกใจดี เอ๊ะราคาก็ไม่โหดเท่าไหร่ น่าจะพอซื้อได้ นึกชมแม่ค้า นึกขอบคุณแม่ค้าอยู่ในทีว่าเข้าใจเลือกออกมาให้ดู หรือไม่รู้อิเหน่อะไรแกก็ไม่รู้
“ไม่คับ เอ้ยไม่เล็กหรอก น้องใส่หนูใส่ได้พอดีแล้วแหละ คนขาวๆใส่ขึ้น”
“อ่า..............”
ดำเนินไพร
เดินฮัมเพลงเล่นเบาๆ เคล้าสายลมพัดพาย
มองดูเรือนกุฏิแต่ละหลังๆในราวป่า ดูสงบเงียบ ร่มเย็นสมถะ
เรียบง่ายแต่ก็ให้วังเวงหดหู่อยู่ในที
บางเรือนทิ้งร้าง
ตลอดทางเดินร่มครึ้มไปด้วยแมกไม้ เติบต้นโตตามวิสัยธรรมชาติแท้ๆ
มีธารน้ำไหลเซาะฉ่ำ สัตว์สาบางชนิดแอบออกมาให้เห็นอยู่ไวๆ เสมือนทักทาย
ดูเหมือนจะมีไม่กี่แห่งหนแล้ว ที่เป็นเรือนรังของผู้รักความสงบและสันโดษเช่นนี้
กวาดใบไม้
เคยได้ยินได้ฟังเรื่องการกวาดใบไม้ปฏิบัติธรรม ไม่นึกว่าจะได้มาถือไม้กวาดในวันหนึ่ง ย่างเท้าเปลือยเปล่า แล้วลงมือกวาดขยะใบไม้ หวนนึกถึงคำท่านพุทธทาสที่ว่า "เดินดูให้ทั่วเสียก่อน" กวาดไประเรื่อย เพลิดเพลินกับใบไม้แต่ละใบๆ ช่วยให้ทางเดินสะอาดขึ้นเล็กๆน้อยๆ เหนื่อยก็พัก แล้วมานั่งใต้ร่มไม้ เหลียวมองไปรอบรายหย่อยคลายอารมณ์
ย่ำมาเยี่ยมถึงซึ่งถิ่นธรรม
ผมมีโอกาสได้ไปพักอาศัยอยู่ที่สวนโมกข์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ 2 ครั้งในชีวิต และตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสก็จะไปสักปีละครั้ง
ในครั้งแรกช่วงระหว่างวันที่ 7-15 ธันวาคม 2545
มาพร้อมกับภาพจินตนาการของสวนโมกข์
เท่าที่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามของที่นี่และท่านพุทธทาส ภิกขุ
เป็นการตั้งใจออกเดินทางท่องเที่ยวพเนจรไป เริ่มต้นโดยการแวะไปเยี่ยมเยียนเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเขาบอกว่าเมื่อเมื่อมาพำนักที่สวนโมกข์แล้ว รู้สึกไม่อยากออกมาสู่ความวุ่นวายภายนอกเลย อยากให้ผมลองมาดู
บทกวี : จตุรพิธพรชัย
จตุรพิธพรชัย
อายุ ยืนหมื่นปีเป็นที่ตั้ง
วรรณะ ดั่งเลขาเทพพาฝัน
สุขะ ทิพย์อิ่มจิตนิจนิรันดร์
พละ มั่นแกร่งเข้มเต็มสมบูรณ์
อายุ มั่นขวัญชื่นวันคืนแจ่ม
วรรณะ แอร่มเพริศพราวราวจันทร์สูรย์
สุขะ เพิ่มเติมวัยไร้อาดูร
พละ พูนสิริสวัสดิ์พิพัฒน์พล
อายุ ทอดยาวไกลใจเป็นหนุ่ม
วรรณะ นุ่มนวลใสในกุศล
สุขะ เกิดเทิดบุญคุณมงคล
พละ ยลเยี่ยงกรายชายฉกรรจ์
อายุ ยาวราวปั้นสวรรค์ทิพย์
วรรณะ พริบพราวสวยรวยศรีสรรพ์
สุขะ ยิ่งสุขอื่นเป็นหมื่นพัน
พละ ทันนิพพานสราญเทอญ ฯ<br />
ส.ค.ส.๒๕๕๑
คุณครูพีรมิตร พึ่งโพธิ์
โรงเรียนสะพือวิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่อุบลราชธานี เขต ๒
เพศวิถีของผู้หญิง ในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่
ในสังคมส่วนใหญ่ เพศวิถีมีลักษณะเป็นเรื่องต้องห้าม (taboo) ในแง่ที่ถือว่าเป็นเรื่อง "น่าอับอาย" มิพึงแสดงออกหรือกล่าวถึงอย่างประเจิดประเจ้อ หากแต่ควรเก็บงำไว้ในพื้นที่ส่วนตัว ในบางวัฒนธรรมนั้น ความเป็นเรื่องต้องห้ามของเพศวิถีถูกตอกย้ำจนถึงขั้นเป็นเรื่อง "น่าละอาย"
ความทรงจำ และ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน
ความทรงจำทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญต่อผู้คนและสังคม
ความทรงจำมิใช่เป็นเพียงแค่การจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเฉยๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการจดจำอดีตที่มีพลังในการอธิบายเชื่อมโยงมาสู่การกระทำ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ คือการเลือกจดจำอดีตบางอย่างเอาไว้ โดยละเลยอดีตอื่นๆ ที่เราคิดว่าไม่สำคัญหรือไม่อยากจำ การเลือกจำหรือไม่จำอะไรย่อมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ความทรงจำที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กับโครงสร้างอำนาจในปัจจุบันพึงถูกเก็บซ่อนหรือคัดทิ้ง ขณะที่ความทรงจำซึ่งหนุนเสริมโครงสร้างอำนาจในปัจจุบันย่อมถูกเลือกมาจดจำ ผลิตซ้ำ และเผยแพร่ให้กลายเป็นความทรงจำร่วมของสังคม
จุลสาร พื้นบ้านพื้นเมือง
จุลสาร พื้นบ้านพื้นเมือง
สื่อสืบสาน ข้าวพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
ฉบับขึ้นอาน : มกราคม 2551
ข้าว ผัก จักรยาน
ข้าว ผัก จักรยาน เป็นคำคล้องจองธรรมดาๆ ที่เราเลือกมาบอกเล่าถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่เราคิดฝัน ความจริงที่เราเป็นอยู่ และรากเหง้าของเรา
แม้เราจะเริ่มมักคุ้นกับการกินแฮมเบอร์เกอร์ แซนด์วิส ไก่เคเอฟซี อะไรต่างๆ กันแล้ว แต่เราก็ยังกินข้าวเป็นอาหารหลัก
กินผักเป็นเครื่องเคียง ที่ปักษ์ใต้บ้านเราเรียกว่า ผักเหนาะ
น้ำชุบเคย น้ำพริกอ่อง ปลาร้า บูดู-บีบส้มนาวหี้ด ฮาย...
หรอยจังหู!
กินข้าวกับกินผักนั้นเป็นของดีของแน่ แต่จะให้ดีเราลองมากินข้าวพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองกันบ้างดีไหม ต้องดีแน่ๆ สด หอม กรอบ อร่อย อุดมคุณค่า และไม่ต้องกลัวสารพิษปนเปื้อน ถ้าเราปลูกเองกินเอง แบ่งปันเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่ซื้อขาย