บันทึก 100 วัน (6)
8 เมษายน 2551
พี่เหมียว-อัจจิมา นัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะไปหาผู้บริหารโรงเรียนมหาวชิราวุธ เรานัดพบกันก่อนที่สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง ผมเข้าใจผิด เดินไปหน้าห้องของรองสาคร ทองมุณี ตำรวจหน้าห้องบอกว่าสงสัยจะมาผิดที่
พี่เหมียวเป็นแกนนำรับผิดชอบกิจกรรมลดอุบัติเหตุ ปกติทำงานเป็นนักวิชาการที่สสจ. ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัย รวมไปถึงงานด้านความมั่นคงที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา ผมโทรหาพี่เหมียวทันทีที่ได้ยินเสียงรองสาครจากสถานีวิทยุที่มีการรายงานสดสถานการณ์การนับคะแนน การเลือกตั้งผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ ทำท่าว่าจะมีการก่อม็อบยืดยาว รองสาครเข้ามาควบคุมสถานการณ์
"ผมมาในฐานะประชาชนคนหาดใหญ่ ไม่ใช่ตำรวจ ขอให้ทุกฝ่ายใจเย็นๆ ขอให้ส่งตัวแทนเข้ามาคุยกัน..." ผมพยายามเงี่ยหูฟังจับใจความได้สั้นๆ งานนี้ท่าทางจะยืดเยื้อ ผมคิด
มอง 'อมรินทร์พริ้นติ้ง' บนเส้นทาง 'Content Business'
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นับจาก ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ได้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน ขึ้นเมื่อปี 2519 เพื่อผลิตนิตยสารเกี่ยวกับบ้านและที่อยู่อาศัยชื่อ "วารสารบ้านและสวน" นี่คือ..สายธารเล็กๆ สายแรกที่ไหลรวมจนก่อเกิดเป็น บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (APRINT) ดำเนินธุรกิจผลิตสิ่งพิมพ์ครบวงจร อย่างทุกวันนี้
ปัจจุบัน เครืออมรินทร์มีผลิตภัณฑ์หลักที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายธุรกิจ ได้แก่ สายธุรกิจโรงพิมพ์ รับจ้างพิมพ์งานทั่วไป และสายธุรกิจสำนักพิมพ์ เพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ของตนเอง ซึ่งได้ทำการจัดจำหน่ายผ่านบริษัทในเครือ บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด (ร้านนายอินทร์) ที่บริษัทถือหุ้น 19%
วันนี้ ระริน อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการสายธุรกิจสำนักพิมพ์ บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ทายาทคนโตของ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ที่ล่วงลับไปแล้ว กล่าวกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า ภาวะเศรษฐกิจ ในปี 2550 ที่ผ่านมาจะค่อนข้างยากลำบาก แต่เครืออมรินทร์ก็ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
บันทึก 100 วัน (4)
2 เมษายน 2551
28 มีนาคม 2551 ไปร่วมเปิดศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเศรษฐกิจพอเพียง ของอ.ภาณุ พิทักษ์เผ่า ที่บ้านหาร บางกล่ำ ศูนย์อยู่ลึกกลางทุ่ง หลังคาสีส้มลอยเด่นแลตัดกับสีเขียวของท้องทุ่งชานเมือง
อ.ภาณู เป็นอีกคนที่เดินตามความฝันอย่างไม่ลดละ ความฝันอยากมีศูนย์อบรมกลายเป็นจริงแล้วในวันนี้
มีทหารและตำรวจใหญ่มาร่วมงานหลายคน แต่ที่มากันแน่นเต็มอาคารรวมก็เห็นจะเป็นเครือข่ายเกษตรวิถีธรรม-วิถีไทที่มีกระจายไปทั้งจังหวัด เป็นงานชุมนุมศิษย์เก่า(และใหม่)ของอ.ภาณุก็ว่าได้
หลายคนชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในชั่วเวลาก็จากการเข้าร่วมอบรม...ได้เรียนรู้ผ่านหลักสูตรดีๆ ที่ประกอบด้วยเงื่อนเวลา และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ความคิดคนก็สามารถปรับเปลี่ยนยกระดับจากที่เสื่อมทรามให้หันมาฝักใฝ่ในทางที่ดีงามมากขึ้นได้
ที่เห็นได้ชัดคือ ความเป็นกัลยาณมิตร ที่ยากจะหาได้ในสังคมบริโภคนิยม งานนี้ใครมีของดีอะไรมาสาธิตก็พามา อย่างเช่น พลังงานทดแทนจากดวงอาทิตย์ แก๊สชีวภาพ การทำขนมจีนโบราณ การทำน้ำมันมะพร้าว...ร่วมด้วยช่วยกัน
29 มีนาคม 2551 รอรถส่งเฟอร์นิเจอร์มาส่ง เราสั่งตู้เสื้อผ้ากับตู้เก็บเอกสารมาใหม่ หลังจากที่ไม่ได้ใส่ใจกับบ้านมานาน ปล่อยให้รกเรื้อ ฝุ่นผงเริ่มเกาะ ห้องนอนก็ไม่ได้ทำความสะอาด เสื้อผ้าก็วางกองใส่ตะกร้า
มัวแต่ทำงานๆ ไม่ค่อยได้ใส่ใจตัวเอง มารู้ตัวอีกที สุขภาพก็แย่ สภาพแวดล้อมก็แย่ เช่นนี้เห็นท่าไม่ดีแน่
จัดบ้านใหม่แล้วเสร็จ บ้านช่องสะอาดเรียบร้อยขึ้นทันตา ค่อยดูเป็นบ้านขึ้นมาหน่อย
ปีนี้ตั้งใจที่จะบริหารเวลาให้สมดุลมากขึ้น ปีที่ผ่านมา ชีวิตเสียสมดุลไปไม่น้อย
ปีนี้ขอเริ่มใหม่
30 มีนาคม 2551 กลับบ้านที่พัทลุง ทำบุญไหว้ก๋ง ปีนี้นัดหมายไม่พร้อมกัน แต่ก็ดีตรงที่ได้พบเพื่อนๆ พี่ๆ ที่ไม่ได้เจอกันนานอีกหลายคน บางคนก็มาไหว้ก๋งตรงที่เดียวกันด้วยซ้ำแต่ไม่เคยรู้เพราะว่ามาไหว้ไม่ตรงกัน มาถึงก็เลยต้องนับญาติกันใหม่ จะได้รู้ว่าใครเป็นใคร สืบญาติสาวย่านกันไปให้พอรู้
มีบางคนก็ทะเลาะกันแทบเป็นแทบตาย กะอีแค่กั้นรั้วกินแดนเข้ามา ต้องลากเจ้าหน้าที่มารังวัดตรวจหมุดหมายที่ปักไว้ ทำเอามองหน้ากันไม่ติด ทั้งที่ความจริงแล้ว แทบทั้งบางก็ล้วนเป็นพี่น้องกัน น้องก๋งบ้าง น้องทวดบ้าง สายเลือดเดียวกันทั้งนั้น
ที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ มีแต่คนเฒ่าเท่านั้นที่หลงเหลืออยู่ในหมู่บ้าน รุ่นลูก รุ่นหลาน ได้แต่ไปเอาดีต่างบ้านต่างเมือง จะได้กลับมาพบกันทีก็ตอนวันว่าง วันทำบุญนี่แหละ
ตอนหัวค่ำ รับศึกหนัก...เลือกตั้งประธานและกรรมการหมู่บ้านแทนชุดเก่าที่หมดวาระไป
ยังเป็นอีกเรื่องที่ขมวดปมอยู่ในอก คลีคลายไม่ได้ ที่นี่เป็นหมู่บ้านชานเมือง ประสบปัญหาเรื่องขาดน้ำมานาน แต่เรื่องใหญ่กว่านั้นคือการต่างคนต่างอยู่ ขาดความสามัคคี และความคิดที่แตกต่างในการพัฒนาหมู่บ้าน
ไม่มีโอกาสได้พูดจากัน ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด เวลามีการประชุมก็ไม่มาร่วม แต่ทุกครั้งก็ดึงตัวไปซักถามด้วยความอยากรู้ทุกครั้งว่าคุยอะไรกัน มีมติว่าอย่างไร เจอแบบนี้บ่อยๆก็น่าเบื่อเหมือนกัน
แต่ก็ต้องอดทนและเข้าใจคนอื่นให้มาก มิฉะนั้นหมู่บ้านก็เดินไปข้างหน้าไม่ได้
นี่ดีว่ามีคนคิดเช่นนี้หลายคน ถ้าหากบ้าอยู่คนเดียวก็เห็นท่าว่าจะอยู่ไม่ได้
ไม่มั่นใจว่าจะมีสมาชิกออกมาร่วมประชุมสักกี่คน ตกเย็นฝนตกลงมาห่าใหญ่ แต่ครู่เดียวฟ้าก็โปร่ง
กว่าที่จะได้ประชุมก็เกือบทุ่มตรง ผมกลายเป็นคนนำการประชุม ผมเปิดประเด็นพยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของการขาดความสามัคคี(หมู่บ้านยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม)การเลือกประธานหมู่บ้านควรที่จะหากรรมการหรือประธานที่มีคุณสมบัติมากพอที่จะแก้ไขปัญหาหนักนี้ ถามนำไล่ไปทีละคน ให้แต่ละคนได้แสดงความเห็นและเสนอแนะการคัดเลือกประธานและการบริหารหมู่บ้าน
ในที่สุดก็ได้ประธานคนใหม่ คือจ่าเจษ มีรองประธานที่มาจากกลุ่มประธานคนเก่า(บางคนก็เคยเป็นประธานหมู่บ้านมาก่อน)
บรรยากาศที่ไม่ตึงเครียด ถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะเกิดขึ้นทำให้พออุ่นใจได้บ้างว่า สถานการณ์ความขัดแย้งในหมู่บ้านอาจจะมีแนวโน้มคลี่คลายมากขึ้น
แต่ก็ไว้ใจไม่ได้ คงต้องรอดูเหตุการณ์อีกสักระยะ
31 มีนาคม 2551
ได้รับหนังสือ "เดินไปให้สุดฝัน" ของพี่วินทร์ เลียววาริณ ส่งมาให้อย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่มีผลงานใหม่ เห็นแล้วได้แต่อิจฉาและชื่นชมอยู่ในใจ
นอนอ่านรวดเดียวจบ นิ่งอึ้งไปนาน...ปล่อยความรู้สึกไปตามตัวอักษร พาใจล่องลอยไปตามจินตภาพ-โลกของคนๆหนึ่ง ที่แวดล้อมไปด้วยความจริงและความฝัน วรรณกรรม ภาพยนต์ การออกแบบ งานโฆษณา...ในที่สุดเขาก็เลือกที่จะเดินเคียงข้างความฝันและเดินไปให้สุดฝันนั้น
คนเราจะมีสักกี่คนที่กล้าเดินตามความฝันและกล้าเดินไปให้สุดฝัน
บันทึก 100 วัน (3)
27 มีนาคม 2551
เป็นวันที่ค่อนข้างเบาสบาย แม้ว่าจะมีงานประชุมที่คูขุดเรื่องทิศทางการท่องเที่ยว ปล่อยให้น้องๆได้ลงพื้นที่แทน ตัวเองนั่งสรุปรายงานที่คั่งค้างอยู่
ทบทวนการประชุมเมื่อวันที่ 16 มีนาคมและวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา...เราตัดสินใจจัดเวทีสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองหาดใหญ่...อาศัยช่วงจังหวะเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ 6 เมษายน ที่ใกล้เข้ามา หมอสุภัทรเสนอว่าน่าจะจัดเวทีประชาคมเมืองหาดใหญ่ ระดมข้อเสนอในการพัฒนา เสนอต่อผู้สมัคร
อันที่จริงก็เริ่มคุ้นกับเรื่องนโยบายสาธารณะ ซึ่งไม่จำเป็นที่มีแต่นักการเมืองเท่านั้นที่จะนำเสนอ ประชาชนอย่างเราๆท่านๆก็สามารถผลักดันร่วมกันได้ สองสามปีมานี้ สงขลาก้าวไปข้างหน้าในหลายๆเรื่อง การเมืองท้องถิ่นในช่วงเลือกตั้งนี้ก็เช่นกัน หากเรารวมตัวกันได้ จัดเวทีแล้วเชิญผู้สมัครมารับฟังข้อเสนอของภาคประชาชนบ้าง การเมืองจะได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปในทางที่ดี
เลือกตั้งหาดใหญ่คราวนี้มีผู้สมัคร 4 คน ต่างก็เสนอนโยบายออกมาแข่งขันกันซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี การเมืองอย่างน้อยก็เปลี่ยนรูปแบบการหาเสียง ที่เน้นกันในเรื่องนโยบายมากขึ้น แม้ว่าหลายๆนโยบายจะออกมาใกล้เคียงกันก็ตาม แต่ก็ยังดีกว่าแข่งขันในเรื่องซื้อเสียง หรือว่าอาศัยหัวคะแนนของใครของมัน
หาดใหญ่ในช่วงนี้อยู่ระหว่าง "ขาลง" สุดๆ โรงแรมก็ไม่มีคนพัก การท่องเที่ยวซบเซา เสน่ห์หาดใหญ่กำลังจะเลือนหาย จำเป็นต้องมีจุดขายใหม่ๆเข้ามาแทนที่ เมืองหลวงภาคใต้กำลังจะกลายเป็นอดีต
บันทึก 100 วัน (2)
26 มีนาคม 2551 พี่เจี๊ยบโทรหาตั้งแต่เช้า ถามยืนยันเรื่องการประชุมของมูลนิธิโคกที่ไม่แน่ใจว่านัดหมายที่ใด ระหว่างวัดคลองแหกับหาดทิพย์ สรุปว่าไม่แน่ใจ เพราะว่าผมเองไม่ได้ถามให้ละเอียด เนื่องจากวันนี้ไม่ว่าง ต้องลงไปตำบลปริกทำแผนตำบล
งานสร้างฝายดักขยะของคลองแหกำลังรุดไปข้างหน้า วันนี้ได้แบบร่าง อีกไม่ช้าคงจะได้ลงมือทำ
คิดไปก็แปลกดี ที่อื่นเขาทำฝายชะลอน้ำ แต่ที่คลองแหกำลังจะทำฝายดักขยะ(ฝายที่ 3แล้ว ฝาย1 และฝาย 2 พังทลายไปหมดแล้ว ด้วยเหตุที่พ่ายแรงน้ำและขยะในหน้าน้ำหลาก คราวนี้เรากำลังจะทำฝายน้ำล้นถาวร)
มาถึงสถานีอนามัยปริก สายนิดหน่อย ปรากฏว่าชุมชนมากันพร้อมหน้า พวกเขาเตรียมนำเสนอผลการดูงาน ผมให้พวกเขานำเสนอด้วย powerpointเผื่อว่าคนอื่นที่ไม่ได้ไปดูงานมาจะได้ร่วมเรียนรู้ และผลที่ออกมาก็น่าชื่นใจไม่น้อยที่การดูงานใน 3 จุดระหว่างการทำแผน ได้ผลคืบหน้าไปมาก
รองนายกฯอบต.นำเสนอด้วยตัวเอง เล่าประสบการณ์ดูงานการทำฝายชะลอน้ำที่ป่าต้นน้ำบาโรยหรือผาดำ
ส่วนเหตุผลที่ต้องไปดูงานนั้น มาจากว่าตำบลปริกกำลังประสบปัญหาหนักอยู่ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ปัญหาน้ำ(ทั้งขาดแคลนน้ำ น้ำผิวดินแห้งขอด น้ำเสียจากโรงงาน) ปัญหายาเสพติดในชุมชน และปัญหาความแตกแยกทางการเมือง
บันทึก 100 วัน
25 มีนาคม 2551
ลืมตาตื่นขึ้นมาอีกที ผมก็อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้มีการลงนามข้อตกลงการทำโครงการสมัชชาสุขภาพจังหวัด
ลงจากห้องพักในโรงแรมเดอะริช เมื่อคืนคนที่มาพักด้วยเป็นคุณลุงมาจากตราด อายุอานามรุ่นปู่แต่ก็ยังกะฉับกะเฉง แกตื่นแต่เช้า อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วเสร็จ เปิดประตูออกไปหาเพื่อน...ปรากฏว่าประตูล็อคตัวเอง เปิดออกไปแล้วกลับเข้ามาไม่ได้ แกยืนเคาะประตูเรียกผมอยู่นาน ไอ้เราก็ยืนแช่ฝักบัวอยู่ในห้องน้ำ ไม่ได้ยิน ปล่อยให้คุณลุงยืนเคาะอยู่พักใหญ่
เดินลงมาทานอาหารเช้า พบคนคุ้นหน้าในแต่ละจังหวัดทยอยเข้ามา แม่ผ่องกับพี่คนหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้แล้ว)จากอ่างทอง ปรับทุกข์การทำงานกับเยาวชนในจังหวัด ที่บางครั้งเด็กๆก็มักอ้างกับพ่อแม่ว่ามาทำกิจกรรมกับตน เอาเข้าจริงไปเมาซิ่งอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ตอนหลังต้องออกกฏว่าการมาทำกิจกรรมทุกครั้งจะต้องมีหนังสือถึงผู้ปกครองอย่างเป็นทางการเท่านั้น
ได้ฟังแล้วก็น่าเห็นใจ แต่ผมก็รู้ ทุกคนบ่นไปอย่างนั้นแหละ ดูแววตาแล้วก็ยังคงทำงานต่อไปไม่เลิกลาหรอก
บทกวี ละเลียดลมพร่างพรมพลิ้ว
ลมละเอียดใบไม้ละไล่หยอกใบก็บอกประมาณการเคลื่อนไหวใบน้ำตาลปลดระวางก็คว้างใบยอดใหม่ใหม่ผลิตูมชอุ่มคอยหมอกเหมยเผยน้ำใจให้เช้าตรู่น้ำค้างพรูสู้แดดก่อนหลับผล็อยมณีทุ่งทอรุ้งใสวับไหวลอยช่วงเวลาน้อยน้อยแต่นิรันดร์พอแดดยิ้มก็เห็นใยตาข่ายยื่นตลอดคืนมีอะไรติดให้ฉันแล้วแมงมุมก็เห็นหมองแ
ควนป่านาเล 4 ใกล้คลอดแล้ว
หมายเหตุกองบรรณาธิการ
นิตยสาร “ควนป่านาเล” รายเดือน ออกล่าช้ากว่ากำหนดกว่า 5-6 เดือน โดยหลังสุดได้แก่เล่มที่ 3 ฉบับ “โรงเรียนไม่รู้จบ” ประจำเดือนเมษ-พฤกษ์ 2550 บัดนี้ควนป่านาเล (เล่มที่) 4 ฉบับ “เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์”ได้ออกมาแล้ว
ทางกองบรรณาธิการต้องกราบขออภัยเป็นอย่างสูงในความล่าช้า และ ขอเรียนชี้แจงแก่เพื่อนสมาชิกนักอ่านทุกท่านทุกฝ่ายให้ทราบในเบื้องต้นมา ณ ที่นี้ว่า นิตยสารควนป่านาเลจะทำกันต่อไปตามเจตนารมณ์ที่มีมาแต่เดิม
จากการประเมินโดยสังเขปพบว่า มีสาเหตุหลายๆประการที่ทำให้ต้องล่าช้าเสมือนหยุดชะงักไป ดังจะชี้แจงเป็นลำดับๆก็คือ...
หนึ่ง) หลังจากเล่มที่ 3 ได้ออกมาแล้ว เรา (กองบก.) ก็จะเริ่มทำและทวงต้นฉบับสำหรับคอลัมนิสต์ต่างๆ ทำให้เราพบปัญหาข้อหนึ่งว่า กว่าจะได้ต้นฉบับในแต่ละเล่มมาครบ (หลังจากเวลาที่เริ่มขอต้นฉบับ) นั้น ต้องทบเวลาเป็นรอบเดือน โดยมีความคิดในส่วนนี้กันว่าจะค่อยๆแจ้งให้ทางกองบก.และเพื่อนคอลัมนิสต์ทราบว่า...การทำนิตยสารรายเดือนจำต้องขอต้นฉบับล่วงหน้า 1 ฉบับเป็นอย่างน้อย แต่เนื่องจากระยะเริ่มต้น เราทำต้นฉบับนิตยสารแบบเล่มต่อเล่ม เมื่อหนังสือยังไม่ออกหรือยังไม่แล้วเสร็จ การทำหรือทวงต้นฉบับในกระบวนการดังกล่าวระยะแรกๆจึงยังติดขัดและไม่เข้ารูปเข้ารอยนัก
รำเพย...เผยเพื่อน
ดอกรำเพยต้องแสงงามไสวเหลืองสดใสไกวแกว่งแลงามสมดอกสวยล้อแดดพลิ้วปลิวตามลมดูน่าชมกลมกลืนดื่นละลานโดนแดดอ่อนส่งศรีเป็นสีสดยิ่งงามงดกลีบแย้มแต้มประสานสายลมโปรยกิ่งเอนเล่นตูมบานอยู่รวมชานร่วมช่อล่อสายตาระริกไหวใยรักสมัครสมานหากผสานก้านดอกออกกลีบหนาต้านลมแรงแดดร้อนช่วยผ่อนพามองดูดีมีค่าน่าชมเ